ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรือทางการแพทย์เรียกว่า Work-related Musculoskeletal Disorders (WMSDs) คืออาการปวดกล้ามเนื้อ จากการใช้งานกล้ามเนื้อจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา เป็นเวลานานๆ และใช้งานอย่างนั้นต่อเนื่องหลายๆวัน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ มักจะพบในคนที่ทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอนานๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทาง จนทำให้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อและเป็นออฟฟิศซินโดมในที่สุด
ออฟฟิศซินโดรม ไม่ควรกินอะไร
จากบทความก่อนเราได้เอ่ยถึงไปแล้วว่าการเป็ยออฟฟิศซินโดรมควรกินอะไรบ้าง มาบทความนี้ทีมงานโปรทรว่าจะมาแนะนำเพิ่มเติมว่าออฟฟิศซินโดรม ไม่ควรกินอะไร เพราะว่าอาหารต่อไปนี้จะยิ่งกระตุ่นให้อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นบ่อยขึ้นกว่าเดิม และถ้ายังมีอาการอยู่และยังกินอาหารเหล่านี้ และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมอยู่ อาการก็จะวนเวียนกลับมาหา เหมือนวิญญาณที่วนเวียนอยู่รอบตัวเราเลยแหละ (ทีมงานก็รู้สึกเหมือนมีอะไรขี่คอแล้ว เกิด แก่ ปวดหลัง ) เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปมากกว่านี้ ไปดูกันเลยดีกว่า
1.อาหารที่มีน้ำตาลสูง
อาหารที่มีน้ำตาลสูงเมื่อกินมากเกินไปมักจะขัดขวางการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะเผาผลาญพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาหารที่มีน้ำตาลมสูงมักจะมีแคลลอรีที่สูงอีกด้วย เมื่อกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงบ่อยๆก็จะยิ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น การที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้นจะยิ่งทำให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อโดนกดทับ ยิ่งปวดเมื่อยได้ง่ายขึ้นไปอี๊ก และที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อคุณกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงบ่อยๆ จะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงยิ่งขึ้น ทำให้การหลั่งอินซูลินมากยิ่งขึ้น และอินซูลินจะไปกระตุ้นการหลั่งสารอดรีนาลีน และสารอะดรีนาลีนจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดแลคติก ทำให้กล้ามเนื้อยิ่งอ่อนล้าและเมื่อยง่ายเข้าไปอี๊ก แถมอาหารที่น้ำตาลสูงยังทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานได้อีกด้วย
โน๊ต : องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าผู้ใหญ่ทั่วไปไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ประมาณ 24 กรัม)
อาหารที่มีน้ำตาลสูง มีอะไรบ้าง?
- เค้ก
- คุกกี้
- น้ำอัดลม
- น้ำผลไม้
- ขนมขบเคี้ยว
- อาหารทอด
- อาหารสำเร็จรูป
- อาหารกระป๋อง
2.อาหารที่มีไขมันสูง
ทีมงานโปรทริว่าขอบอกก่อนว่าไขมันมี 2 ชนิดหลักๆที่เราๆควรรู้ไว้ 1.ไขมันเลว(LDL) 2.ไขมันดี (HDL) ไขมันเลวนั้นตามชื่อเลยว่า ไม่ดีต่อสุขภาพแน่ๆ ส่วนไขมันดี ก็ดีสมชื่อ เพราะว่าไขมันดี เมื่อกินเข้าไปไขมันดีจะทำหน้าที่เหมือนตำรวจ ไปจับผู้ร้ายอย่างไขมันเลวไปทำลายที่ตับ และขับออกทางน้ำดี (อยากรู้เรื่องไขมันเพิ่มเติมงั้นเหรอ ตามลิงค์นี้ไปสิ ทีมงานเราได้เอาเรื่องไขมันทั้งหมดไปไว้ที่ตรงนั้นแล้ว Tag ไขมัน ไขมันน่ะ มีอยู่จริง ง ง ง)
นอกเรื่องพอแล้วกลับมาต่อกันที่ออฟฟิศซินโดรม ไม่ควรกินอะไรต่อ หลายๆคนอาจจะรู้แล้วว่าไขมันเลว (LDL) นั้นไม่ดีต่อสุขภาพมากๆ เพราะว่าไขมันทำให้อ้วนและเสียสุขภาพ จากข้อมูลของ WHO พบว่า อาการอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีตอันดับ 1 ของโลก และปัญหาทั้ง 2 อย่างนี้ก็มักจะเกิดจากการที่มีไขมันเลว (LDL) ในร่างกายมากเกินไปนั่นเอง
อาหารที่มีไขมันสูงทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมได้ยังไงนั้นเหรอ เพราะว่าอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทำให้เสี่ยงที่จะเป็นเส้นประสาทกดทับและทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้หลอดเลือดแข็งตัวทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อขาดลือดและปวดเมื่อยได้ง่าย แถมไขมันที่สะสมในร่างกายยังขัดขวางการทำงานของระบบเผาผลาญทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและปวดเมื่อยได้ง่ายนั่นเอง
โน๊ต : องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าผู้ใหญ่ทั่วไปไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 60 กรัมต่อวัน
อาหารที่มีไขมันสูง มีอะไรบ้าง ?
