Probiotic ช่วยอะไรบ้าง เผยความลับสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดี

Probiotic ช่วยอะไรบ้าง เผยความลับสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดี

การมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่ใช่เพียงการดูแลร่างกายภายนอก แต่ยังรวมถึงการดูแลระบบภายในที่สำคัญอย่างระบบย่อยอาหารด้วย ตัวช่วยสำคัญสำหรับร่างกายเลยก็คือ โพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เมื่อลำไส้ของเรามีความสมดุล จุลินทรีย์เหล่านี้จะเจริญเติบโตและช่วยสร้างสมดุลในระบบย่อยอาหาร การเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยต่อต้านเชื้อโรคและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่างๆ ในร่างกาย

Probiotic ช่วยอะไรบ้าง เผยความลับสำคัญเพื่อสุขภาพที่ดี

สำหรับหนึ่งในตัวช่วยที่เป็นที่นิยมและได้รับความสนใจในปัจจุบันคือ  Probiotic ช่วยอะไรบ้าง เป็นหนึ่งในคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย  วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า โพรไบโอติกคืออะไร และมีประโยชน์อะไรบ้างที่ทำให้เราควรหันมาสนใจเจ้าโพรไบโอติกนี้มากขึ้น ลองไปดูกันเลยค่ะ 

 

1.เสริมสร้างสมดุลในลำไส้

โปรไบโอติกช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการย่อยอาหารและการขับถ่าย การมีสมดุลที่ดีนี้ช่วยป้องกันอาการท้องเสีย ท้องผูก และลดปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของลำไส้ที่เกิดขึ้นจากความเครียดหรืออายุที่มากขึ้น การทานโปรไบโอติกจึงมีประโยชน์ในเรื่องการย่อยอาหารที่ดีขึ้นและสุขภาพทางเดินอาหารที่แข็งแรง (2)

 

2.เสริมระบบภูมิคุ้มกัน

ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต้านทานเชื้อโรคและการติดเชื้อต่าง ๆ ในลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันเชื้อโรคที่อาจเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ โปรไบโอติกยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว ให้มีการตอบสนองที่ดียิ่งขึ้น ทำให้สุขภาพโดยรวมแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดี (7) (8)

 

3.ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร


ตัวช่วยสำคัญในการย่อยและดูดซึมสารอาหารสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายสามารถรับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ช่วยสลายและรีไซเคิลน้ำดีหลังการย่อยอาหารอีกด้วยค่ะ  (8)

 

4.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

จากการศึกษามีการนำโปรไบโอติกเข้ามาใช้สามารถสร้างสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ผิดปกติในผู้ป่วย IBD และเสริมสร้างการป้องกันต่างๆ ของลำไส้ได้ โดย probiotic  สามารถช่วยการยับยั้งการเติบโตของเชื้อก่อโรค ลดอาการอักเสบในลำไส้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น การเสริมโปรไบโอติกในชีวิตประจำวันสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องเสีย และความไม่สบายในช่องท้องที่เกิดจากการอักเสบ (9)

 

5.ปรับสมดุลในระดับจิตใจ


มีการค้นพบว่า probiotic มีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาท โดยช่วยส่งเสริมการผลิตสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข ดังนั้น การบริโภค probiotic อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ (3)(4)

 

6.ดูแลสุขภาพหัวใจ

โพรไบโอติกบางชนิดมีบทบาทสำคัญในการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงการควบคุมความดันโลหิต ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับประทานโปรไบโอติกเป็นประจำจึงช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดีขึ้น (5)

 

7.ลดอาการแพ้และภูมิแพ้

probiotic ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ร่างกายมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นน้อยลง จึงลดอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น อาการคัน ผื่นแดง และอาการแพ้อากาศ นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้ ทำให้ผิวหนังและทางเดินหายใจแข็งแรงยิ่งขึ้น (6)

 

