จ-ศ 08:00 น. -17:00 น.

บอกลาปัญหา กลิ่นกระเทียมติดปาก ด้วย 9 วิธีง่าย ๆ ที่ต้องลอง

บอกลาปัญหา กลิ่นกระเทียมติดปาก ด้วย 9 วิธีง่ายๆ ที่คุณต้องลอง

สารบัญเนื้อหา

กระเทียม เป็นส่วนประกอบหลักในอาหารหลายประเภทที่ช่วยเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องปรุงรสที่เพิ่มรสชาติให้อาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงมากมาย งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นพบว่า กระเทียมนั้นมีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง แลดความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล นั่นเป็นเหตุผลว่าอาหารหลาย ๆ อย่างมักมีกระเทียมเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ กลิ่นกระเทียมที่ติดอยู่ในปากหลังจากรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคมได้นั่นเอง

บอกลาปัญหา กลิ่นกระเทียมติดปาก ด้วย 9 วิธีง่าย ๆ ที่ต้องลอง

หลาย ๆ คนคงเข้าใจดีว่า กลิ่นกระเทียมติดปาก หลังทานอาหารนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่ารำคาญพอสมควรใช่มั้ยคะ ไม่ว่าจะเป็นการไปพบปะผู้คน หรือแม้แต่การนั่งคุยกับเพื่อนร่วมงาน การมีกลิ่นปากก็ส่งผลต่อความมั่นใจของเราได้ บทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ได้ผลจริง พร้อมทั้งเผยเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันเลยค่ะ

1.ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำหลังอาหารเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดกลิ่นปากจากการรับประทานอาหารที่มีกระเทียม น้ำจะช่วยชะล้างเศษอาหารที่ติดตามลิ้นและซอกฟัน รวมถึงกระตุ้นการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ดังนั้น ลองดื่มน้ำสัก 1-2 แก้วหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อช่วยลดความรุนแรงของกลิ่นในปาก

2. แปรงฟันและทำความสะอาดลิ้น

หลังจากรับประทานอาหาร การแปรงฟันอย่างทั่วถึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขจัดเศษอาหารและกลิ่นไม่พึงประสงค์ ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของมิ้นต์หรือฟลูออไรด์เพื่อช่วยเพิ่มความสดชื่น ที่สำคัญนะคะ อย่าลืมทำความสะอาดลิ้น เนื่องจากเป็นอีกจุดสะสมของแบคทีเรียที่มีกถูกมองข้ามบ่อย ๆ การใช้ที่ขูดลิ้นหรือแปรงลิ้นเบาๆ หลังแปรงฟันจะช่วยกำจัดแบคทีเรียและกลิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ดื่มนม

นม เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าช่วยลด ปัญหาของกลิ่นกระเทียมที่ติดปาก ได้ดี ในงานวิจัยบางชิ้นพบว่านมนั้น  มีประสิทธิภาพในการลดกลิ่นกระเทียมมากกว่าน้ำเปล่า เพราะไขมันในนมช่วยจับกับสารประกอบกำมะถันในกระเทียม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกลิ่น ดังนั้นสามารถดื่มนมระหว่างหรือหลังทานอาหารที่มีกระเทียมเพื่อช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ทันที

4.ดื่มน้ำมะนาว

น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด โดยในน้ำมะนาวมีกรดซิตริก ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ ที่ช่วยทำลายโมเลกุลของสารประกอบกำมะถันที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นกระเทียม ทำให้กลิ่นลดลงได้ กลิ่นของมะนาวจะช่วยกลบกลิ่นกระเทียม เพียงผสมน้ำมะนาวสดกับน้ำอุ่นแล้วดื่มหลังมื้ออาหาร จะช่วยทำให้ปากสะอาดและลมหายใจสดชื่น

5. ดื่มชาเขียว

การจิบชาเขียวหลังรับประทานอาหารอาจช่วยกลบ กลิ่นกระเทียมติดปาก ได้เป็นอย่างดี โดยการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่าชาเขียวกำจัดกลิ่นปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหมากฝรั่งทั่วไป โดยจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีคาเทชินซึ่งเป็นสารประกอบที่เป็นประโยชน์ในชาเขียวสามารถลดคราบพลัคได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับน้ำยาบ้วนปากน้ำยาฆ่าเชื้อ

6.รับประทานแอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล หรือผักอื่น ๆ เช่น  แครอท หรือผักโขม มีเอนไซม์ธรรมชาติที่ช่วยสลายสารประกอบกำมะถันในกระเทียม ซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นปาก การกินแอปเปิ้ลหรือผักสดหลังอาหารที่มีช่วยลด กลิ่นกระเทียมติดปาก แต่ยังเพิ่มช่วยเพิ่มเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วยนะคะ

