Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม   คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์! Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม
เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร 5 สัญญาณจากร่างกายที่ควรใส่ใจ

เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร 5 สัญญาณจากร่างกายที่ควรใส่ใจ

คุณเคยตื่นมากลางดึกด้วยความเจ็บแปลบที่น่อง หรือรู้สึกว่ากล้ามเนื้อกระตุกอย่างควบคุมไม่ได้ระหว่างการออกกำลังกายหรือไม่? อาการเหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ตะคริว” ซึ่งแม้จะไม่ใช่ภาวะอันตรายร้ายแรง แต่ก็เป็นสัญญาณสำคัญที่ร่างกายกำลังส่งมาให้เรารับรู้ถึงบางสิ่งที่อาจผิดปกติ

เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร 5 สัญญาณจากร่างกายที่ควรใส่ใจ

ตะคริว อาการที่หลายคนเคยประสบพบเจอ อาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย หลายคนสงสัยว่า เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร โดยปกติอาการมักเกิดขึ้นที่น่องและขา โดยเฉพาะหลังจากออกกำลังกายหนัก หรือเมื่อร่างกายขาดน้ำ แต่อาการตะคริวที่เกิดขึ้นเป็นบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างที่คุณไม่ควรมองข้าม ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพาไปดูสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าวกันค่ะ

ตะคริว คือ อาการที่กล้ามเนื้อหดตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุของการเกิดตะคริวมีหลากหลาย เช่น

1. การขาดแร่ธาตุสำคัญ

แร่ธาตุ เช่น โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท หากร่างกายขาดแร่ธาตุเหล่านี้ การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้ออาจไม่ราบรื่น ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวผิดปกติจนเกิดตะคริว  โดยเฉพาะในกลุ่มที่ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นอาหารแปรรูปซึ่งมักขาดแร่ธาตุสำคัญ หรือในอีกกรณีนึงคือ การเสียเหงื่อมากเกินไป จากการออกกำลังกาย หรือในวันที่อากาศร้อนจัด ทำให้แร่ธาตุในร่างกายสูญเสียไปพร้อมกับเหงื่อ  (1)

 

2. การไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอ

เลือด มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อการไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อจะขาดออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลให้เกิดการหดเกร็งได้ง่าย สาเหตุของการไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอ อาจจะมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประวัน อย่างเช่นการนั่งหรือยืนนานเกินไป ท่าเดิม ๆ ที่ไม่ได้ขยับตัว เช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง หรือการยืนขายของเป็นเวลานาน อาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก 

 

3. การใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก

การออกกำลังกายหรือการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดความล้า และเส้นใยกล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูง จนเกิดตะคริวได้ง่าย การออกกำลังกายหนักเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้วอร์มอัพร่างกายให้ดีหรือคูลดาวน์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ เช่น การเดินทางระยะไกล การแบกของหนัก ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน (2)

 

4. ภาวะร่างกายขาดน้ำ

น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย และช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ เช่น ในวันที่อากาศร้อนจัด หรือเมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก จะทำให้ระบบกล้ามเนื้อไม่สมดุลและเกิดตะคริวได้ง่ายขึ้น อาจจะมี อาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ ปวดหัวและท้องผูก ดังนั้นควรพกน้ำติดตัวไว้และจิบตลอดทั้งวัน  (1)

 

5. ปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล

ผู้ที่ตั้งครรภ์: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดและสมดุลแร่ธาตรเปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดตะคริวได้ง่าย (3)

ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง: เช่น โรคเบาหวาน โรคไต หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรง ทำให้มีแนวโน้มเกิดตะคริวมากขึ้น

 

วิธีป้องกันและดูแลเมื่อเป็นตะคริว

แม้ว่าอาการตะคริวจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เราสามารถลดความเสี่ยงและบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

1. ดูแลโภชนาการ

  • รับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุสำคัญ เช่น ผักใบเขียว กล้วย ปลา และนม
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะในวันที่มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก

2. บริหารกล้ามเนื้อเป็นประจำ

  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย (4)
  • หากต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือบริหารร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ

3. บรรเทาอาการเมื่อเป็นตะคริว

  • หากเกิดตะคริวบริเวณน่อง ให้เหยียดขาออกตรง และดึงปลายเท้าเข้าหาตัวเบา ๆ
  • ใช้มือกดหรือคลึงเบา ๆ บริเวณที่เป็น เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  • หากอาการยังไม่ทุเลา ลองประคบร้อนหรือเย็นตามลำดับ

4. ปรึกษาแพทย์หากอาการรุนแรง

โดยปกติแล้วตะคริวกล้ามเนื้อมักจะหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ควรไปพบแพทย์หากมีอาการตะคริว ดังต่อไปนี้ปวดอย่างรุนแรง มีอาการขาบวม แดง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดซ้ำบ่อยครั้งจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวั(4)

 

เป็นตะคริวบ่อย ต้องกินอะไร

การ เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร  อาจบ่งบอกว่าร่างกายขาดสารอาหารสำคัญ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม การรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ หรืออาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่ว ผักใบเขียว หรืออโวคาโด  นอกจากนี้ การดื่มน้ำให้เพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดตะคริวเช่นกัน (5)

 

กล้ามเนื้อตึงเกิดจากอะไร

อาการกล้ามเนื้อตึง คือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งและตึงตัว อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดเมื่อขยับร่างกาย หรือรู้สึกแข็งตึงในบริเวณนั้นๆ สาเหตุของอาการกล้ามเนื้อตึง มีหลากหลาย เช่น การออกกำลังกายหนักเกินไป การนั่งทำงานเป็นเวลานาน ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การบาดเจ็บ หรือแม้แต่ความเครียดก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อตึงได้ (6) หากคุณมีอาการกล้ามเนื้อตึงบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

 

วิธีแก้ ตะคริว ให้หาย ภายใน 1 นาที

ตะคริว เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่สมัครใจ ซึ่งมักจะหายไปเองได้ แต่หากต้องการบรรเทาอาการให้เร็วขึ้น สามารถทำได้โดยการ ยืดกล้ามเนื้อ บริเวณที่เป็น โดยค่อยๆ ยืดและค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที หรือ นวด บริเวณที่ตึงเพื่อคลายกล้ามเนื้อ หากเกิดขึ้นระหว่างนอนหลับให้เปลี่ยนท่านอน และยืดขาตรงกระดกปลายเท้าประมาณ 5 วินาที ทำวน 5-10 รอบ ก่อนจะนวดบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหาย (7)

 

อุณหภูมิมีผลต่อการเกิดตะคริวหรือไม่

คำตอบคือ มีผลค่ะ อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป สามารถทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งและเกิดตะคริวได้ ทั้งอากาศร้อนจัดที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หรืออากาศเย็นจัดที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดตะคริวได้ค่ะ 

 

สรุป

แม้ว่าอาการตะคริวอาจดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วมันคือ “เสียงเตือน” จากร่างกายให้เราหันมาใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยลดโอกาสการเกิดตะคริว แต่ยังช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น หากใครที่ เป็นตะคริวบ่อย และสงสัยว่าเกิดจากอะไร ลองปรึกษาแพทย์เพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสม หากมีปัญหาภายในร่างกายที่ไม่ทราบก้จะสามารถดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีนะคะ

 

แหล่งอ้างอิง 

1.Why Am I Cramping?

2.อาการกล้ามเนื้อกระตุก (Muscle Spasms)

3.อาการตะคริวในระหว่างตั้งครรภ์คืออะไร?

4.การรักษาอาการตะคริวกล้ามเนื้อ

5.อาหารที่อาจช่วยบรรเทาอาการตะคริวกล้ามเนื้อ

6.Muscle Stiffness

7.ไขทุกปัญหาอาการตะคริว

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์!