กระเทียม ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องเทศคู่ครัวที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นสุดยอดสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสรรพคุณทางยามากมายที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในหมู่ “สายรักสุขภาพ” ที่รู้ดีว่ากระเทียมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต และอีกสารพัดประโยชน์อันน่าทึ่ง
กระเทียม กินตอนไหนดี พร้อม 5 เทคนิคที่ใช่สำหรับสายรักสุขภาพ
แม้จะรู้ว่ากระเทียมดีต่อสุขภาพ แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า กระเทียม กินตอนไหนดี เพื่อให้ร่างกายดูดซึมและนำประโยชน์เหล่านั้นไปใช้ได้อย่างเต็มที่ที่สุด พร้อม 5 เทคนิคที่เป็นแนวทางให้คุณพิจารณา เพื่อการกินกระเทียมอย่างชาญฉลาด ได้สุขภาพดีอย่างที่ตั้งใจ มาดูกันเลยค่ะ
ถามว่า กระเทียม กินตอนไหนดี ที่สุด คำตอบคือ กินตอนไหนก็ได้ แต่ “สม่ำเสมอ” กระเทียมมีประโยชน์ ไม่ว่าจะกินในช่วงเวลาใดของวัน หรือจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานสด การนำไปประกอบอาหาร หรือการกินในรูปแบบอาหารเสริม เคล็ดลับสำคัญเพื่อให้คุณได้รับประโยชน์จากกระเทียมอย่างสม่ำเสมอคือ การเลือกวิธีที่คุณสะดวกและทำได้ง่าย จะช่วยให้คุณสามารถ กินกระเทียมได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (1) มีข้อควรระวัง เนื่องจากกระเทียมสดมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป และที่สำคัญ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร ท้องเสีย หรือผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด ควรหลีกเลี่ยง การรับประทานกระเทียมดิบ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ (2)
5 เทคนิคการกินกระเทียมเพื่อสุขภาพที่ใช่
1.กินกระเทียมสดดีที่สุด
เคล็ดลับสำคัญในการได้รับประโยชน์จากกระเทียมสดอยู่ที่สาร ‘อัลลิซิน’ (allicin) สารนี้จะเกิดขึ้นเมื่อกระเทียมสดถูกทำให้แตกตัว เช่น การบดหรือสับ โดยสารตั้งต้นในกระเทียมจะทำปฏิกิริยากัน เกิดเป็นอัลลิซินขึ้นมา ซึ่ง อัลลิซินคือสารสำคัญที่ให้ทั้งกลิ่นฉุน รสเผ็ด รวมถึงมีคุณสมบัติต้านเชื้อโรค การรับประทานกระเทียมดิบที่ผ่านการบดใหม่ๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยคงปริมาณอัลลิซินไว้ได้มากที่สุด ทำให้สามารถ ออกฤทธิ์จัดการกับแบคทีเรียและไวรัสได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (2)
2.ปริมาณที่เหมาะสม
กระเทียมให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน ก็จริง แต่ การ กิน แต่พอดีเป็นสิ่งสำคัญ หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการไม่สบายต่างๆ ได้ เช่น อาการไม่สบายท้อง มีกลิ่นปาก หรืออาจพบอาการแพ้ในบางราย โดยทั่วไป ผู้ใหญ่ควรกินกระเทียมในปริมาณประมาณ 1-2 กลีบต่อวัน (3)
3.เคี้ยวกระเทียมก่อนกลืน
เมื่อเราเคี้ยวหรือบดกระเทียมก่อนกลืน จะพบว่าสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงช่วยลดความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่างได้แต่ถ้ากลืนกระเทียมไปทั้งกลีบโดยไม่ได้บดหรือเคี้ยว จะไม่ส่งผลอย่างชัดเจนต่อระดับไขมันในเลือด ความดันตัวล่าง หรือค่าเลือดบางชนิดเหตุผลสำคัญคือ ในกระเทียมมีสารที่เรียกว่า ‘อัลลิซิน’ (allicin) ซึ่งเป็น สารออกฤทธิ์หลักที่มีคุณสมบัติต่อสุขภาพ สารอัลลิซินนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกระเทียมถูกทำให้เซลล์แตกจากการบดหรือสับเท่านั้น ไม่แนะนำให้กลืนไปทั้งกลีบ เพราะหากกลืนไปทั้งกลีบ สารอัลลิซินนี้จะถูกสร้างขึ้นน้อยมากหรือไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้น กลิ่นฉุนเฉพาะตัวของกระเทียมที่เราได้กลิ่น จึงเป็น สัญญาณบ่งชี้ว่า สารอัลลิซินได้ถูกสร้างขึ้นและพร้อมออกฤทธิ์แล้วนั่นเอง (4)
