แมกนีเซียม เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่หลายคนอาจมองข้าม ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันช่วยอะไรเราได้เยอะมากเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลดความเครียด คลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น หรือแม้แต่บำรุงหัวใจ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เวลาในการกินแมกนีเซียมก็มีผลไม่น้อยเลย
5 เคล็ดลับ แมกนีเซียม กินตอนไหน ให้ร่างกายได้ประโยชน์ 200%
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “แมกนีเซียม” กันอยู่แล้ว ทั้งในรูปแบบอาหารเสริม หรือจากแหล่งธรรมชาติอ แต่เคยสงสัยกันไหมคะว่า แมกนีเซียม กินตอนไหน ถึงจะได้ประโยชน์จริง ๆ แบบที่ร่างกายดูดซึมได้เต็มที่? ในบทความนี้เราขอชวนคุณมาค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปด้วยกัน กับ 5 เคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้การกินแมกนีเซียมของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.กินก่อนนอน ช่วยให้หลับดีขึ้น
นักวิจัยเชื่อว่าแมกนีเซียมอาจมีบทบาทในการสร้างเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับ และจากการศึกษาพบว่าแมกนีเซียมช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้ดีค่ะ หากระดับแมกนีเซียมที่ต่ำคุณภาพการนอนหลับก็จะไม่ดีเช่นกัน ดังนั้น การกินแมกนีเซียมก่อนนอน1–2 ชั่วโมง จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม (1),(2)
2. กินตอนเช้า ตัวช่วยสุขภาพสมอง
แมกนีเซียมบางประเภท เช่น แมกนีเซียมไกลซิเนต ทอเรต และธรีโอเนต เป็นชนิดที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีและรวดเร็ว โดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร ซึ่งมักใช้เพื่อช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและส่งเสริมสุขภาพจิต หากกินแมกนีเซียมในช่วงเช้า อาจช่วยให้จิตใจสงบขึ้นและพร้อมรับมือกับกิจกรรมตลอดวัน โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพจิตหรือมีภาวะเครียดสะสม สำหรับผู้ที่ใช้แมกนีเซียมเพื่อช่วยลดความถี่หรือป้องกันไมเกรน การกินในช่วงกลางวันขณะที่ร่างกายกำลังตื่นตัว อาจช่วยให้ได้ผลดีมากขึ้นเช่นกันค่ะ (3)
3. กินพร้อมมื้ออาหารได้
สามารถกินแมกนีเซียมได้ทั้งพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่าง แต่หากอยากหลีกเลี่ยงอาการไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ หรือปวดท้อง แนะนำให้ทานแมกนีเซียมพร้อมอาหาร งานวิจัยยังพบว่า ร่างกายสามารถดูดซึมแมกนีเซียมได้ดียิ่งขึ้นเมื่อกินร่วมกับอาหารด้วยนะคะ (4)
4. แมกนีเซียมห้ามกินคู่กับอะไร
ยาขับปัสสาวะ: ยาเม็ดขับน้ำช่วยให้ร่างกายขับของเหลวส่วนเกินออก ตัวอย่างเช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ลาซิกซ์ (ฟูโรเซไมด์) และอัลแดกโทน (สไปโรโนแลกโทน) (3)
แคลเซียม: การรับประทานแคลเซียมในปริมาณสูง อาจรบกวนการดูดซึมแมกนีเซียม เนื่องจากแคลเซียมและแมกนีเซียมใช้บริเวณเดียวกันในการดูดซึม ควรแยกเวลารับประทานให้ห่างกัน (3)
สังกะสี: หากได้รับสังกะสีในปริมาณสูง อาจทำให้แมกนีเซียมดูดซึมได้น้อยลงเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อทานแมกนีเซียมมากกว่า 142 มิลลิกรัมต่อวัน ควรรับประทานแยกเวลากันเพื่อป้องกันการแย่งดูดซึม (3)
5. ปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำให้ได้รับต่อวัน สำหรับผู้ชายวัยผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 400–420 มิลลิกรัม ส่วนผู้หญิงวัยผู้ใหญ่แนะนำที่ประมาณ 310–320 มิลลิกรัมค่ะ ในกรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายอาจต้องการแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยปริมาณที่แนะนำจะอยู่ที่ประมาณ 350–360 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ (3)
แคลเซียม แมกนีเซียม กิน พร้อม กัน ได้ ไหม
ควรกินแยกกันดีกว่า เนื่องจากแร่ธาตุทั้งสองอาจรบกวนการดูดซึมซึ่งกันและกันได้ เพราะทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่แข่งขันกันเพื่อการดูดซึมในร่างกาย หากทานพร้อมกัน แคลเซียมมักจะถูกดูดซึมได้ดีกว่า ทำให้การดูดซึมแมกนีเซียมลดลงนั่นเองค่ะ (3)
แมกนีเซียม ช่วยอะไร ผู้หญิง
แมกนีเซียมมักได้รับการแนะนำให้ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) รวมถึงอาการปวดในอุ้งเชิงกราน และช่วยลดความไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือนด้วยค่ะ (5)
summarize
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุจำเป็นที่พบได้ทั้งในอาหารและอาหารเสริม หากต้องการ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น แนะนำให้กินก่อนนอน 1–2 ชั่วโมง หากต้องการ ดูแลสุขภาพจิต ลดความเครียด หรือป้องกันไมเกรน ควรกินช่วงเช้าหรือกลางวัน หากกังวลเรื่อง อาการไม่สบายท้อง ควรกินพร้อมมื้ออาหาร เพราะช่วยให้ดูดซึมได้ดีขึ้นและลดผลข้างเคียง สิ่งสำคัญที่สุด คือการกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างต่อเนื่องค่ะ
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่: แมกนีเซียม
References
3.health: เวลาที่ดีที่สุดในการทานอาหารเสริมแมกนีเซียมเพื่อสุขภาพที่ดี
4.drugs: เวลาที่ดีที่สุดที่จะรับประทานแมกนีเซียมคือเมื่อไหร่ เช้าหรือเย็น?
5.jeanhailes for women: สารอาหารสำคัญสำหรับผู้หญิง: แมกนีเซียม