กระเทียมดำไม่ใช่กระเทียมคนละสายพันธุ์นะคะ แต่เป็นกระเทียมขาวที่เราคุ้นเคยกันนี่แหละค่ะ เพียงแต่มันถูกนำไปผ่านกระบวนการ “บ่ม” หรือ “หมัก” ในอุณหภูมิและความชื้นที่ควบคุมอย่างพิถีพิถันเป็นระยะเวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ กระบวนการนี้เองที่ทำให้กระเทียมขาวธรรมดาๆ กลายเป็นกระเทียมสีดำสนิท รสชาติที่เคยฉุนจัดก็กลายเป็นรสหวานอมเปรี้ยวคล้ายลูกพรุน เนื้อสัมผัสก็นุ่มหนึบเคี้ยวง่าย ที่สำคัญคือสารพัดคุณประโยชน์ในกระเทียมดำนั้นจะเข้มข้นขึ้นมากเลยทีเดียวค่ะ
รวม กระเทียมดำ กินยังไง ให้ถูกวิธี เพื่อสุขภาพดีไม่มีสะดุด
ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในนั้นที่น่าสนใจก็คือ “กระเทียมดำ” นั่นเองครับ ใครที่กำลังสงสัยว่า กระเทียมดำ กินยังไง ให้ดีต่อสุขภาพ ดังนั้น ในบทความนี้น ไปเราจะพาไปดูเคล็ดลับการกินอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดและมีสุขภาพดีแบบไม่มีสะดุด! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยค่ะ
1. กินตอนไหนดี
ความจริงแล้วกระเทียมดำสามารถกินได้ทุกช่วงเวลา (1) แต่การกินในตอนเช้าหรือท้องว่าง เพราะร่างกายดูดซึมสารสำคัญได้ง่ายกว่า เช่น S-allyl cysteine ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ หากคุณไม่มีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร การกินกระเทียมดำก่อนอาหารเช้าสามารถช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ย่อยอาหารดีขึ้น และเสริมภูมิคุ้มกันได้ค่ะ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะ ควรเลือกกินหลังอาหารจะปลอดภัยกว่า
2. ปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี?
ปริมาณกระเทียมดำที่คุณควกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับความต้องการด้านสุขภาพของแต่ละบุคคลแน่นอนว่าทุกอย่างมีขีดจำกัดนะคะ แม้แต่ของดีอย่างกระเทียมดำ สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป แนะนำให้เริ่มต้นที่ วันละ 1-2 กลีบ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือกระเทียมดำมีรสชาติเข้มข้นกว่ากระเทียมขาว ดังนั้นการกินพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้วค่ะ (2)
3.กินเปล่า ๆ หรือผสมกับอะไรได้บ้าง?
ในญี่ปุ่น คนส่วนใหญ่มักจะกินกระเทียมดำเพียงอย่างเดียว กระเทียมดำมีรสหวานและไม่ทิ้งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในปาก (3) แต่ถ้าคุณไม่ถนัดเคี้ยวกระเทียมดำเปล่า ๆ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะสามารถนำไปใส่ในเมนูอื่นได้เช่นกัน รสชาติของกระเทียมดำเข้ากับอาหารได้หลากหลายมากกว่าที่คิด
เช่น
- สไลซ์บาง ๆ แล้วโรยในข้าวต้ม หรือโจ๊ก
- ผสมในสลัด หรือโยเกิร์ต
- ปั่นรวมในสมูทตี้ผลไม้สำหรับคนที่ชอบรสชาติหวานอมเปรี้ยว
- บดละเอียดใส่ในน้ำสลัดหรือน้ำจิ้มแบบโฮมเมด
4.กินต่อเนื่องนานแค่ไหนถึงจะเห็นผล?
การกินกระเทียมดำ ไม่ใช่ยา แต่เป็นการดูแลตัวเองแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอเป็นหลัก มีการศึกษาขนาดเล็กที่ทำกับกลุ่มตัวอย่าง 62 คน พบว่าการรับประทานกระเทียมดำวันละ 4 กลีบ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มระดับของ Apolipoprotein A1 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ HDL หรือ “ไขมันดี” ทำหน้าที่กำจัด LDL หรือ “ไขมันไม่ดี” ออกจากร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษามีระดับของ โมเลกุลการยึดเกาะเซลล์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัวด้วย แม้จะเป็นการศึกษาในกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกระเทียมดำในแง่ของการดูแลหัวใจและระบบหลอดเลือดได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียวค่ะ (4)
5.มีใครที่ควรหลีกเลี่ยงไหม?
แม้กระเทียมดำจะปลอดภัยกับคนทั่วไป แต่ก็มีข้อควรระวังในบางกรณี เช่น ผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาลดความดัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ผู้ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร แม้ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันผลข้างเคียงที่ชัดเจน แต่ก็ควรระวัง ผู้ที่แพ้กระเทียม แม้ว่าการบ่มจะเปลี่ยนโครงสร้างบางอย่างของกระเทียม แต่โอกาสแพ้ก็ยังมีอยู่ (5)
อาการแพ้กระเทียมมีอะไรบ้าง
อาการแพ้อาหารหลังจากรับการกินกระเทียม ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ โรคหอบหืด น้ำมูกไหล หรือปัญหาผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ (5)
กระเทียมดำเก็บได้นานแค่ไหน
การเก็บรักษากระเทียมดำที่หมดอายุแล้วให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับประเภทของบรรจุภัณฑ์ หากยังไม่เปิดใช้ สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้จนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ แต่เมื่อเปิดใช้งานแล้ว แนะนำให้เก็บไว้ในตู้เย็น ซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพได้นานประมาณ 1 เดือน หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย สำหรับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสารสกัดหรือผงกระเทียมดำ สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องได้ราว 3 เดือน ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงความชื้น แสงแดด และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุดค่ะ (5)
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
1.Dr. Anil Rajani: BEST TIME OF DAY FOR BLACK FERMENTED GARLIC
2.francoislambert: 10 เหตุผลว่าทำไมกระเทียมดำจึงควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา
3.thejapanstore.us: พลังแห่งการเติมพลังของกระเทียมดำ – วิธีใช้ และแตกต่างจากกระเทียมทั่วไปอย่างไร?
5.dr.axe: กระเทียมดำมีประโยชน์มากกว่ากระเทียมดิบหรือไม่?