4.สับหรือบดกระเทียมทิ้งไว้ 10 นาทีก่อนปรุง
หลังจากสับหรือบดกระเทียมแล้ว ควรทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนนำไปปรุงอาหาร นะคะ วิธีนี้จะช่วยให้ เอนไซม์ในกระเทียมมีเวลาทำงาน และสร้างสารอัลลิซิน ขึ้นมาได้อย่างเต็มที่ ก่อนที่ความร้อนจะเข้าไปสลายไปค่ะ (5)
5.ถ้าไม่ไหวกับกลิ่น ลองรูปแบบน้ำมันกระเทียมสกัดเย็น
หลายคนอยากกินกระเทียมเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่อาจจะรับไม่ได้กับกลิ่นการกินน้ำมันกระเทียมสกัดเย็นอาจจะเป็นคำตอบที่ใช่นะคะ รูปแบบนี้เป็นการนำสารสำคัญจากกระเทียมมาสกัดเข้มข้น มักบรรจุในรูปแบบแคปซูล ทำให้ กิน ง่าย สะดวก และไม่มีกลิ่นฉุนรบกวนเหมือนการ กิน กระเทียมสด ซึ่งช่วยให้คนที่กังวลเรื่องกลิ่น สามารถ กิน กระเทียมได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับประโยชน์จากสารประกอบในกระเทียมได้
กระเทียมเก็บได้นานแค่ไหน
กระเทียมทั้งหัวสามารถเก็บไว้ได้นานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนเลยค่ะ ถ้าเก็บรักษาอย่างถูกต้องในที่ที่ เย็น แห้ง และมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรเก็บกระเทียมทั้งหัวในตู้เย็น นะคะ เพราะความชื้นอาจทำให้ราขึ้นหรือกระเทียมงอกเร็วขึ้นได้ เมื่อแยกกลีบกระเทียมออกจากหัวแล้ว อายุการเก็บจะสั้นลง ควรใช้ให้หมดภายใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนกระเทียมที่สับหรือบดแล้ว จะเสียง่ายมาก ต้องเก็บในภาชนะปิดมิดชิดในตู้เย็น และใช้ให้หมดภายในไม่กี่วันค่ะ สังเกตง่ายๆ ว่ากระเทียมเสียหรือยัง คือถ้าเริ่มมี ราขึ้น นิ่ม หรือมีหน่องอกออกมา ก็ไม่ควรนำมาใช้อีกค่ะ
โรคที่ห้ามกินกระเทียม
ตามความเชื่อของแพทย์แผนจีน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ไม่ควรกินกระเทียม โดยเฉพาะหาก กิน ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะเชื่อว่ากระเทียมอาจ “ทำลายตับและดวงตา” ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง ร่างกายอ่อนแอ ตามหลักการแพทย์แผนจีน หากยัง กิน กระเทียมอยู่ อาจทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น การมองเห็นลดลง หูอื้อ เวียนศีรษะ หรือความจำไม่ดีลง (2)
สรุป
การ กิน กระเทียมเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ การทำความเข้าใจวิธีการเตรียมและ กิน อย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณได้รับคุณประโยชน์จากสมุนไพรชนิดนี้ได้อย่างเต็มที่ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันดูนะคะ
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเทียมเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
1.Verywellhealth: ประโยชน์ต่อสุขภาพของกระเทียม
2.โรงพยาบาลเทศบาลชิงเต่า: กินกระเทียมอย่างไรให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด?
3.Timesofindia: 5 คุณประโยชน์ของการกินกระเทียมในหน้าหนาว กินเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ามากเกินไป?