ปวดหัวเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป ซึ่งอาจมีหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) หรืออาการเสียหายของเนื้อเยื่อที่รอบข้อเข่า เช่น หมอนรองเข่า (Meniscus) และเอ็นยึดข้อ (Ligament) นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การกระทบหรือบาดเจ็บที่ข้อเข่า การทำงานหรือการออกกำลังกายที่หนักเกินไป หรืออาการเท้าแพลงหรือบาดเจ็บที่ข้อเท่า ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการปวดหัวเข่าได้
ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าอาการปวดหัวเข่าที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไร รวมถึงวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันได้
ปวดหัวเข่าข้างขวา จี๊ดๆ เกิดจากอะไร
อาการปวดหัวเข่าข้างขวา จี๊ดๆ เกิดได้จากหลายสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ทั้งคนที่มีอายุเยอะ อาจจะเป็นอีกอาการ คนน้ำหนักเยอะ ก็อาจจะเป็นอีกอาการ รวมถึงคนที่ไม่ได้อายุเยอะอะไรแต่ อาจมีการออกกำลังกายหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ใช้งานข้อเข่าหนักๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บจี๊ดๆนี้ได้ เราจะมาหาคำตอบกันในบทความนี้ ว่าอาการที่คุณเป็นอยู่เกิดจากอะไรกันแน่ และถ้าคุณเข้าข่ายอาการไหน หรือ มีอาการ ให้หมอตรวจแล้ว สรุปว่าเป็นอะไรกันแน่ มาเม้นแชร์กันเพื่อเป็นข้อมูลให้คนที่กำลังเป็นอาการนี้อยู่ ได้แนวรู้ถึงสาเหตุ และ ทราบวิธีรักษาอาการให้ดีขึ้น
1.ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
ข้อเข่าเสื่อม หรือ Osteoarthritis (OA) คือ โรคที่พบบ่อยและเป็นสภาวะที่ทำให้ข้อต่อสึกหรอ โดยเฉพาะที่ข้อเข่า และมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่อายุมาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยๆ เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือทำงานที่ทำให้ข้อต่อเกิดการโหลดน้ำหนักเกิน.
ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อน (cartilage) ซึ่งทำหน้าที่เป็นรอยปรับที่ช่วยลดแรงกระแทกในข้อต่อ เมื่อกระดูกอ่อนนี้สึกหรอ กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อนจะถูกแรงกระแทกต่อเนื่องทำให้เกิดการสึกหรอ
ข้อเข่าเสื่อม หรือ Osteoarthritis (OA) คือ โรคที่พบบ่อยและเป็นสภาวะที่ทำให้ข้อต่อสึกหรอ โดยเฉพาะที่ข้อเข่า และมักจะเกิดขึ้นในผู้ที่อายุมาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยๆ เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือทำงานที่ทำให้ข้อต่อเกิดการโหลดน้ำหนักเกิน.
ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อน (cartilage) ซึ่งทำหน้าที่เป็นรอยปรับที่ช่วยลดแรงกระแทกในข้อต่อ เมื่อกระดูกอ่อนนี้สึกหรอ กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อนจะถูกแรงกระแทกต่อเนื่องทำให้เกิดการสึกหรอ
อาการของข้อเข่าเสื่อม
- ปวดข้อ
- เดินขึ้นลงบรรไดลำบาก
- ข้อเข่าแดง หรือ อ่อนแรง
- เจ็บจี๊ดๆที่ข้อเข่า
2.โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์ (Gout) เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในเลือดซึ่งจะสะสมและสร้างเป็นทรายหรือนิ่วในข้อต่อ ทำให้เกิดอาการอักเสบที่รุนแรง เจ็บปวด และแดง มักจะเริ่มต้นที่ข้อเท้าแต่ก็สามารถเกิดที่ข้อต่ออื่นๆได้ เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ และข้อนิ้วเท้า
สาเหตุหลักของนิ่วข้อเข่าเกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูงเกินไป กรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากการสลายของสารประเภทพิวรีนในเลือด หากมีการสร้างกรดยูริกเกินมาก หรือร่างกายไม่สามารถขับเสียออกจากร่างกายได้ กรดยูริกจะสะสมอยู่ในเลือดและสร้างเป็นทรายหรือนิ่ว
อาการสำคัญของนิ่วข้อ คือ ปวดข้อและอักเสบที่รุนแรง ข้อต่อที่เป็นโรคจะมีอาการปวดรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่จะเป็นในตอนกลางคืนหรือตอนเช้า ข้อต่อนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป แดง ร้อน และอ่อนแรง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่นิ่วข้อเข่ามักจะกลับมาซ้ำ และอาจทำให้ข้อต่อเสื่อมได้ในระยะยาว
การรักษานิ่วข้อมักจะผ่านการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการอักเสบและปวด และยาเพื่อลดระดับกรดยูริกในเลือด รวมถึงการปรับเปลี่ยนสไตล์การดำรงชีวิต เช่น การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ ลดการบริโภคอาหารที่มีปริมาณพพิวรีนสูง และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
3.การทำงานหรือการออกกำลังกายที่หนักเกินไป
การทำงานหรือการออกกำลังกายที่หนักเกินไปเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพและอาจทำให้เกิดบาดเจ็บหรือทำให้ข้อต่อสึกหรอ ทำงานหนักและออกกำลังกายหนักอาจทำให้กล้ามเนื้อโยงข้อต่อได้รับการกระตุ้นและอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ การฝึกที่เหนื่อยเกินไป หรือการทำงานที่ใช้แรงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปวดข้อ เช่น ปวดเข่า
