เคยสงสัยมั้ยคะว่า ทำไมบางคนกินกระเทียมแล้วสุขภาพดีขึ้น แต่บางคนกลับเฉยๆ หรือรู้สึกไม่สบายท้อง? ความลับอาจอยู่ที่ “ปริมาณ” ที่กินเข้าไปนั่นเอง ดังนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจในปริมาณที่เหมาะสม เพราะความสมดุลคือสิ่งสำคัญ
6 ข้อต้องรู้ กินกระเทียมสด วันละเท่าไหร่ ถึงจะดีต่อสุขภาพ
หลายคนนิยมทานกระเทียมสด เพราะกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่เคยสงสัยมั้ยคะว่า กินกระเทียมสด วันละเท่าไหร่ ถึงจะดีต่อสุขภาพ เพราะ การทานน้อยเกินไปอาจไม่เห็นผล แต่การทานมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยในบทความนี้เราจะพาไปหาคำตอบ เพื่อให้คุณทานกระเทียมได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อผลข้างเคียง ลองไปดูกันเลยค่ะ
1. กระเทียมสดให้ประโยชน์สูงสุดเพราะมีสาร Allicin
สารสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีฤทธิ์ทางสุขภาพคือ “อัลลิซิน (Allicin)” ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นก็ต่อเมื่อเนื้อกระเทียมถูกบด สับ ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ในการต้าน เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าอัลลิซินมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต อย่างไรก็ตาม Allicin จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสัมผัสกับความร้อน ออกซิเจน หรือกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นการบริโภคกระเทียมสดในรูปแบบดิบจึงเป็นวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุด (1)
2. ปริมาณที่เหมาะสม
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคำแนะนำอย่างเป็นทางการ การทานกระเทียมสดในปริมาณที่เหมาะสมคือวันละ 1–2 กลีบเล็ก (2) ซึ่งเป็นปริมาณที่ ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับระบบทางเดินอาหาร เพราะหากทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีกลิ่นตัวหรือกลิ่นปากได้ (3)
3. วิธีการทานกระเทียมสด
เพื่อให้ Allicin ถูกสร้างขึ้นได้อย่างเต็มที่ ควรบด หรือสับกระเทียมก่อนกิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีในอุณหภูมิห้อง กระบวนการนี้จะเปิดโอกาสให้เอนไซม์ในกระเทียมทำงาน และกระตุ้นให้เกิด Allicin ในปริมาณสูงสุด ก่อนที่เราจะรับประทานเข้าไป หากกลืนกระเทียมทั้งกลีบโดยไม่เคี้ยว จะไม่ได้ประโยชน์จาก Allicin เพราะไม่มีการกระตุ้นปฏิกิริยาดังกล่าว และสารสำคัญจะไม่ถูกดูดซึมได้เต็มที่ผ่านระบบย่อยอาหาร (11)
4. หลีกเลี่ยงการกินตอนท้องว่าง
แม้กระเทียมสดจะมีสรรพคุณทางยา แต่มีฤทธิ์ร้อนแต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้หากบริโภคในขณะท้องว่าง โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ (5) การรับประทานหลังอาหารจะช่วยลดความรุนแรงของฤทธิ์กัดกระเพาะ
5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค
กระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin, aspirin หรือยากลุ่ม anticoagulants อื่น ๆ โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกได้ หากบริโภคกระเทียมสดร่วมกับยาเหล่านี้ผู้ป่วยที่มีโรคตับ ไต หรือระบบทางเดินอาหารควรระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการเตรียมผ่าตัดก็ไม่ควรบริโภคกระเทียมสดในปริมาณมาก เนื่องจากอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดในระหว่างผ่าตัด (3)
6. ควรกินอย่างสม่ำเสมอ
การบริโภคกระเทียมสดให้เห็นผลเชิงสุขภาพควรทำอย่างต่อเนื่อง หากใครเพิ่งเริ่มกินกระเทียม ควรเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วสังเกตปฏิกิริยาของร่างกาย จากนั้นค่อยปรับให้เข้ากับตัวเองในระยะยาวจะปลอดภัยกว่า
วิธีลด กลิ่นกระเทียมติดปาก
ดื่มน้ำมะนาวช่วยได้ค่ะ น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด โดยในน้ำมะนาวมีกรดซิตริก ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ ที่ช่วยทำลายโมเลกุลของสารประกอบกำมะถันที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นกระเทียม ทำให้กลิ่นลดลงได้ (6)
กินกระเทียมดิบหรือสุกดีกว่ากัน?
โดยทั่วไป กระเทียมดิบให้สารอัลลิซินได้มากกว่า ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่ช่วยต้านแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกัน แต่หากต้องการปรุงสุก ควรสับหรือบดกระเทียมแล้วปล่อยทิ้งไว้ 10–15 นาที ก่อนใส่ลงในอาหารช่วงท้ายของการปรุง เพื่อป้องกันการทำลายอัลลิซินจากความร้อนสูง ไม่ควรใช้ความร้อนเกิน 60°C (7)
สรุป
กระเทียมสด มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งในด้านหัวใจ ภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ แต่การ กินกระเทียมสด วันละเท่าไหร่ ที่ถูกต้อง ควรอยู่ที่วันละ 1–2 กลีบ เพื่อเลี่ยงผลข้างเคียง เช่น ท้องอืดหรือระคายเคืองกระเพาะ ควรหั่นหรือบดกระเทียมแล้วเว้นไว้ 10–15 นาทีเพื่อให้สารอัลลิซินทำงานเต็มที่ หากมีปัญหาเรื่องกลิ่นหรือไม่สบายท้อง อาจเว้นวันบ้างได้ และควรปรึกษาแพทย์หากมีโรคประจำตัวหรือใช้ยาอยู่
อ่านบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระเทียมเพิ่มเติมได้ที่: กระเทียม
แหล่งอ้างอิง
1.Antimicrobial properties of allicin from garlic
2.Potential Health Benefit of Garlic Based on Human Intervention Studies: A Brief Overview
4.11 Proven Health Benefits of Garlic