เทคนิค 5 วิธีกินกระเทียมสด ลดไขมัน แบบง่ายแต่เริ่ดชัวร์

เทคนิค 5 วิธีกินกระเทียมสด ลดไขมัน แบบง่ายแต่เริ่ดชัวร์

กระเทียมสด (Garlic) เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่ได้รับการยอมรับทั้งในแง่ของรสชาติและสรรพคุณทางสุขภาพ โดยเฉพาะในการช่วยลดระดับไขมันในเลือด การรับประทานกระเทียมสดในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับร่างกายของเราได้ 

เทคนิค 5 วิธีกินกระเทียมสด ลดไขมัน แบบง่ายแต่เริ่ดชัวร์

กระเทียม จิ๋วแต่แจ๋ว อุดมไปด้วยสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายของเรา ในบทความนี้เรานำเอาเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆเกี่ยวกับ วิธีกินกระเทียมสด ลดไขมันมัน มาฝากค่ะ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยกินกระเทียมกันเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้น เพียงแค่เพิ่มทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะได้ประโยชน์จากกระเทียมไปได้อย่างเต็มที่ ลองไปดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง รับรองว่าทำได้ไม่ยากแน่นอน

 

1. รับประทานกระเทียมสดตอนเช้า 

การรับประทานกระเทียมสด 1-2 กลีบในช่วงเช้า ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและการไหลเวียนโลหิต อีกทั้งยังช่วยลดไขมันชนิด LDL ซึ่งเป็นไขมันที่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือด เคล็ดลับคือให้บดหรือหั่นกระเทียมก่อนรับประทาน เพื่อให้เอนไซม์อัลลิเนส (Alliinase) ทำงานและผลิตสารสำคัญอย่างอัลลิซิน (Allicin) ที่ช่วยลดไขมัน จากการศึกษาหนึ่งในผู้ใหญ่กว่า 24,000 คน พบว่าผู้ชายที่บริโภคกระเทียมดิบมากกว่า 7 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงในการพัฒนาโรคไขมันพอกตับลดลงถึง 29% (4)

 

2. ทำกระเทียมสดผสมน้ำผึ้ง

บดกระเทียมสดประมาณ 3-5 กลีบ และผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ 5-10 นาที ก่อนรับประทานเป็นประจำ น้ำผึ้งจะช่วยปรับรสชาติให้ทานง่ายขึ้น และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ และเนื่องจากการกินกระเทียมดิบอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนในกระเพาะอาหาร แต่การผสมกับน้ำผึ้งจะไม่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แถมตัวน้ำผึ้งและกระเทียมยังช่วยในการรักษาการติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย (3)

 

3. ใส่กระเทียมสดในเมนูสลัด

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกทานกระเทียมสดเพียวๆ สามารถหั่นหรือสับกระเทียมสดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ในสลัดผักสด พร้อมน้ำมันมะกอก กระเทียมจะช่วยเสริมรสชาติและเพิ่มคุณประโยชน์ด้านการลดไขมัน

 

4. ทำน้ำกระเทียมผสมมะนาวเพื่อสุขภาพ

มีผลการศึกษาพบว่า รับประทานกระเทียม 20 กรัมและน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาเป็นไปในเชิงบวก และระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตก็ลดลง (2)

 

5.กินคู่กับโยเกิร์ต

แม้อาจจะฟังดูแปลก ๆ แต่โยเกิร์ตธรรมดา ๆ ที่ทำจากนมสดช่วยลดกลิ่นฉุนของกระเทียมดิบได้ 99% (5) และผสมกระเทียมสดในโยเกิร์ตอาจช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบย่อยอาหารและภูมิคุ้มกัน โดยยังคงได้รับประโยชน์จากทั้งโปรไบโอติกและสารต้านอนุมูลอิสระ ได้ทั้งประโยชน์และหมดกังวลเรื่องกลิ่นปาก เริ่ดเกินคุณน้า

(ควรรับประทานทันทีหลังกินกระเทียม) 

 

กินกระเทียมมีกลิ่นตัวจริงมั้ย?