8.ตัวช่วยสำหรับผิวสวย

การมีจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ช่วยปรับสมดุลของร่างกายทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้ผิวพรรณมีความสดใส เปล่งปลั่ง ลดปัญหาผิวหนัง เช่น สิวและผิวหนังอักเสบ เนื่องจากการอักเสบจากภายในร่างกายลดลง จากการศึกษาล่าสุดยังพบว่าเจ้าตัว probiotic ยังสามารถช่วยป้องกันริ้วรอยก่อนวัยและช่วยดูแลผิวเสียหายจากแสงแดดได้อีกด้วยค่ะ (10)

 

โปรไบโอติก กินทุกวันได้ไหม 

การทานโปรไบโอติกเป็นประจำทุกวันเป็นเรื่องที่ทำได้และหลายคนนิยมทำกันค่ะ เนื่องจากโปรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อระบบย่อยอาหาร ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพโดยรวมของร่างกาย การทานโปรไบโอติกอย่างสม่ำเสมอจึงอาจช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้

 

โพรไบโอติก ช่วยอะไร ผู้หญิง

 

การทานโปรไบโอติกเป็นประจำสามารถช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ดีในร่างกาย ช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง โปรไบโอติกมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพในหลายๆ ด้าน เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ลดสิว ทั้งยังมีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพในช่วงมีประจำเดือนด้วยนะคะ

 

probiotic มีผลต่อสุขภาพจิตด้วยหรือไม่

 การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้จึงส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ โดยโปรไบโอติกจะช่วยลดการอักเสบในร่างกาย เพิ่มสารสื่อประสาทที่ช่วยให้เรารู้สึกดี และลดความเครียดได้ ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีขึ้น และมีสมาธิมากขึ้นค่ะ(โปรไบโอติกไม่ใช่ยา ไม่สามารถรักษาโรคได้ทั้งหมด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหากมีข้อสงสัยหรือมีโรคประจำตัวค่ะ

 

probiotic สามารถช่วยเรื่องปัญหาผมร่วงได้จริงหรือ

คำตอบ คือ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนและเพียงพอที่จะยืนยันผลลัพธ์เกี่ยวกับการรักษาผมร่วงจาก Probiotic ค่ะ แต่มีงานวิจัยพบว่าสามารถ ช่วยทำให้หนังศีรษะมีสุขภาพดีขึ้นและลดอาการรังแค เนื่องจาก Probiotic สามารถช่วยเพิ่มการผลิตเซราไมด์ ซึ่งเป็นไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลความชื้นของหนังศีรษะบนผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันความแห้ง ลอกเป็นขุย และอาการคันที่เกี่ยวข้องกับรังแคได้ค่ะ (11)

 

สรุป

โพรไบโอติกไม่เพียงแต่เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในด้านการย่อยอาหาร แต่ยังมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเสริมสร้างสุขภาพจิตและผิวพรรณ การหมั่นเติมโพรไบโอติกในชีวิตประจำวันจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีจากภายในสู่ภายนอก 

 

แหล่งอ้างอิง

1.ประโยชน์ต่อสุขภาพของโปรไบโอติก| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

2.ผลของโปรไบโอติก พรีไบโอติก และซินไบโอติกต่อสุขภาพของมนุษย์ | ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

3.ผลของโปรไบโอติกต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางในสัตว์และมนุษย์| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

4.health.com

5.ประโยชน์ของโปรไบโอติกต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

6.โปรไบโอติกส์เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้สำหรับการป้องกันและรักษาอาการแพ้| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

7.กลไกการออกฤทธิ์ของโปรไบโอติกต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันและผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

8.my.clevelandclinic.org

9.โปรไบโอติกส์และโรคลำไส้อักเสบ| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

10.ผลของโปรไบโอติกต่อการควบคุมภูมิคุ้มกัน สิว และการแก่ก่อนวัยจากแสงแดด| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

11.ประสิทธิภาพของโปรไบโอติกในการควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นผมและรังแค| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content