โรคเก๊าท์ไม่ใช่โรคของคนมีอายุเสมอไป ในปัจจุบันคนวัยทำงานที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ ทานอาหารนอกบ้านบ่อย ดื่มน้ำไม่พอ หรือชอบดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถมีความเสี่ยงได้เช่นกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายเริ่มมีสัญญาณของโรคเก๊าท์แล้ว?
5 สัญญาณของ เก๊าท์ อาการ ที่ควรรู้และวิธีดูแลเบื้องต้น
โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและมีความซับซ้อน โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเก๊าท์ อาการ ที่พบบ่อยคือ มีอาการปวด บวม แดง และรู้สึกเจ็บอย่างรุนแรงที่ข้อใดข้อหนึ่งแบบฉับพลัน ซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นหลัก ในบางครั้ง อาการของโรคเกาต์อาจกำเริบขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะในช่วงกลางดึก ในบทความนี้เราจะพาไปส่องอาการแบบละเอียด พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น ลองไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง
1. อาการปวดข้อที่มาแบบเฉียบพลัน
อาการปวดข้ออย่างรุนแรงโรคเกาต์มักเกิดขึ้นที่นิ้วหัวแม่เท้า แต่สามารถเกิดขึ้นที่ข้อใดก็ได้ ข้ออื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบมักได้แก่ ข้อเท้า เข่า ข้อศอก ข้อมือ และนิ้ว อาการปวดมักจะรุนแรงที่สุดภายใน 4 ถึง 12 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่มมีอาการ (1)
2.มีอาการปวดเรื้อรัง
เมื่ออาการปวดรุนแรงที่สุดทุเลาลง อาการปวดข้ออาจคงอยู่เป็นเวลาไม่กี่วันถึงไม่กี่สัปดาห์ อาการกำเริบในภายหลังอาจคงอยู่เป็นเวลานานขึ้นและส่งผลต่อข้อต่ออื่น ๆ และอาการอักเสบและมีรอยแดงข้อที่ได้รับผลกระทบจะบวม เจ็บ ร้อน และมีรอยแดง (1)
3. ความฝืดของข้อหลังตื่นนอนหรือเวลานั่งนาน ๆ
แม้ว่าอาการปวดอาจหายไปในระยะเวลาสั้น ๆ แต่หลังจากนั้นหลายคนจะเริ่มรู้สึกถึงความฝืดของข้อต่อ รู้สึกเหมือนขยับข้อได้ไม่เต็มที่ หรือข้อตึงเวลาเปลี่ยนท่าทาง (1)
4. มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
อาการเกาต์ที่เจ็บปวดจะเกิดขึ้นเมื่อผลึกกรดยูริกสะสมในข้อและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ผลึกเล็กๆ เหล่านี้จะก่อตัวขึ้นเมื่อมีกรดยูริกหรือยูเรตในร่างกายมากเกินไป ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าภาวะกรดยูริก ในเลือดสูง อุณหภูมิร่างกายจะลดลงเล็กน้อยในระหว่างการนอนหลับ และการลดลงของอุณหภูมินี้จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างผลึกกรดยูริกในข้อนั่นเอง (3)
5. ปวดบริเวณหลังหรือสะบัก
แม้โดยทั่วไป โรคเกาต์มักแสดงอาการที่ข้อเท้า หรือข้อนิ้วเท้า แต่ในบางราย ผลึกกรดยูริก ซึ่งเป็นตัวการของอาการอักเสบ อาจไปสะสมที่บริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังหรือรอบ ๆ สะบักได้เช่นกัน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการ ปวดหลังส่วนล่างอย่างเฉียบพลัน ได้ จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่กระดูกสันหลังจำนวน 131 ราย พบว่า เกือบ 70% มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสะสมของผลึกยูเรต เช่น ข้อต่อระหว่างซี่โครงและกระดูกสันหลัง หรือรอบ ๆ สะบัก (4)
วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น หากเริ่มมีสัญญาณของเก๊าท์
การดูแลตัวเองในระยะเริ่มต้นของโรคเก๊าท์ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิดค่ะ หัวใจสำคัญคือ “ลดกรดยูริกในร่างกาย” และป้องกันการเกิดอักเสบซ้ำ ๆ ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ด้วยวิธีเล็ก ๆ ที่ทำได้ทุกวัน (1) เช่น