มีผลการศึกษาค่ะ ว่าผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งของการกินกระเทียมคือ น้ำมันจะแพร่กระจายผ่านเนื้อเยื่อปอดและยังคงอยู่ในร่างกายนานหลังจากกินเข้าไปซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อลมหายใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อกลิ่นผิวหนังด้วย (8) หากใครที่เมื่อออกนอกบ้านแล้วต้องไปรับประทานอาหารที่มีกระเทียม เรามีวิธีแก้กลิ่นกระเทียมติดปากมาฝากเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่: บอกลาปัญหา กลิ่นกระเทียมติดปาก ด้วย 9 วิธีง่าย ๆ ที่ต้องลอง หากมีข้อสงสัยว่ากินแบบสุก ๆ ได้มั้ย จริง ๆ แล้วก็สามารถรับประทานได้เช่นกันแค่ เพียงแต่การรับประทานกระเทียมแบบปรุงสุกสารอัลลิซินอาจจะลดน้อยลงได้ หรือหากรับประทานหลังโยเกิร์ตหลายคนอาจจะกังวลเรื่องของรสชาติ ดังนั้น อีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจขอแนะนำให้กินในรูปแบบของน้ำมันกระเทียมสกัดเย็น ที่ยังคงสารอาหารสำคัญไว้ครบถ้วน แถมไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นด้วยนั่นเอง

 

โรคที่ห้ามกินกระเทียม

ผู้ที่มีอาการของโรคกระเพาะควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานกระเทียมเนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์กระตุ้นให้หลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคกระเพาะ เช่น ปวดท้อง แน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย แย่ลงได้ ทั้งนี้ยังนวมไปถึงผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวนก็เช่นกัน (1) หากใช้ยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานกระเทียมสด

 

กระเทียม สรรพคุณ เพศหญิง

กระเทียม มีประโยชน์ที่อาจจะช่วยป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อ เช่น เชื้อราในช่องคลอดและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการอักเสบที่อาจช่วยลดการอักเสบในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงที่มีโรคอักเสบในอุ้งเชิงกรานหรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนี้ การศึกษาบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่ากระเทียมอาจช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับเอสโตรเจน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงที่มีภาวะที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (6)

 

กระเทียม1กลีบ กี่แคล

กระเทียม 1 กลีบ (3 กรัม) นั้นมีแคลอรี่ต่ำมาก โดยเฉลี่ยแล้วจะมีเพียงประมาณ 4.5 กิโลแคลอรี่เท่านั้น ดังนั้น คุณสามารถรับประทานกระเทียมได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักเพิ่มขึ้นเลยค่ะ (7)

 

กระเทียมลดไขมันในเลือดจริงไหม

กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย และหนึ่งในนั้นคือการช่วยลดไขมันในเลือด งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสารสำคัญในกระเทียมอย่างอัลลิซิน มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ กระเทียมยังช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและลดความดันโลหิตอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานกระเทียมเป็นประจำจึงเป็นวิธีธรรมชาติที่ช่วยดูแลสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

สรุป

การรับประทานกระเทียมสดในชีวิตประจำวันด้วยเทคนิคง่ายๆ เหล่านี้ สามารถช่วยลดไขมันในเลือดและเสริมสร้างสุขภาพหัวใจได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่สมดุล เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ 

 

แหล่งอ้างอิง

1.กระเทียมดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

2.ผลของการผสมกระเทียมและน้ำมะนาวต่อระดับไขมันในเลือดและปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจบางประการในผู้ที่มีอายุ 30-60 ปีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงปานกลาง| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

3.วิธีการกินกระเทียมในตอนเช้าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

4.ผลการรักษาของกระเทียมต่อภาวะไขมันเกาะตับในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้มาจากแอลกอฮอล์:| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

5.โยเกิร์ตอาจเป็นวิธีแก้ไขปัญหากลิ่นปากจากกระเทียมต่อไป

6.ผลการบำบัดของกระเทียม ( Allium sativum ) ต่อระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

7.กระเทียมดิบ

8.ข้อเท็จจริงที่น่ากังวลเกี่ยวกับกระเทียม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content