7.รับประทานโยเกิร์ต

โยเกิร์ตมีแบคทีเรียโปรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้และช่องปาก ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในช่องปาก ทำให้ลดปริมาณของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ แถมการรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำไม่เพียงช่วยลดกลิ่นปากจากกระเทียม แต่ยังช่วยเรื่องสุขภาพระบบทางเดินอาหารได้เช่นกันค่ะ

8.ใช้ไหมขัดฟัน

บางครั้งกลิ่นกระเทียมติดปากเกิดจากเศษอาหารที่ติดอยู่ระหว่างซอกฟัน ไหมขัดฟันสามารถช่วยขจัดเศษอาหารและแบคทีเรียในที่ที่แปรงสีฟันเข้าถึงได้ยาก การใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำหลังอาหารจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปาก

9.น้ำสับปะรด

หลายคนเชื่อว่าน้ำสับปะรดเป็นวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดในการลดปัญหากลิ่นปาก แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันแน่ชัด แต่มีรายงานจากผู้ใช้หลายคนที่กล่าวว่าได้ผลดี จึงอยากขอแนะนำให้ดื่มน้ำสับปะรดออร์แกนิกหนึ่งแก้วหลังมื้ออาหารทุกมื้อ หรือเคี้ยวเนื้อสับปะรดสดประมาณ 1-2 นาที อย่างไรก็ตาม อย่าลืมล้างปากหลังจากทานผลไม้หรือน้ำผลไม้ เพื่อป้องกันการสะสมของน้ำตาลจากผลไม้ในปากนะคะ

กระเทียม เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัญหาที่หลายคนกังวลหลังจากทานกระเทียมสด คือ กลิ่นกระเทียมที่มักติดปากหลังจากรับประทานอาหารเสร็จนั่นเอง ซึ่งสร้างความไม่มั่นใจในการพูดคุยหรือเข้าสังคมได้ ดังนั้น อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ คือ อาจลองหันมาใช้ น้ำมันกระเทียมสกัดเย็น เนื่องจากตัวน้ำมันกระเทียมสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันจากกระเทียม เพื่อคงไว้ซึ่งสารอาหารที่สำคัญ โดยปราศกลิ่นเหมือนกระเทียมสด ตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ

โปรทริว่า G-Lic Oil  น้ำมันกระเทียมสกัดเย็นเกรดพรีเมียม ผลิตด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อดึงคุณค่าสารอาหารสำคัญจากกระเทียมอย่างเต็มประสิทธิภาพ คัดสรรกระเทียมสายพันธุ์พิเศษ ผ่านกระบวนการบ่มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ช่วยเพิ่มสาร S-allyl cysteine (SAC) สูงกว่าปกติถึง 6 เท่า และยังผ่านการสกัดเย็นเพื่อคงสารอัลลิซิน (Allicin) ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ มอบประโยชน์สูงสุดเพื่อสุขภาพที่ดีครบถ้วน

วิธีดับกลิ่นกระเทียมติดมือ

ลองใช้กากกาแฟขัดถูมือเบา ๆ ดูค่ะ เนื่องจากกากกาแฟมีรูพรุนเล็กๆ จำนวนมาก ทำให้มีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นกระเทียมหรือกลิ่นอื่น ๆ นอกจากนี้ในกากกาแฟยังมีสารประกอบบางชนิดที่ช่วยลดกลิ่นได้ เช่น แทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการดึงดูดและจับกับโมเลกุลของสารที่ก่อให้เกิดกลิ่นได้อีกด้วยนะคะ

กินกระเทียม เยอะ ตัว เหม็น จริงหรือไม่

คำตอบคือ จริง ค่ะ การทานกระเทียมในปริมาณมากอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ออกมาทางเหงื่อและลมหายใจ
นอกจากลมหายใจและเหงื่อแล้ว โดยกลิ่นนั้นยังสามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้นานหลายชั่วโมงหรือเป็นวันหลังจากทานกระเทียม โดยเฉพาะในกรณีที่ทานกระเทียมสดในปริมาณมากด้วยนะคะ

สรุป

กลิ่นกระเทียมที่ติดปากของเรานั้น สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ได้อย่างหลากหลายกันเลยทีเดียว สามารถปรับใช้ได้ตามสะดวกเลยค่ะ  แต่ถ้าหากว่าคุณไม่อยากยุ่งยากในการกำจัดปัญหากลิ่นกวนใจและกังวลกับกลิ่นกระเทียมที่ติดปาก ลองหันมาทานน้ำมันกระเทียมสกัดเย็นดูสิคะ ไม่เพียงแต่จะช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ยังช่วยให้คุณสามารถรับสารอาหารที่มีประโยชน์จากกระเทียมได้อย่างเต็มที่ นี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีได้ทั้งประโยชน์จากกระเทียม พร้อมคงความมั่นใจในการพูดคุยและทำกิจกรรมประจำวัน

แหล่งที่มา

สรุป บอกลากลิ่นกระเทียมติดปาก ด้วย 9 วิธีง่าย ๆ ที่ต้องลอง

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