กระเทียมมีประวัติศาสตร์การใช้งานที่ยาวนานนับพันปี ทั้งในฐานะอาหารและยารักษาโรค ย้อนกลับไปได้ถึงยุคการสร้างปิรามิดในอียิปต์โบราณ ความเชื่อในสรรพคุณทางยาของกระเทียมยังคงสืบต่อมา เช่น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 มีบันทึกว่าสัปเหร่อชาวฝรั่งเศสถึงกับดื่มไวน์ผสมกระเทียมบด ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันกาฬโรคได้ นอกจากนี้ ในสมัยสงครามโลกยังถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทาบนบาดแผลโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกระเทียมในทางการแพทย์ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา
กระเทียมสด ประโยชน์ 7 อย่าง สุขภาพดีแบบไม่ต้องมู
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า กระเทียม เจ้าจิ๋วใกล้ตัวที่เราคุ้นเคยกันดีนั้นซ่อนสรรพคุณไว้มากมาย ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเจ้า กระเทียมสด ประโยชน์ ดี ๆ ที่แอบซ่อนอยู่ ซึ่งสำหรับใครที่อยากดูแลร่างกาย ไม่ต้องมู ไม่ต้องรอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เริ่มได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในบ้าน ลองไปดูกันเลยค่ะ
1. บรรเทาอาการของไข้หวัด
จากการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 12 สัปดาห์ในช่วงฤดูหนาว ผู้ที่รับประทานกระเทียมมีอาการหวัดน้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก และเมื่อเป็นหวัด ผู้ที่รับประทานกระเทียมจะพบว่าอาการของตนหายเร็วกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก (1)
2.ลดคอเลสเตอรอล
มีผลการศึกษาว่าการบริโภคกระเทียมควบคู่กับน้ำมะนาวอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อระดับไขมันในเลือด และความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันสูงค่ะ (2) นอกจากนี้ยังนักวิจัยยังพบหลักฐานว่าการบริโภคกระเทียมครึ่งถึงหนึ่งกลีบต่อวันช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 9% เลยทีเดียว (3)
3. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
สรรพคุณของกระเทียมในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดนั้นเกิดจากกระบวนการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาระบบไหลเวียนโลหิตและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ตลอดจนมีบทบาทในการยับยั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง การอักเสบ และการก่อตัวของลิ่มเลือด โดยจากการศึกษาปี 2016 พบว่า กระเทียมอาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและปกป้องสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้ (4) นอกจากนี้ กระเทียมยังมีโพแทสเซียมสูงซึ่งมีความสำคัญต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อและการทำงานของหัวใจ (7)
4. เสริมสมรรถภาพทางกาย
กระเทียม อาจช่วยบรรเทาความเมื่อยล้าทางกายและเพิ่มความทนทานต่อการออกกำลังกายและการดูดซึมออกซิเจน และจากการศึกษาพบว่า การรับประทานกระเทียมในระยะสั้นอาจช่วยเพิ่มความทนทานของร่างกายและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนได้ แม้ในกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ (5)
5. ดีท็อกซ์สารพิษและโลหะหนัก
จากผลการศึกษาพบว่า กระเทียม ช่วยลดความเข้มข้นของตะกั่วในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยนักวิจัยแนะนำว่ากระเทียมมีประสิทธิภาพเท่ากับยาสามัญในการรักษาอาการพิษตะกั่วในระดับเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง (6)
6. บำรุงระบบประสาท
กระเทียมมีคุณสมบัติที่น่าสนใจในการช่วยปกป้องระบบประสาท ซึ่งรวมถึงสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทต่าง ๆ การศึกษาหนึ่งพบว่า กระเทียมที่ผ่านการบ่มจนแก่จัด อาจมีบทบาทในการป้องกันความเสื่อมของระบบประสาท โดยเฉพาะในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ได้ (8)
7.ดูแลสุขภาพไต
สารอัลลิซิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในกระเทียม อาจมีบทบาทช่วยลดความเสี่ยงของโรคไต โดยช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสม และลดภาวะเครียดออกซิเดชันซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระในร่างกาย การลดปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้ไตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (9)
กระเทียม สรรพคุณ เพศหญิง
กระเทียมถือเป็นหนึ่งในอาหารที่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อการมีบุตร เพียงรับประทานกระเทียมสดวันละ 2–4 กลีบ ก็อาจช่วยส่งเสริมระบบสืบพันธุ์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น กระเทียมมีคุณสมบัติในการช่วยทำความสะอาดเลือด และส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตซึ่งมีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ กระเทียมยังอุดมไปด้วยซีลีเนียม วิตามินซี และวิตามินบี 6 ซึ่งมีบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงของความผิดปกติในระดับโครโมโซมได้อีกด้วย (8)
วิธีกินกระเทียมสด
การรับประทานกระเทียมสดเพื่อสุขภาพนั้นควรเริ่มจากปริมาณเล็กน้อย เช่น วันละ 1–2 กลีบ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว แนะนำให้บดหรือสับกระเทียม ทิ้งไว้ประมาณ 10–15 นาที ก่อนรับประทาน เพื่อให้อัลลิซิน ถูกกระตุ้นอย่างเต็มที่ สามารถรับประทานพร้อมน้ำอุ่น หรือผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อลดกลิ่นและรสที่แรงเกินไปได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานกระเทียมสดในปริมาณมากนะคะ
สรุป
กระเทียมสด ประโยชน์ มากมาย ไม่ใช่แค่เครื่องปรุงรสธรรมดา แต่เป็น “ยา” จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง การเพิ่มกระเทียมเข้าไปในมื้ออาหารเป็นประจำ คือวิธีง่ายๆ ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจากภายใน ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ และมีสุขภาพดีได้จริง โดยไม่ต้องมู เพียงต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอนั่นเองค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเทียมเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
3.Effect of garlic on total serum cholesterol. A meta-analysis
4.12 Health Benefits of Garlic: Health Effects Explained
5.The effect of garlic supplementation on aerobic performance in non-athlete men.
9.The Beneficial Effects of Allicin in Chronic Kidney Disease Are Comparable to Losartan
10.8 Garlic Benefits for Women’s Sexually – How is Garlic Effective for Sex?