ในปัจจุบันที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น “น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น” ได้กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ถูกพูดถึงในหมู่คนรักสุขภาพ ด้วยกระบวนการสกัดเย็นที่ช่วยคงคุณค่าทางโภชนาการไว้อย่างครบถ้วน น้ำมันชนิดนี้ไม่เพียงแต่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการปรุงอาหาร แต่ยังมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย
น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น สรรพคุณ 7 อย่าง ที่หลายคนยังไม่รู้
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปไขความลับของ น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น สรรพคุณ มากมายที่อุดมไปด้วยสารอาหารเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็นวิตามินอี โอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยบำรุงสุขภาพทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ ลองไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด
น้ำมันรำข้าวสกัดเย็นมีสารสำคัญอย่าง แกมมาออริซานอล (Gamma Oryzanol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระทรงพลัง ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารที่บริโภคเข้าไป ช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี (LDL) และเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) ทำให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานได้ดีขึ้น (5) (3)
2. ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
น้ำมันรำข้าว อุดมไปด้วย อุดมไปด้วยกรดโอเลอิก และโอรีซานอลส่งผลต่อการหลั่งน้ำดีและการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีออกจากอุจจาระ และมีผลการศึกษายืนยันว่าน้ำมันรำข้าวเมื่อบริโภคเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพจะมีประสิทธิผลในการปรับปรุงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (10)
3. ลดระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำหนัก
สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำข้าวช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกทั้งกรดไขมันในน้ำมันรำข้าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญพลังงาน และลดการสะสมของไขมันส่วนเกิน และจากการศึกษาพบว่า (2) การบริโภคน้ำมันรำข้าว ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารในผู้ชายที่มีสุขภาพดีได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหาร ผู้เข้าร่วม 13 คน จากทั้งหมด 19 คน มีระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างลดลงหลังจากบริโภคน้ำมันรำข้าว
4. ลดความดันโลหิต
น้ำมันรำข้าว สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต โดยจากการศึกษาวิจัยหนึ่งรายงานว่า การผสมน้ำมันรำข้าวร่วมกับน้ำมันงาดำ ช่วยส่งผลให้ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (9)
5. ต้านการอักเสบ
สารประกอบหลายชนิดในน้ำมันรำข้าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ สารประกอบชนิดหนึ่งคือโอรีซานอล ซึ่งพบว่าสามารถยับยั้งเอนไซม์หลายชนิดที่กระตุ้นการอักเสบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอรีซานอลอาจช่วยลดการอักเสบในหลอดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ น้ำมันรำข้าวสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจช่วยต่อสู้กับความเครียดจากออกซิเดชันได้ (4)
6. ช่วยปรับสมดุลการนอนหลับ
γ-Oryzanol เป็นส่วนผสมของเอสเทอร์เฟอรูเลตของสเตอรอลและแอลกอฮอล์ไตรเทอร์ปีน ที่มีอยู่ในข้าวกล้องและรำข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีความปลอดภัย โดยไม่พบรายงาน ผลข้างเคียงในสัตว์หรือมนุษย์ จึงเป็นส่วนประกอบทางเภสัชกรรมและใช้ในการรักษาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยหมดประจำเดือนในญี่ปุ่น นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าเป็นสารที่มีแนวโน้มดีในการรักษาอาการนอนไม่หลับได้ดีค่ะ (8)
7.ช่วยลดกลิ่นปากได้
นักวิจัยคาดเดาว่าสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากในน้ำมันรำข้าว เป็นตัวช่วยสำคัญในการลดกลิ่นปาก จากการศึกษาพบว่า น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น มีศักยภาพในการลดกลิ่นปากได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มักประสบปัญหาปากเหม็นได้ง่าย โดยจากการทดลองในหญิงตั้งครรภ์ 30 รายพบว่าการอมน้ำมันด้วยน้ำมันรำข้าวช่วยลดกลิ่นปากได้ (7),(9)
น้ำมันรำข้าวช่วยในการนอนหลับไหม
น้ำมันรำข้าวมีส่วนประกอบสำคัญคือ แกมมาโอริซานอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและบรรเทาอาการวิตกกังวล นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า แกมมาโอริซานอลมีแนวโน้มช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น (8)
น้ำมันรำข้าว กินตอนไหนดีที่สุด
การทานน้ำมันรำข้าวก่อนอาหารนั้นเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารจากอาหารมื้อหลักได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การทานน้ำมันรำข้าวควบคู่กับการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้อย่างยั่งยืนค่ะ
น้ำมันรำข้าวสกัดเย็นกับน้ำมันรำข้าวทั่วไป ต่างกันอย่างไร?
น้ำมันรำข้าวสกัดเย็น และน้ำมันรำข้าวทั่วไปแตกต่างกันที่วิธีการสกัดค่ะ น้ำมันรำข้าวสกัดเย็นจะใช้วิธีการสกัดที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้รักษาสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแกมมาโอริซานอลไว้ได้มากกว่านั่นเองค่ะ
ข้อควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันรำข้าว
เนื่องจากน้ำมันรำข้าวอาจลดความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อน นำน้ำมันรำข้าวมารับประทานนะคะ (9)
แหล่งอ้างอิง
4.การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันรำข้าวสกัดเย็นจากข้าวในประเทศไทย
9.น้ำมันรำข้าว ดีต่อสุขภาพคุณหรือไม่?