เปิดคำตอบ น้ำมันรำข้าว ดีไหม 7 ข้อน่ารู้ ฉบับเข้าใจง่าย

เปิดคำตอบ น้ำมันรำข้าว ดีไหม ? 7 ข้อน่ารู้ ฉบับเข้าใจง่าย

น้ำมันรำข้าวสกัดได้จากรำข้าวซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพสำหรับการประกอบอาหาร หรือกินเพื่อบำรุงร่างกาย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่ดีต่อร่างกาย  น้ำมันรำข้าวคืออะไร? ได้มาจากส่วนไหนของข้าว? น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil) ได้มาจาก “รำข้าว” และ “จมูกข้าว” ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว มีปริมาณไม่มาก แต่กลับอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างวิตามิน E, สารต้านอนุมูลอิสระ และกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีต่อร่างกาย

 

เปิดคำตอบ น้ำมันรำข้าว ดีไหม ? 7 ข้อน่ารู้ ฉบับเข้าใจง่าย

ในยุคที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น “น้ำมันรำข้าว” ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สายสุขภาพเริ่มหันมากินกันมากขึ้น แต่บางคนยังสงสัยว่า น้ำมันรำข้าว ดีไหม เพราะยังไม่รู้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของเจ้าตัวนี้ดี ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงรวบรวมคำตอบสำหรับผู้รักสุขภาพมาฝากกันค่ะ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันเลยค่ะ โดยคนนิยมน้ำมันรำข้าวสำหรับทอด แต่สำหรับใครที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว การกินแบบเม็ดซอฟเจลก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีค่ะ

 

ประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวที่น่าสนใจ

1.ช่วยเรื่องสุขภาพช่องปาก

น้ำมันรำข้าวอาจช่วยให้ลมหายใจของคุณดีขึ้นได้ เมื่อนำไปใช้ทำ “Oil Pulling” (หรือที่เรียกว่า การอมกลั้วปากด้วยน้ำมันนั่นเอง) แม้ว่าแต่ก่อนจะนิยมใช้น้ำมันงาในการทำ Oil Pulling แต่งานวิจัยหรือการศึกษาพบว่า น้ำมันรำข้าวก็มีประสิทธิภาพในการช่วยลดปัญหากลิ่นปาก (Halitosis) ได้เช่นกันค่ะ (2)

 

2. ช่วยลดความดันโลหิต

น้ำมันรำข้าวมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยเสริมการทำงานของยา การศึกษาหนึ่งพบว่า การใช้น้ำมันรำข้าวผสมกับน้ำมันงาดำ สามารถช่วยลดทั้งความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลลงได้อย่างชัดเจน (1)

 

3.ช่วยลดคอเลสเตอรอล

น้ำมันรำข้าวเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด การเลือกใช้น้ำมันรำข้าวแทนไขมันอื่นๆ ในมื้ออาหาร มีงานวิจัยหลายฉบับที่ยืนยันว่าสามารถลดคอเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากปริมาณวิตามินอีที่มีความเข้มข้นสูงในน้ำมันรำข้าวนั่นเองค่ะ  (1)

 

4.ลดการอักเสบ

ในน้ำมันรำข้าวมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แกมมา-โอไรซานอล และกรดเฟอรูลิก ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านการอักเสบ งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า สารประกอบในน้ำมันรำข้าวช่วยลดการอักเสบได้ โดยไปปรับการทำงานของเซลล์และลดระดับสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายลง (3)

 

5.บรรเทาอาการภูมิแพ้

น้ำมันรำข้าวยังช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้ด้วยนะคะ เพราะมีสารสำคัญอย่าง แกมมา-โอไรซานอล ที่พบว่ามีส่วนช่วยยับยั้งกลไกสำคัญๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ความรุนแรงของอาการแพ้ต่างๆ เช่น อาการทางผิวหนังลดน้อยลงได้ (3)

 

6.ตัวช่วยในการจัดการน้ำตาลในเลือด

นอกเหนือจากประโยชน์เรื่องการลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตแล้ว น้ำมันรำข้าวยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยนะคะ เพราะมีส่วนช่วยในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ค่ะ มีการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ พบว่าการใช้ น้ำมันรำข้าว 80% ผสมกับน้ำมันงา 20% ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ช่วยให้ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังทานอาหารลดลงอย่างชัดเจน เลยทีเดียว (1)

 

7. การดูแลสุขภาพตับ

ในส่วนของสุขภาพตับ น้ำมันรำข้าวมีสารสำคัญตามธรรมชาติ เช่น แกมมา-โอไรซานอล และกรดเฟอรูลิก ซึ่งสารเหล่านี้ได้รับการยืนยันจากการศึกษาว่ามีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ตับได้ โดยเฉพาะความเสียหายที่อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่อง เนื่องจากมีส่วนช่วยปรับสมดุลและเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องตับค่ะ (3)

 

ใครไม่ควรทานน้ำมันรำข้าว

เนื่องจากน้ำมันรำข้าวอาจลดความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำน้ำมันรำข้าวมารับประทาน  (1)

 

น้ํามันรําข้าว ทอดได้ไหม

น้ำมันรำข้าวสามารถใช้ทอดได้ค่ะ เพราะเป็นน้ำมันที่มี “จุดควันสูง” หรือที่เรียกว่า Smoke Point ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิที่น้ำมันเริ่มไหม้และปล่อยควันออกมา จุดควันของน้ำมันรำข้าวค่อนข้างสูงกว่าน้ำมันพืชทั่วไป จึงเหมาะสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เช่น การทอดหรือผัด  (1)

*จุดเกิดควัน (Smoke Point)เป็นตัวใช้วัดระดับการทนต่อความร้อนของน้ำมันนั่นเอง

 

อ่านบทความที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: น้ำมันรำข้าว 

แหล่งอ้างอิง

1.webmd: น้ำมันรำข้าว ดีต่อสุขภาพคุณหรือไม่?

2.National Library of Medicine: ผลของการใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา และการบ้วนปากด้วยคลอเฮกซิดีนต่อกลิ่นปากในสตรีมีครรภ์

3.ScienceDirect: น้ำมันรำข้าว แนวโน้มใหม่ในการสกัด ประโยชน์ต่อสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