โอเมก้า 3 กินตอนไหน คำตอบที่คนรักสุขภาพต้องรู้

โอเมก้า 3 กินตอนไหน ? คำตอบที่คนรักสุขภาพต้องรู้

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องได้รับจากการกินอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น โดยโอเมก้า 3 มีหลายรูปแบบ เช่น EPA, DHA และ ALA ซึ่งพบได้ในอาหาร เช่น ปลาทะเลน้ำลึก (แซลมอน ทูน่า) เมล็ดพืช (เช่น เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท) และน้ำมันปลา

 

โอเมก้า 3 กินตอนไหน ? คำตอบที่คนรักสุขภาพต้องรู้

โอเมก้า 3 เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่หลายคนคุ้นเคย เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน และคำถาม คือ โอเมก้า 3 กินตอนไหน ดี คำตอบ คือ เวลาไหนก็ได้ แต่ควรทานโอเมก้า 3 พร้อมอาหารที่มีไขมัน ดังนั้น หากใครไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันมากในตอนเช้า แนะนำให้ทานในมื้อกลางวันหรือมื้อเย็นแทนค่ะ โดยจากการทบทวนในปี 2019 พบว่าการรับประทานสารสกัดเข้มข้นของโอเมก้า 3 ร่วมกับอาหารที่มีไขมันจะเพิ่มการดูดซึม ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น(1) นอกจากนี้ การทบทวนการศึกษาในปี 2015 พบว่าการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำจะลดการดูดซึม (2)

 

ประโยชน์ของ Omega 3 

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ต้องได้รับจากการกินอาหารหรืออาหารเสริมเท่านั้น โดยโอเมก้า 3 มีหลายรูปแบบ เช่น EPA, DHA และ ALA ซึ่งพบได้ในอาหาร เช่น ปลาทะเลน้ำลึก (แซลมอน ทูน่า) เมล็ดพืช (เช่น เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท) และน้ำมันปลา (4) รวมถึงยังประโยชน์ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น

 

1.ลดปัญหาทางสุขภาพจิต

สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ บางงานวิจัยพบว่าการได้รับโอเมก้า 3 อาจช่วยบรรเทาอาการได้ (6)

 

2.ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ

ในบางการศึกษา พบว่าระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ต่ำนั้นสัมพันธ์กับปัญหาการนอนหลับในเด็กและภาวะหยุดหายใจขณะหลับขณะนอนหลับในผู้ใหญ่ การศึกษาในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ยังชี้ให้เห็นว่าการเสริมด้วยโอเมก้า-3 อาจช่วยปรับปรุงด้านต่างๆ ของการนอนหลับและอาจช่วยป้องกันการนอนหลับผิดปกติได้ (7)

 

3.ช่วยให้สุขภาพผิวดีขึ้น

DHA เป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ผิวหนังที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วน EPA มีบทบาทในการให้ความชุ่มชื้น ป้องกันการเกิดตุ่มแดงบนต้นแขน ชะลอริ้วรอย ลดความเสี่ยงของสิว และอาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด (แต่ยังไม่สามารถใช้แทนครีมกันแดดได้) (8)

 

4.ส่งเสริมสุขภาพดวงตา

กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า DHA เป็นส่วนประกอบโครงสร้างหลักของจอประสาทตา ซึ่งช่วยป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา ซึ่งอาจลดปัญหาโอกาสในการเกิดโรคทางสายได้ในอนาคตได้  (5)

 

กินโอเมก้า 3ทุกวันดีไหม ปริมาณที่ควรทาน

AHA ระบุว่าการรับประทานน้ำมันปลาในรูปแบบอาหารเสริมไม่เกิน 3 กรัมต่อวันถือว่าปลอดภัย อย่ารับประทานเกินกว่านี้ เว้นแต่จะปรึกษากับแพทย์ก่อน (9)

 

โอเมก้า 3 ไม่ควรกินคู่กับอะไร

1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 ร่วมกับอาหารที่มีไฟเบอร์สูง 

เนื่องจากไฟเบอร์อาจทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้ยากขึ้น โดยไปจับกับ Omega 3 หรือทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้น้อย (3)

 

2.ไม่ควรกินโอเมก้า 3 ในขณะที่ท้องว่าง 

เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือไม่สบายท้องได้

 

แหล่งอ้างอิง

1.กลยุทธ์ในการปรับปรุงการดูดซึมของกรดไขมันโอเมก้า 3 จากสารเข้มข้นเอทิลเอสเทอร์| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

2.กรดไขมันโอเมก้า 3 ในโรคหัวใจและหลอดเลือด – การต่อสู้ที่ยากลำบาก| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

3.เคล็ดลับในการเพิ่มการดูดซึมของอาหารเสริมโอเมก้า 3

4.กรดไขมันโอเมก้า-3

5.กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

6.กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ในโรคไบโพลาร์| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

7.กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาวโอเมก้า-3 และการนอนหลับ: การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและการศึกษาในระยะยาว| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

8.กรดไขมันโอเมก้า 3 กับโรคผิวหนัง| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

9.อาหารเสริมน้ำมันปลาโอเมก้า 3 สำหรับโรคหัวใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content