- เนื้อสัตว์ติดมัน เช่น เนื้อวัวติดมัน เนื้อหมูติดมัน
- อาหารทอด เช่น ไก่ทอด ปลาทอด
- อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เนย ชีส
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ผมไขมันเต็ม น้ำมันปาล์ม
- อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น ขนมอบ
3.อาหารที่มีโซเดียมสูง
โซเดียม หรือที่เรียกรสชาดกันก็คือ เค็ม ปัญหานี้ค่อนข้างที่จะเลิกยาก เพราะคนไทยส่วนใหญ่ติดเค็ม อาหารตามท้องตลาดทั่วๆไปเลยมักจะติดเค็มมากเป็นพิเศษ แต่ทุกวันนี้ดีหน่อยที่เริ่มมีผลิตภัณฑ์โซเดียมต่ำออกวางขายตามท้องตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้คนที่ต้องการลดโซเดียมมีทางเลือดในการบริโภคมากยิ่งขึ้น ปัญหาโซเดียมสูงส่งผลต่อสุขภาพมากมาย สังเกตตัวเองง่ายๆถ้าโซเดียมสูงคือ คอแห้ง ปวดหัว รู้สึกหงุดหงิดง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้โซเดียมยังดูดน้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำง่ายขึ้นกว่าปกติ และโซเดียมยังทำให้ความดันโลหิตสูงยิ่งขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น และโซเดียมยังขัดขวางการทำงานของระบบเผาผลาญทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าง่ายขึ้น อ่อนเพลียและปวดเนื้อปวดตัวง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
โน๊ต : ปริมาณโซเดียมที่บริโภคในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป
อาหารที่มีโซเดียมสูง มีอะไรบ้าง ?
- ไส้กรอก
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- อาหารกระป๋อง
- น้ำปลา
- ผักดอง
- ไก่ทอด
4.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆด้าน (ถ้ากินมากเกินไป) แต่ถ้ากินให้พอดีเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้นดีต่อสุขภาพในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว (ชาย:2แก้วต่อวัน หญิง:1แก้วต่อวัน)
ที่แอลกอฮอล์ติดมาเป็น 1 ในบทความออฟฟิศซินโดรม ไม่ควรกินอะไรนั่นก็เพราะว่า แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ ส่งผลให้เส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่และเกิดการอักเสบได้ง่ายยิ่งขึ้น และแอลกอฮอล์ยังทำให้ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่ายยิ่งขึ้น และยิ่งปวดเมื่อยง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
5.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ข้อนี้คงต้องบอกว่าหลายๆคนกินกาแฟเพราะว่า ชาวออฟฟิศก็ต้องมาคู่กับกาแฟ เพราะกาแฟนั้นช่วยทำให้ตื่นตัวในทุกๆเช้า ทำให้สามารถที่จะทำงานได้ดีขึ้น (ปกติง่วงนอนทำงานไม่เต็มที่) อย่าพึ่งตื่นตกใจไป อ่านให้จบก่อน
ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมไม่ควรเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนนั่นก็เพราะว่า เมื่อคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายคาเฟอีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันเพิ่มขึ้น กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว ทำให้เราตื่นตัว แต่ในทางกลับกัน คาเฟอีนที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว จะส่งผลให้กดการอักเสบและปวดเมื่อกล้ามเนื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก และคาเฟอีนยังขับปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำจนทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้ไม่เต็มที่ และคาเฟอีนยังไปกระตุ้นประสาท ส่งผลให้นอนหลับยาก หลับไม่สนิท ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ทั้งนั้น มีงานวิจัยที่พบว่า ในบางคนที่กินกาแฟเป็นกระจำเมื่อเลิกกินกาแฟไป การอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น 6% แต่กับบางคนกาแฟเพิ่มการอักเสบ
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มีอะไรบ้าง ?
- น้ำอัดลม
- กาแฟ
- ชา
- โกโก้
- เครื่องดื่มชูกำลัง
กินกาแฟยังไงดี
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อวัน เพื่อชดเชยการเสียน้ำจากคาเฟอีน ดื่มน้ำเปล่า 1-8 แก้วต่อวันกำลังดี
- ไม่ควรดื่มคาเฟอีน 4-6 ชั่วโมง ก่อนนอน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Intestinal Fructose and Glucose Metabolism in Health and Disease – PMC (nih.gov)
- Differences and similarities in hepatic lipogenesis, gluconeogenesis and oxidative imbalance in mice fed diets rich in fructose or sucrose – PubMed (nih.gov)
- A Sucrose-Enriched Diet Promotes Tumorigenesis in Mammary Gland in Part through the 12-Lipoxygenase Pathway – PubMed (nih.gov)
- Potential Adverse Public Health Effects Afforded by the Ingestion of Dietary Lipid Oxidation Product Toxins: Significance of Fried Food Sources – PMC (nih.gov)
- Advanced Glycation End Products, Inflammation, and Chronic Metabolic Diseases: Links in a Chain? – PubMed (nih.gov)
- Advanced Glycation End Products (AGEs): Biochemistry, Signaling, Analytical Methods, and Epigenetic Effects – PMC (nih.gov)
- Dietary Sodium, Adiposity, and Inflammation in Healthy Adolescents – PMC (nih.gov)
- Does Sodium Intake Induce Systemic Inflammatory Response? A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Studies in Humans – PMC (nih.gov)
- Benefits and Risks of Moderate Alcohol Consumption on Cardiovascular Disease: Current Findings and Controversies – PMC (nih.gov)
- Alcohol intake and systemic markers of inflammation–shape of the association according to sex and body mass index – PubMed (nih.gov)
- Intestinal dysbiosis and permeability: the yin and yang in alcohol dependence and alcoholic liver disease – PubMed (nih.gov)
- Consumption of coffee or caffeine and serum concentration of inflammatory markers: A systematic review – PubMed (nih.gov)
- Associations of coffee drinking with systemic immune and inflammatory markers – PMC (nih.gov)
- Effects of coffee consumption on subclinical inflammation and other risk factors for type 2 diabetes: a clinical trial – PubMed (nih.gov)