ความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักถูกเรียกว่า “ภัยเงียบ” เพราะหลายครั้งอาการไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน แต่ผลกระทบกลับร้ายแรงกว่าที่คิด ทั้งการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคไต หลายคนอาจมีคำถามว่า “ความดันสูงเท่าไหร่ ถึงจะอันตราย?” พอจะมีวิธีใดที่จะช่วยเช็กระดับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพได้บ้าง
ความดันสูง เท่าไหร่อันตราย เช็กระดับความเสี่ยงเพื่อสุขภาพ
ความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบได้ทั่วไป ซึ่ง ความดันสูง เท่าไหร่อันตราย หลาย ๆ คนคงสงสัยกัน เชื่อว่าทุกคนคงพอทราบกันบ้างแล้วว่า เรื่องของความดันสูงนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้อย่างร้ายแรง ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากความดันสูง พร้อมเช็กระดับความเสี่ยงเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ ลองไปดูกันเลย
ความดันโลหิต หมายถึง แรงที่เลือดดันผ่านผนังหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือด ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนั้น
เป็นโรคที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (หลอดเลือดแดง) ในอัตราที่สูงกว่าปกติ โดยปกติความดันโลหิตจะวัดด้วยตัวเลขสองตัว ได้แก่
ความดันโลหิตตัวบน (Systolic Pressure) คือความดันโลหิตที่วัดได้ในขณะที่หัวใจบีบตัว
ความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Pressure) คือความดันโลหิตที่วัดได้ในขณะที่หัวใจคลายตัว
ระดับความดันโลหิตที่ปกติและผิดปกติ
ตามมาตรฐานสากล ระดับความดันโลหิตที่ถือว่าปกติคือ ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่ปัจจุบันมีการปรับเกณฑ์ใหม่ โดยถือว่าความดันโลหิตที่อยู่ในช่วง 120-129/80-84 มิลลิเมตรปรอท ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด
ระดับความดันโลหิตที่ผิดปกติ แบ่งออกได้ดังนี้
- ความดันโลหิตสูงระดับ 1: ค่าความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 140-159/90-99 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงระดับ 2: ค่าความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 160-179/100-109 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตสูงระดับ 3: ค่าความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท
โดยทั่วไปแล้ว ค่าความดันโลหิตที่ได้จากการวัดแต่ละครั้งอาจแตกต่างกันไปเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เวลาที่วัด อารมณ์ และกิจกรรมที่ทำก่อนการวัด ดังนั้นการวัดความดันโลหิตซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการยืนยันผลลัพธ์ให้แม่นยำมากขึ้นค่ะ
ทำไมความดันโลหิตสูงถึงอันตราย?
ความดันโลหิตที่สูงเกินไปจะสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่อง หลอดเลือดที่ต้องเผชิญกับแรงดันมากเกินไปเป็นเวลานานอาจเกิดการเสื่อมสภาพและสูญเสียความยืดหยุ่น ซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันหรือแตกของหลอดเลือด ผลลัพธ์ที่ตามมาจากความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้หลายอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: ความดันที่สูงทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น จนหัวใจอาจเสื่อมสภาพและนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดสมอง: ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงที่หลอดเลือดในสมองจะแตก ทำให้เกิดอัมพาตหรือภาวะสมองขาดเลือด
- โรคไต: ความดันที่สูงส่งผลให้ไตไม่สามารถกรองของเสียได้อย่างเต็มที่ ทำให้ไตเสียหายได้ในระยะยาว
- สร้างความเสียหายของหลอดเลือดในจอประสาทตา หรือที่เรียกว่าโรคจอประสาทตาเสื่อม: ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดเลือดออกในตา มองเห็นพร่ามัว และสูญเสียการมองเห็นอย่างสมบูรณ์
ทำไมการรู้ว่าคุณมีความดันโลหิตสูงจึงสำคัญ?
การตรวจพบความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญมาก ความดันโลหิตสูงมักถูกเรียกว่า “ฆาตกรเงียบ” เนื่องจากอาจไม่แสดงอาการใดๆ ความดันโลหิตสูงทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์ประเทศไทยว่า พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 25.4 หรือ ประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลวันที่ 17 พฤษภาคม 2567) เห็นได้ชัดว่าเป็นจำนวนที่สูงมากทีเดียว ความดันสูง เท่าไหร่อันตราย น่ากลัวกว่าที่คิด และเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลยทีเดียว
แนวทางการดูแลและป้องกันความดันโลหิตสูง
แม้ว่าความดันโลหิตสูงจะดูเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ยังมีวิธีป้องกันและดูแลสุขภาพที่สามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือสูง และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ รวมถึงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย มะเขือเทศ และถั่ว เพื่อช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายเช่น การเดินเร็ว วิ่ง หรือว่ายน้ำ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
- ลดความเครียด: ความเครียดสามารถส่งผลต่อความดันโลหิต ควรหาวิธีผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือกิจกรรมที่คุณชอบ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป: การเลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
- นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ: การพักผ่อนที่เพียงพอช่วยลดการอักเสบในร่างกาย และส่งผลดีต่อการควบคุมความดันโลหิต
ความดัน ขึ้น 200 ควร ทํา อย่างไร
ถามว่าความดันสูง เท่าไหร่อันตราย และความดันเมื่อความดันโลหิตขึ้นสูงถึง 200 mmHg ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายมาก ๆ และต้องรีบดำเนินการทันที เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ควรนั่งหรือนอนพักในที่สงบ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดความดันโลหิตที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ตรวจความดันซ้ำอีกครั้ง หากความดันโลหิตยังคงอยู่ที่ระดับ 200 mmHg ขึ้นไป หรือมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก ชาแขนขา หรือพูดไม่ชัด ควรเรียกรถพยาบาลหรือไปพบแพทย์ทันที เพราะภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะวิกฤติที่เรียกว่า Hypertensive Crisis ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
โรค ความ ดัน โลหิต สูง มี โอกาส หาย ไหม
โรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปถือว่าเป็นภาวะเรื้อรัง ซึ่งหมายความว่าไม่มี “การหายขาด” ในความหมายของการหายจากโรค แต่สามารถ ควบคุม ให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
สรุป
ความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับใครก็ได้ และหากไม่ใส่ใจดูแล อาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพร้ายแรง แต่ด้วยการตรวจเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หากคุณทราบว่า ความดันสูง เท่าไหร่อันตราย ก็จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันและควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองค่ะ
แหล่งที่มา
- High Blood Pressure–Understanding the Silent Killer | FDA
- Understanding Blood Pressure Readings | American Heart Association
- Is Low Blood Pressure Really Better Than High Blood Pressure? (samitivejhospitals.com)
- High blood pressure dangers: Hypertension’s effects on your body – Mayo Clinic
- What Is Considered High Blood Pressure? (healthline.com)
- thansettakij.com