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 8–10 แก้ว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกได้ดีขึ้น
- ลดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ซุปกระดูก น้ำต้มเนื้อเข้มข้น ปลาซาร์ดีน หรือแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปเพิ่มระดับกรดยูริกในเลือด
- ดูแลน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพราะน้ำหนักเกินสัมพันธ์กับความเสี่ยงของระดับกรดยูริกสูงและการอักเสบในร่างกาย
- พักข้อขณะที่มีอาการอักเสบ หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อที่ปวด และประคบเย็นในช่วง 24–48 ชั่วโมงแรกเพื่อลดอาการบวม
- เข้ารับการตรวจเลือดเป็นระยะ โดยเฉพาะหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเก๊าท์ จะช่วยให้สามารถวางแผนดูแลสุขภาพได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
อะไรคือสาเหตุของโรคเก๊าท์
โรคเกาต์ เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคข้ออักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม และแดงตามข้อต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุหลักมาจากการที่กรดยูริกสะสมมากเกินไปในร่างกาย จนเกิดการตกผลึกตามข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้เกิดการอักเสบตามมาค่ะ (2)
ปวดเก๊าท์ ประคบร้อนหรือเย็น
ประคบเย็นค่ะ เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบจากโรคเกาต์ได้ดี คือ การประคบเย็น เพราะความเย็นจะช่วยลดการไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณที่อักเสบ ทำให้อาการบวมน้อยลง และช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น อย่างไรก็ตาม การประคบเย็นควรทำอย่างเหมาะสม โดย
ไม่ควรประคบนานเกิน 20 นาทีต่อครั้ง ควรสลับกับการพักอย่างน้อย 20 นาที ก่อนจะประคบซ้ำ
ที่สำคัญ ควรมี ผ้าขนหนูหรือผ้าบาง ๆ รองระหว่างถุงเย็นกับผิวหนัง เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิวจากความเย็นจัด (5)
เก๊าท์ กินไก่ได้ไหม
ไก่เป็นแหล่งโปรตีนไขมันต่ำที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็มีสารพิวรีน ซึ่งอาจเพิ่มระดับกรดยูริกในเลือดและกระตุ้นโรคเกาต์ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคเกาต์อยู่แล้ว ดังนั้น คนเป็นเกาต์ สามารถกินไก่ได้ แต่ควรเลือกส่วนที่มีพิวรีนต่ำ-ปานกลาง และไม่กินมากเกินไป (6)
- ตับไก่ เป็นส่วนที่มีพิวรีนสูงที่สุด ควร หลีกเลี่ยง
- สะโพกไก่ มีพิวรีนน้อยที่สุด จึง สามารถรับประทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ
- ส่วน อกไก่ ปีก และขา มีพิวรีนในระดับปานกลาง จึง สามารถรับประทานได้แต่ควรจำกัดปริมาณ และเลือกวิธีปรุงที่ไม่เพิ่มไขมัน เช่น ต้ม นึ่ง อบ
สรุป
เก๊าท์ อาการ อาจจะดูไม่อันตรายและดูเหมือนโรคที่ไกลตัว แต่หากเรารู้จักสังเกตตัวเอง รับฟังสัญญาณเล็ก ๆ ที่ร่างกายส่งมา ก็จะสามารถรับมือกับมันได้ก่อนที่จะสายไป การดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องยาก หากเริ่มจากความเข้าใจ และใส่ใจตัวเองในทุก ๆ วัน
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
3.arthritis-health: โรคเกาต์มักกำเริบในเวลากลางคืน
4.archivesofmedicalscience: โรคเกาต์ในบริเวณรอบสะบักแสดงอาการเป็นอาการปวดหลังส่วนล่างแบบผิดปกติ
5.Arthritis Society Canada: การรักษาโรคเกาต์
6.verywellhealth: ไก่กับโรคเกาต์ ควรกินเท่าไหร่และเคล็ดลับในการทำอาหาร