ใครที่เคยเจอปัญหากะทันหันอยากถ่ายระหว่างเดินทางคงเข้าใจดีว่ามันเป็นเรื่องน่าอึดอัดใจแค่ไหน ปัญหาดังกล่าวนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ดังนั้น การเตรียมตัวและรู้จักวิธีรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถเดินทางได้อย่างราบรื่น
คู่มือเอาตัวรอด 10 วิธีทำให้หายอยากอึ ฉบับเร่งด่วน
ในเวลาที่ไปเที่ยว บางครั้งก็รู้สึกไม่สบายท้อง แต่ก็อาจจะหาห้องน้ำไม่ได้ ในบทความนี้เรานำเอา วิธีทำให้หายอยากอึ ในสถานการณ์ที่ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้การเดินทางไม่สนุกเท่าที่ควร บทความนี้จะช่วยคุณจัดการความรู้สึกอยากอึระหว่างการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะฉุกเฉิน ดังกล่าวค่ะ
1. ปรับเปลี่ยนท่าให้เหมาะสม
บางครั้งการอยากอึเกิดจากการที่ท่านั่งหรือท่ายืนของคุณกดทับลำไส้โดยไม่รู้ตัว หากคุณกำลังนั่ง แนะนำให้ยืนขึ้น แล้ว ลองปรับน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือย่อเข่าเล็กน้อย อาจช่วยลดแรงดันในช่องท้องที่อาจกระตุ้นความรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำได้ หลีกเลี่ยงการนั่งยอง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว การนั่งยองเป็นท่านั่งขับถ่ายตามธรรมชาติ จะยิ่งทำให้ปวดกว่าเดิม (7) หากทนไม่ไหวจริง ๆ แนะนำให้เอนหลังหรือนอนลงจะช่วยบรรเทาอาการ
2. หาโอกาสเบี่ยงเบนความสนใจ
ความรู้สึกอยากอึมักจะแย่ลงเมื่อคุณจดจ่อกับมันมากเกินไป ลองหาอะไรทำเพื่อเปลี่ยนความคิด เช่น ฟังเพลงที่มีจังหวะเบาสบาย อ่านหนังสือ หรือพูดคุยกับเพื่อนร่วมทาง การทำให้สมองหมกมุ่นกับสิ่งอื่นจะช่วยลดแรงกดดันทางจิตใจ และส่งผลต่อระบบลำไส้ให้ผ่อนคลายขึ้น
3. ขยับร่างกายอย่างมีจังหวะ
การนั่งนิ่งเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อลำไส้เคลื่อนไหวผิดปกติ ลองยืดเหยียดร่างกายหรือขยับตัวอย่างเบา ๆ เช่น หมุนข้อเท้า ยืดแขน หรือถ้าอยู่ในรถก็สามารถเกร็งหน้าท้องและปล่อยสลับกันได้เป็นจังหวะ การเคลื่อนไหวจะช่วยปรับสมดุลกล้ามเนื้อและลดการบีบตัวของลำไส้
4. ดื่มน้ำอุ่นในปริมาณน้อย ๆ
หากคุณพอจะหาเครื่องดื่มได้ ลองจิบน้ำอุ่นหรือชาสมุนไพรทีละน้อย ๆ ของเหลวที่อุ่นช่วยปลอบประโลมระบบย่อยอาหารและลดการบีบตัวของลำไส้ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟและชาเขียว เพราะสารเหล่านี้อาจกระตุ้นระบบลำไส้ให้ทำงานหนักขึ้น
5. ฝึกเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การฝึกเกร็งกล้ามเนื้อรอบทวารหนักหรือหน้าท้องเบา ๆ แบบสลับเป็นจังหวะ จะช่วยควบคุมแรงดันภายในลำไส้ได้ดีขึ้น การกระทำนี้เหมือนกับการฝึกกลั้นอึ และช่วยลดแรงกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานหนักเกินไป
6.กดจุดอั้นอุจจาระ
กดจุดห้ามอึ ที่จุด ‘GERI’ เป็นศาสตร์การรักษาแบบโบราณ โดยการสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย เพียงแค่สัมผัสนิ้วมือก็จะช่วยบรรเทาให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น เพราะว่าที่นิ้วมือนั้นเป็นศูนย์รวมระบบประสาทในร่างกาย (6)
- ใช้นิ้วโป้ง กดเบาๆ ที่หลังมือช่วงตรงกับนิ้วกลาง
- กดเบา ๆ ประมาณ 5 วินาทีแล้วหยุด
- ทำซ้ำประมาณ 3 รอบ
หากรู้สึกเจ็บแสดงว่ากดได้ถูกต้องนะคะ
7. หาจุดพักหรือสถานที่เข้าห้องน้ำระหว่างทาง
สุดท้ายนี้ ในนาทีเร่งด่วน แม้คุณจะสามารถกลั้นได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่การเข้าห้องน้ำเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด การวางแผนจุดพักระหว่างทางจะช่วยลดความกังวลในใจ เช่น หากคุณเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ควรหาโอกาสแวะปั๊มน้ำมันหรือร้านสะดวกซื้อ หากเดินทางด้วยรถโดยสาร ควรสอบถามจุดพักหรือห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดกับพนักงาน แล้ววิ่งค่ะ
เตรียมตัวและวางแผนล่วงหน้า ป้องกันไว้ก่อน
การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข หากคุณรู้ตัวว่ามีปัญหากับระบบขับถ่าย ควรวางแผนล่วงหน้า
1.การเข้าห้องน้ำก่อนออกเดินทาง
การเข้าห้องน้ำก่อนออกเดินทางจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกโล่งสบาย และลดโอกาสที่เราจะต้องเผชิญกับปัญหาปวดอึระหว่างเดินทางยาวๆ ได้เป็นอย่างดีค่ะ การที่เราถ่ายอุจจาระออกมาก่อนจะช่วยลดปริมาณของเสียในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้สะดวกขึ้น และลดโอกาสที่เราจะรู้สึกปวดอึกระทันหันระหว่างเดินทางได้ค่ะ
2.ลดปริมาณอาหารหนักในมื้อก่อนเดินทาง
ก่อนออกเดินทาง 1-2 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจกระตุ้นระบบลำไส้ เช่น อาหารมัน อาหารรสจัด และผลิตภัณฑ์จากนม โดยเฉพาะคนที่แพ้แลคโตส อาหารเหล่านี้อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเร็วขึ้น จนทำให้คุณรู้สึกอยากอึระหว่างทาง
3.พกอุปกรณ์ฉุกเฉิน
แนะนำให้พก กระดาษชำระ เจลล้างมือ และถุงขยะใบเล็ก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด การมีอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวไปด้วยจะทำให้เรารู้สึกปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น
4.ไฟเบอร์ ช่วยขับถ่ายก่อนเดินทาง
หากกังวลเรื่องการปวดท้องถ่ายหนักระหว่างทาง ก่อนนอนต่อนกลางคืน แนะนำให้รับประทาน ไฟเบอร์ ที่มีกากใยอาหารสูง เพื่อการขับถ่ายที่ดีในตอนเช้าก่อนออกเดินทาง กากใยอาหารจะช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้น ถ่ายสะดวกสุด ๆ เมื่อขับถ่ายตอนเช้า ในระหว่างทางก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไปว่าจะปวดท้องนั่นเองค่ะ
อั้นอุจจาระ ผลเสีย
สถาบันแห่งชาติเพื่อการชราภาพ Trusted Source ให้คำแนะนำว่าการกลั้นอุจจาระอาจนำไปสู่อาการท้องผูก นอกจากนั้น การกลั้นอุจจาระเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากกลั้นระหว่างรับประทานอาหารอาจนำไปสู่ภาวะอุจจาระอุดตัน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว ภาวะนี้จะทำให้อุจจาระไหลเข้าไปในช่องท้อง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หรือหากมีการกลั้นเป็นประจำอาจนำไปสู่ลำไส้ทะลุ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักได้รับความเสียหาย ทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความต้องการถ่ายอุจจาระอีกด้วยค่ะ (3)
วิธี แก้ ปวด อึ แต่ อึ ไม่ออก
อาการ ปวดท้องแต่ถ่ายไม่ออกมีแต่ลม เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก และยิ่งไปกว่านั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะ หรือแม้แต่โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การปล่อยปะละเลยอาการเหล่านี้ อาจทำให้โรคยิ่งลุกลามและรักษายากขึ้น สามาถอ่านวิธีแก้ไขได้ใน: ปวดท้องแต่ถ่ายไม่ออกมีแต่ลม 8 สาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม
สรุป
ในบางครั้ง การเดินทางไกลมักทำให้ระบบขับถ่ายของเราผิดปกติไปจากเดิม เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเวลาอาหาร การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจทำให้เกิดปัญหาท้องผูกได้ง่ายขึ้น (4) แต่อย่างไรก็ตาม วิธีทำให้หายอยากอึ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกเท่านั้นนะคะ ไม่แนะนำให้กลั้นอุจจาระเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย เพราะอาจจะตามมาด้วยความเสี่ยงสุขภาพด้านอื่น ๆ ตามมาได้นั่นเองค่ะ
แหล่งอ้างอิง
1.How to hold in poop: Tips and safety
2.How to Hold in Poop: Bowel Control and Fecal Incontinence
3.วิธีกลั้นอุจจาระ: การควบคุมกล้ามเนื้อและความเสี่ยง
4.3 วิธีป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกระหว่างการเดินทาง
5.แชร์วิธีกดจุดไล่อึ ห้ามอึ ศาสตร์ลับเอาชีวิตรอด
6.ฮาวทู กดจุด ” GERI ” แก้ปวดหนัก ตัวช่วยฉุกเฉินเวลาหาห้องน้ำไม่เจอ!