เบื้องหลังกลิ่นฉุนและรสชาติเผ็ดร้อนอันเป็นเอกลักษณ์ของ “กระเทียม” แฝงไว้ด้วยสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ กระเทียมเป็นมากกว่าเครื่องเทศธรรมดา แต่คือแหล่งรวมสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
เผยความลับ! กระเทียมสดช่วยอะไร ? 8 ประโยชน์ที่คุณห้ามพลาด
ประโยชน์ของกระเทียมเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลาย แต่ กระเทียมสด ช่วยอะไร บ้างนะ? มีอะไรบ้างที่ดีต่อร่างกาย? ในบทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของกระเทียมสดมาไว้แล้วค่ะ เพื่อไขข้อสงสัยและแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของสมุนไพรพื้นบ้านชนิดนี้
1. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
กระเทียมได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในด้านความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัลลิซิน ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญที่พบในกระเทียมสดเมื่อถูกบด และยังเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหลายชนิด (1)
2.ลดความดันโลหิต
ใครตามหาคำตอบว่า กระเทียมสด ช่วยอะไร กระเทียมมีศักยภาพในการลดระดับความดันโลหิตสูงได้อย่างชัดเจนในผู้ป่วย โดยสารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานแบบดิบ จะช่วยคลายหลอดเลือดและช่วยเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น (2)
3. ลดระดับคอเลสเตอรอล
การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากคอเลสเตอรอลที่สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด (3)
4. คุณสมบัติต้านการอักเสบ
สารประกอบในกระเทียมมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดการอักเสบในร่างกายและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เนื่องจากกระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบที่ดีต่อร่างกาย (4)
5. ประโยชน์ต่อสุขภาพตับ
โรคไขมันพอกตับชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ (NAFLD) เป็นภาวะที่ไขมันส่วนเกินสะสมในตับ และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับในสหรัฐอเมริกา การศึกษาในปี 2019 ในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ (24,106 คน) พบว่า การบริโภคกระเทียมดิบ 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรค NAFLD ในผู้ชายถึง 34% (5)
6.ปรับปรุงสุขภาพลำไส้
นอกจากจะโดดเด่นในเรื่องของการช่วยลดความดันโลหิตแล้ว อีกหนึ่งความลับที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้คือ กระเทียมจัดว่าเป็นอีกตัวช่วยที่ดีต่อลำไส้ของเราค่ะ โดย จากงานวิจัยพบว่า กระเทียมเป็นพรีไบโอติกที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นอาหารสำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ของคุณค่ะ อาจใช้เป็นเพื่อปรับจุลินทรีย์ในลำไส้ได้โดยการเพิ่มกระเทียมลงในมื้ออาหารของคุณ (6)
7.ป้องกันการเสื่อมของสมอง
การศึกษาในปี 2019 ที่รวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุชาวจีนกว่า 27,000 คน ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่บริโภคกระเทียมอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสติปัญญาลดลง และมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่บริโภคกระเทียมน้อย (7)
8.ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการสะสมของคราบพลัค* ในหลอดเลือดแดงเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจ การทานกระเทียมอาจช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ โดยการศึกษาในปี 2021 ในผู้ใหญ่ชาวจีน 4,329 คน พบว่า ผู้ที่ทานกระเทียมดิบอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง มีความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในระยะเริ่มต้น (ซึ่งบ่งชี้ความเสี่ยงโรคหัวใจ) ลดลงอย่างชัดเจน (8)
คราบพลัค คืออะไร?
คราบพลัคในหลอดเลือดแดงประกอบด้วยไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และเซลล์อักเสบที่สะสมอยู่ภายในหลอดเลือดแดงของร่างกายเมื่อเวลาผ่านไป คราบไขมันในหลอดเลือดแดงจะสะสม แข็งตัว และในที่สุดทำให้ช่องเปิดของหลอดเลือดแดงแคบลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง ผนังหลอดเลือดแดงจะหนาขึ้นและแข็งขึ้นด้วยนั่นเอง (9)
กระเทียมแก้หวัดได้ไหม
คำตอบคือ ได้ค่ะ กระเทียม สามารถช่วยบรรเทาอาการหวัด ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีสารสำคัญชื่อว่า อัลลิซิน (Allicin) ซึ่งมีคุณสมบัติ ต้านไวรัส แบคทีเรีย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Advances in Therapy (2001) ที่ทดลองให้กลุ่มอาสาสมัครทานกระเทียมเสริมอาหารติดต่อกัน 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับกระเทียมมีอัตราการเป็นหวัดลดลง และหากเป็นก็หายเร็วขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับกระเทียมค่ะ (10) แต่กระเทียมไม่ใช่ยารักษาโดยตรงนะคะ เป็นเพียงตัวช่วยเสริมที่ดีในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ถ้าเป็นหวัดรุนแรงหรือมีไข้สูง ควรปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยค่ะ
กระเทียมต้องปอกเปลือกไหม
หลายคนคงเริ่มเข้าใจประโยน์ของ กระเทียมสด ช่วยอะไร กันไปแล้วนะคะ แล้วกระเทียมควรปอกเปลือกไหม แน่นอนค่ะว่าควรปอกเปลือกก่อนรับประทานหรือปรุงอาหารค่ะ เพราะเปลือกนอกของกระเทียมเป็นชั้นแห้งที่ไม่สามารถย่อยได้ และอาจกักเก็บสิ่งสกปรกหรือฝุ่นไว้ด้วยค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเทียมเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
2.Garlic and Hypertension: Efficacy, Mechanism of Action, and Clinical Implications
4.The Health Benefits of Garlic
10.Preventing the common cold with a garlic supplement: a double-blind, placebo-controlled survey