Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม   คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์! Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม
ความดันสูง กินอะไรดี 5 อาหารช่วยดูแลสุขภาพ เพื่อร่างกายที่แข็งแรง

ความดันสูง กินอะไรดี 5 อาหารช่วยดูแลสุขภาพ เพื่อร่างกายที่แข็งแรง

ความดันโลหิตสูง คือภาวะที่แรงดันของเลือดที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายสูงกว่าปกติ อาจเปรียบเสมือนท่อประปาที่มีแรงดันน้ำสูงเกินไป ทำให้ท่ออาจเสื่อมสภาพได้ง่าย หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้นั่นเอง แล้วความดันโลหิตสูง เกิดจากอะไรกันแน่ ความจริงแล้วสาเหตุของความดันโลหิตสูงมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย อย่างพันธุกรรม หรือปัจจัยภายนอก หลัก ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องของพฤติกรรมการรับประทานอาหารนั่นเอง

ความดันสูง กินอะไรดี 5 อาหารช่วยดูแลสุขภาพ เพื่อร่างกายที่แข็งแรง

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ แล้วถ้า ความดันสูง กินอะไรดี ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพสำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูง เพื่อให้คุณได้ลองเลือกสรรเมนูที่ไม่เพียงดีต่อร่างกาย แต่ยังอร่อยและทานได้ง่ายในทุกวัน เพราะการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยควบคุมความดันโลหิต แต่ยังลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย ลองไปดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

1.ดาร์กช็อกโกแลต

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ว่าความจริงแล้วโกโก้ อุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง ดังนั้น การบริโภคโกโก้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพและควบคุมความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการแปรรูปมากนัก
ไม่หวาน และบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั่นเองค่ะ 

2.กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว อุดมไปด้วยสารอาหารและสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการควบคุมความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด แล้วทำไมกระเจี๊ยบเขียวถึงช่วยลดความดันโลหิตได้? เนื่องจาก สารสำคัญในกระเจี๊ยบเขียว ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และลดความดันโลหิต ทั้งยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะช่วยขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง

3.สาหร่ายวากาเมะ 

ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่น คงคุ้นเคยกับสาหร่ายวากาเมะกันเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วสาหารวากาเมะนั้น เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิต เพราะในสาหร่ายวากาเมะอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยลดผลกระทบของโซเดียมที่มีต่อความดันโลหิต แถมในมีใยอาหารในปริมาณมาก อาจช่วยลดอาการท้องผูกหรือท้องเสียได้ด้วยได้อีกด้วยนะคะ

4.กระเทียม

อีกหนึ่งตัวช่วยในการลดความดันที่คุณอาจเผลอมองข้าม ในกระเทียมมี สารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น หากบริโภคเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หากมีคำถามว่า ความดันสูง กินอะไร ที่ช่วยได้และหาง่ายภายในบ้าน กระเทียม อาจจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์คำถามนี้ได้ดีค่ะ

5.ทับทิม

ทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารอื่น ๆ ที่อาจช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและการแข็งตัวของหลอดเลือดได้ โดยจากการทดลองในปี 2018 พบว่าการดื่มน้ำทับทิมทุกวันอาจช่วยลดความดันโลหิตทั้งในระดับซิสโตลิกและไดแอสโตลิกในผู้ป่วยเบาหวาน และงานวิจัยในปี 2017 จากการทดลองในมนุษย์ พบหลักฐานว่าการดื่มน้ำทับทิมอย่างสม่ำเสมอสามารถลดความดันโลหิตได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย ทับทิมจึงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงนั่นเองค่ะ 

 

Tips เคล็ดลับเพิ่มเติม

ความดันสูงห้ามกินผลไม้อะไร

สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วงสุก องุ่น เพราะอาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้ แต่สามารถเลือกทานผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำและมีสารอาหารที่ช่วยควบคุมความดัน เช่น เบอร์รี่ แอปเปิ้ล เป็นต้น

กาแฟดำช่วยลดความดันได้ไหม

การดื่มกาแฟดำในปริมาณที่พอเหมาะ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด แต่ผลกระทบต่อความดันโลหิตจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณที่ดื่ม ความถี่ในการดื่ม และสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ

สรุป

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับคำตอบของ ความดันสูง กินอะไรดี ที่เรานำมาให้ในบทความนี้ ความจริงแล้วการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นส่วนสำคัญในการช่วยดูแลสุขภาพ แต่เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว อย่าลืม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เวลาร่างกายได้ฟื้นฟู รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคู่ไปด้วยนะคะ

 

แหล่งที่มา

healthline.com

healthline.com

medicalnewstoday.com

 

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์!