การทานโปรไบโอติกเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีในการดูแลสุขภาพลำไส้ แต่รู้หรือไม่ว่าเวลาที่คุณทานโปรไบโอติกนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ของคุณได้อย่างมาก การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทานโปรไบโอติกจะช่วยให้ร่างกายของคุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากจุลินทรีย์ชนิดนี้อย่างเต็มที่
เปิดเผยเคล็ดลับ Probiotic กินตอนไหน ให้ได้ผลดีที่สุด
หลายคนคงมีข้อสงสัย probiotic กินตอนไหน จะดีที่สุด บทความนี้จะมาไขความลับการรับประทานให้ได้ประโยชน์สูงสุดกันค่ะ เจ้าตัว โปรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ซึ่งช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหารและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แล้วเวลาไหนกันนะที่เป็นเวลาที่ดีที่สุดในการรับประทาน Probiotic ลองไปดูกันเลยค่ะ
1.เลือกเวลาที่สะดวก
เลือกช่วงเวลาที่คุณทำได้เป็นประจำทุกวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือ ก่อนรับประทานอาหาร
2.ทานพร้อมอาหาร
หลายคนชอบทานโปรไบโอติกพร้อมอาหารมื้อหลัก เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น
แม้ว่าจริงๆ แล้ว ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าควรทานโปรไบโอติกตอนไหนถึงจะดีที่สุด เพราะผลการวิจัยยังไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ค่ะ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความสม่ำเสมอ ในการทานมากกว่า (1) อาจจะมีทริคง่าย ๆ ดังนี้ โดยปกติแล้วจุลินทรีย์ที่ใช้ในโปรไบโอติกได้รับการทดสอบแล้วว่าสามารถอยู่รอดได้ในกระเพาะอาหารและลำไส้ แต่ก็มีหลายงานวิจัยที่ได้อธิบายไว้ว่า การทานโปรไบโอติกร่วมกับอาหารบางชนิดอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโปรไบโอติก
จากการศึกษาหนึ่งพบว่า (3) อัตราการรอดชีวิตของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติกเพิ่มขึ้นเมื่อรับประทานพร้อมกับข้าวโอ๊ตหรือนมไขมันต่ำ เมื่อเทียบกับการรับประทานเพียงอย่างเดียวกับน้ำเปล่าหรือน้ำแอปเปิ้ล งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าไขมันในปริมาณเล็กน้อยอาจช่วยเพิ่มการอยู่รอดของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหารของคุณค่ะ
นอกจากนี้ยังมีวิจัยพบว่า (4) โปรไบโอติกแลคโตบาซิลัสอาจอยู่รอดได้ดีขึ้นเมื่อรับประทานพร้อมกับน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากจุลินทรีย์เหล่านี้ใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด
ข้อควรระวัง
แม้ว่าโดยรวมของโปรไบโอติกจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อย ดังนี้
ยาปฏิชีวนะ: ยาปฏิชีวนะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของโปรไบโอติกได้ ควรเว้นระยะห่างในการทานยาทั้งสองชนิด หากคุณกำลังทานยาปฏิชีวนะ ควรทานโปรไบโอติกส์ห่างจากยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้โปรไบโอติกส์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1)
อาการไม่พึงประสงค์: หากทานโปรไบโอติกแล้วมีอาการไม่สบาย ควรหยุดทานและปรึกษาแพทย์
สิ่งที่สำคัญที่สุด: คือการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และทานอย่างเป้นประจำตามคำแนะนำบนฉลากค่ะ
ประเภทของ Probiotic
มีจุลินทรีย์โปรไบโอติกหลายชนิดพบได้ในอาหารและอาหารเสริม ได้แก่
- แลคโตบาซิลลัส (เช่น แลคโตบาซิลัส แอซิโดฟิลัส และ แลคโตบาซิลัส จีจี)
- ไบฟิโดแบคทีเรีย (เช่น ไบฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัส)
- ยีสต์ (เช่น แซคคาโรไมเซส บูลาร์ดี)
จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีผลกระทบที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในขณะที่ชนิดหนึ่งอาจช่วยบรรเทาท้องเสียหรือการติดเชื้อในช่องคลอด อีกชนิดหนึ่งอาจไม่มีผลใด ๆ ดังนั้น ก่อนเริ่มทานอาหารเสริมโปรไบโอติก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับโปรไบโอติกที่เหมาะสมที่สุดกับตัวเองนั่นเองค่ะ (2)
โปรไบโอติก กินทุกวันได้ไหม
สามารถทานทุกวันได้ค่ะ และหลายคนก็ทานเป็นประจำเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้และภูมิคุ้มกัน โดยโปรไบโอติกมักมีผลข้างเคียงน้อย อย่างไรก็ตาม หากคุณมีปัญหาสุขภาพเฉพาะหรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทานเป็นประจำ เพราะบางกรณีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ สำหรับคนที่สุขภาพแข็งแรง การทานทุกวันมักไม่มีปัญหา (5)
โปรไบโอติก ผลข้างเคียง
โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานโปรไบโอติกถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้บ้างในบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจจะมีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง หรือท้องเสีย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของการรับประทาน และมักจะหายไปเองได้ภายในไม่กี่วัน และตัวโปรไบโอติกอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทาน (6)
Probiotic หยุดกินได้ไหม
การหยุดทานโปรไบโอติกโดยทั่วไปแล้วปลอดภัย เนื่องจากโปรไบโอติกไม่ใช่ยาที่ต้องทานต่อเนื่อง ผลของโปรไบโอติกมักเกิดจากการสร้างสมดุลในลำไส้ ดังนั้นหากหยุดทาน ร่างกายอาจค่อยๆ กลับสู่สภาพเดิม ภายในหนึ่งถึงสามสัปดาห์ (7) แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากคุณมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาอื่นๆ เพราะ การหยุดทานอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาและเกิดผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิดได้นั่นเองค่ะ
Probiotic ผิวดีจริงมั้ย
ปัจจุบันมีการศึกษาและทดลองใช้โปรไบโอติกในการรักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน และแผลเป็น โดยพบว่าโปรไบโอติกมีแนวโน้มที่จะช่วยบรรเทาอาการและเร่งการฟื้นตัวของผิวได้ดี โดยมีกลไกการทำงานคือการปรับสมดุลของจุลินทรีย์บนผิวและลดการผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ทำให้ผิวอ่อนนุ่มและลดอาการคันได้อีกด้วย(8) (9)
สรุป
Probiotic กินตอนไหน ดี? เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโปรไบโอติกส์ จากงานวิจัย ได้ระบุว่าหารรับประทานพร้อมอาหารที่มีไขมัน จะช่วยให้โปรไบโอติกส์เข้าสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น (4) อย่างไรก็ตาม การทานอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเลือกทานช่วงเวลาใดก็ตาม ทั้งนี้ โปรไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ บรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดอาการแพ้อาหาร มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือผู้ที่กำลังใช้ยาปฏิชีวนะ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานโปรไบโอติกส์ เนื่องจากอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ได้
แหล่งอ้างอิง
5.โปรไบโอติกส์: ประโยชน์และความปลอดภัย| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH