จ-ศ 08:00 น. -17:00 น.

สารอัลลิซิน ประโยชน์ 5 อย่างจากกระเทียมที่คุณอาจเผลอมองข้าม

สารอัลลิซิน เป็นที่สนใจของนักวิจัยและแพทย์ทั่วโลก มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสรรพคุณของสารตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารอัลลิซิน ประโยชน์

สารบัญเนื้อหา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมกระเทียมถึงเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารสุขภาพหลายชนิด? คำตอบอยู่ที่ “สารอัลลิซิน” ที่ซ่อนอยู่ในกระเทียมนั่นเอง  โดย สารอัลลิซิน (Allicin) คือ สารธรรมชาติที่พบในกระเทียม เกิดขึ้นเมื่อเราสับ บด หรือเคี้ยวกระเทียม สารชนิดนี้ก็จะถูกสร้างขึ้น โดยอัลลิซินเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นและรสเฉพาะตัวที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีค่ะ

สารอัลลิซิน ประโยชน์ 5 อย่างจากกระเทียมที่คุณอาจเผลอมองข้าม

สารอัลลิซิน เป็นที่สนใจของนักวิจัยและแพทย์ทั่วโลก มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสรรพคุณของสารตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารอัลลิซิน ประโยชน์ ส่วนหนึ่งของสารตัวนี้ คือ สามารถลดการผลิตสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คุณสมบัติอันน่าทึ่งของสารอัลลิซินไม่ได้มีเพียงเท่านี้ สารตัวนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของเราในอีกหลายด้าน วันนี้เราจะพาไปไขความลับของ สารอัลลิซิน ประโยชน์ มหาศาลที่ซ่อนอยู่ในกระเทียมกันค่ะ ลองมาดูกันเลย

1.ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

สารอัลลิซิน มีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด อีกทั้งสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงและการอักเสบในหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจ

2.ต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุของการเกิดโรคร้าย

นอกจากจะช่วยดูแลหัวใจแล้ว สารอัลลิซินในกระเทียม ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ทำหน้าที่เหมือนเกราะป้องกันเซลล์จากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคต่างๆ สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมเซลล์ ทำให้เซลล์สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ได้อีกด้วย

3.เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อพูดถึง สารอัลลิซิน ประโยชน์ ที่ขาดไปไม่ได้เลย คือ การเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างแข็งขันมากขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงในการป่วยจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ ดังนั้น การรับประทานกระเทียมสม่ำเสมอ  จึงเป็นวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ ได้

4.ลดอาการอักเสบ 

สารอัลลิซิน จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบเมื่อสารอัลลิซินลดการทำงานของเอนไซม์เหล่านี้ จะส่งผลให้การผลิตสารที่กระตุ้นการอักเสบลดลง ซึ่งช่วยลดอาการปวดและการอักเสบที่เกิดจากปัญหาต่างๆ เช่น ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

5.ช่วยในการย่อยอาหาร

สารอัลลิซิน ประโยชน์ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ คือ มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร และนี่คือเหตุผลที่ทำให้กระเทียมเป็นส่วนผสมสำคัญในอาหารหลายชนิด ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่มากขึ้น เสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากช่วยในการย่อยอาหารและลดการสะสมของแก๊สในลำไส้ได้อีกด้วยค่ะ

Tips เพิ่มเติม

กินกระเทียมทุกวัน มีผลเสีย ไหม

กระเทียมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่แคลลอรีน้อย ดังนั้น การกินกระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่อย่างไรก็ตามควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ  ไม่ควรเกิน 1-2 กลีบต่อวัน เพราะ การกินกระเทียมมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร เช่น อาการแสบร้อนกลางอก หรือท้องเสีย และควรหลีกเลี่ยงการกินกระเทียมดิบก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการแสบคอ หรือมีกลิ่นปากได้ค่ะ 

กระเทียมโทนกินตอนไหนดี

ก่อนอาหาร: การกินกระเทียมโทนก่อนอาหารประมาณ 15-30 นาที จะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ทำให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร

ระหว่างมื้ออาหาร: การกินกระเทียมโทนระหว่างมื้ออาหาร จะช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

สรุป

สารอัลลิซิน ในกระเทียมมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ทั้งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และช่วยลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเอง ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยในการย่อยอาหาร อย่างไรก็ตาม กระเทียมมีฤทธิ์ร้อน ดังนั้นจึงควรบริโภคกระเทียมแต่พอดี ไม่มากจนเกินไปนะคะ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

healthline.com

healthline.com

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