การวางแผนการออกกำลังกายอย่างรอบคอบและสมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และการให้กล้ามเนื้อและข้อต่อได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
มีทางเลือกการออกกำลังกายที่ทำให้ข้อต่อแข็งแรงโดยไม่ทำให้ข้อต่อเกิดการสึกหรอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือกายภาพบำบัด (Physical Therapy) ที่จะช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อ เพื่อช่วยลดแรงกดที่ข้อต่อและลดการสึกหรอกระดูกอ่อน
4.การกระทบหรือบาดเจ็บ
การกระทบหรือบาดเจ็บที่เกิดขึ้นที่ข้อเข่าอาจเป็นผลจากการชนหรือการกระแทกของวัตถุต่อข้อเข่า ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์หลายๆ สาเหตุ เช่น:
- อุบัติเหตุ
- กีฬาและกิจกรรมที่เป็นอันตราย
- การทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเข่า
- การกระทำที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ยืดเหยียดตัวแบบไม่ระวัง
อาการหรือผลกระทบจากการกระทบหรือบาดเจ็บที่ข้อเข่าอาจแตกต่างกันไป รวมถึงอาจมีการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อที่รอบข้อเข่าด้วย เช่น บาทเจ็บที่เอ็นยึดข้อ (Ligament) หรือการทำให้กระดูกอ่อน (Cartilage) เสียหาย อาจมีอาการปวด เกิดบวม หรือจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า
5.หมอนรองเข่าอักเสบ (Meniscal Tear)
หมอนรองเข่าอักเสบ (Meniscal Tear) เกิดขึ้นเมื่อมีการฉีกขาดหรือแตกหักในเส้นเอ็นที่อยู่รอบๆ ข้อเข่า ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ปกป้องและช่วยให้ข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น หน้าที่หลักของเส้นเอ็นคือช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในข้อเข่าในขณะที่เคลื่อนไหว
สาเหตุที่เส้นเอ็นหัวเข่าเกิดการฉีกขาด อาจเกิดขึ้นได้จากการกระทบแรงหรือเหตุผลอื่นที่ทำให้เส้นเอ็นได้รับแรงกระแทกที่เข้าข้างของข้อเข่า อาการที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการฉีกขาดหรือการแตกหัก
ปวดเข่าหายเองได้ไหม
อาการปวดเข่าอาจหายเองได้ในบางกรณี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ถ้าเป็นอาการปวดเข่าที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ใช้เข่ามากหรือเคลื่อนไหวเข่าในท่าที่ไม่ถูกต้อง อาการอาจดีขึ้นเมื่อคุณพักผ่อนหรือลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอาการปวด
แต่หากอาการปวดเข่าไม่ดีขึ้นหรือไม่หายไปในระยะเวลาที่เหมาะสม ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาอื่นๆ เช่น การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษา หรือแม้กระทั่งการรักษาทางศัลยกรรม ที่สอดคล้องกับสาเหตุและความรุนแรงของอาการของคุณ
ทำยังไงให้หายปวดหัวจี๊ดๆ
จาก 5 ข้อที่กล่าวมา วิธีการเหล่านี้อาจมีช่วยช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
เบื้องต้นสามารถใช้วิธีเหล่านี้ช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้:
- ลดกิจกรรมใช้เข่า
- การประคบเย็น
- การใช้ยารักษาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล
- ทานคอลลาเจน หรือ ทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบ เช่น ตะไคร้ , กระชาย , งา เป็นต้น
ปวดหัวเข่า ควรทานอะไร
- น้ำมันปลา
- ผักตระกูลกะหล่ำ
- ชาเขียว
- งา
ปวดหัวเข่า ไม่ควรทานอะไร
- น้ำตาล
- ขนมปัง
- พาสต้า
- ธัญพืชขัดสี
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ชาที่เข่า
- เข่าบวม
- ยืดงอเข่าไม่ได้
- เข่ามีรูปร่างผิดปกติ
- ปวดเข่าและมีไข้
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ เพิ่มหลังจาก ปวดหัวเข่าข้างขวา จี๊ดๆ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธีในทันที เพราะถ้าปล่อยไว้อาจเกิดอันตรายร้ายแรงที่ตามมาได้
สรุป
อาการปวดหัวเข่าข้างขวา จี๊ดๆ หรือจะปวดหัวเข่าข้างซ้าย นั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ถ้าอายุไม่ได้เยอะมาก อาจจะเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือ พฤติกรรมที่ทำให้เข่าเกิดการอักเสบทั่วๆไป ปฐพยาบาลไม่เยอะก็หายได้ แต่ถ้าเกิดมีอายุ และเป็นเพศหญิง อาจทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้ เพราะผู้หญิงจะมีสมรรถภาพกล้ามเนื้อ ด้อยกว่าผู้ชาย จึงทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อต่างๆและข้อต่อได้ง่ายกว่าผู้ชาย แต่นอกจากเพศสภาพแล้ว การที่มีน้ำหนักเยอะและมีพฤติกรรมทานของที่ทำลายข้อเข่าบ่อยๆ ไม่ว่าเพศไหนอายุเท่าไหร่ ก็สามารถเกิดอาการนี้ได้ ฉนั้นควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ พฤติกรรมการกิน เพื่อถนอมข้อเข่า ให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่ตลอด แม้อายุจะเริ่มเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม ไม่จำเป็นต้องอายุเยอะแล้วค่อยดูแลตัว สามารถดูแลตัวเองได้ทุกช่วงอายุ เพราะถ้ารอแต่อายุเยอะแล้วค่อยดูแล ข้อเข่าอาจจะพังจนเกินจะเยียวยา ด้วยความปราถนาดีจาก โปรทริว่า อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