Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม   คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์! Welcome to Protriva น้ำมันสกัดเย็นเกรดพรีเมี่ยม

โพรไบโอติกส์ ประโยชน์ 8 ข้อ ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

โพรไบโอติกส์ ประโยชน์ 8 ข้อ ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของการดูแลระบบทางเดินอาหาร แต่ความจริงแล้ว โพรไบโอติกส์มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายมากกว่าที่คิด การศึกษาพบว่าโพรไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน ซึ่งคุณอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน

โพรไบโอติกส์ ประโยชน์ 9 ข้อ ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ไอเทมฮอตในวงการสุขภาพที่ใครก็ต้องพูดถึง คงหนีไม่พ้น โพรไบโอติกส์ ประโยชน์ มากมาย บอกเลยว่าแค่กินแล้วลำไส้ดีก็คือธรรมดาไป โพรไบโอติกส์มีประโยชน์อีกหลายอย่างที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ช่วยเสริมทั้งสุขภาพกายและใจแบบครบจบปิ๊ง มาดูกันแบบละเอียดไปเลยว่าความดีงามของโพรไบโอติกส์ทั้ง 9 ข้อ มีอะไรบ้าง และโพรไบโอติก กินแล้วช่วยอะไร

 

1. ปรับสมดุลระบบลำไส้ และเสริมการย่อยอาหาร

ช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้โดยการเพิ่มปริมาณแบคทีเรียชนิดดี ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารโดยรวม ช่วยลดอาการท้องผูกและท้องเสีย ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนที่มักเกิดจากการขาดสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน (3)

2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

มีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยมีบทบาทในการกระตุ้นการผลิตแอนติบอดีที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงในผู้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงตามวัย (4)

3. ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดความเหนื่อยล้า

ส่งเสริมในกระบวนการดูดซึมสารอาหาร เช่น วิตามินบีรวมและวิตามินเค ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบเผาผลาญ ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าในระหว่างวัน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการมีพลังงานพร้อมในการทำงานทุกวัน

4. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

อีกหนึ่งประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ ที่หลายคนอาจจะไม่รู้ คือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ โดยช่วยควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โพรไบโอติกส์สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลได้ยาก (6)

5. ช่วยปรับสมดุลอารมณ์

ปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่า โพรไบโอติกส์มีผลดีต่อสุขภาพจิต ช่วยลดความเครียดและอาการซึมเศร้า โดยมีความเชื่อมโยงกับการทำงานของระบบประสาทในลำไส้และสมอง โพรไบโอติกส์สามารถกระตุ้นการผลิตสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น (5)

6. ลดการอักเสบในผิวหนัง

โพรไบโอติกส์ยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพผิว ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ลดอาการแพ้ สิว ผื่น และโรคผิวหนังอักเสบอื่น ๆ การมีจุลินทรีย์ที่สมดุลในลำไส้ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาผิวหนังจากภายใน ทำให้ผิวพรรณดูสดใสและสุขภาพดีมากขึ้น (9)

7. ลดปัญหากลิ่นปาก 

การสะสมของแบคทีเรียชนิดไม่ดีในช่องปากอาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก โพรไบโอติกส์ช่วยในการปรับสมดุลแบคทีเรียในช่องปากและระบบทางเดินหายใจ ช่วยลดกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจสดชื่นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นใจในการพูดคุยหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นใกล้ชิด (7)

8. ส่งเสริมสุขภาพกระดูก เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม

โพรไบโอติกส์ช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงเมื่ออายุมากขึ้น การบริโภคโพรไบโอติกส์อย่างต่อเนื่องจึงช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกได้เป็นอย่างดี (2)

 

โปรไบโอติก ผลข้างเคียง

โปรไบโอติกแม้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงได้บ้างนะคะ โดยเฉพาะหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ดี ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และมีแก๊สมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่แบคทีเรียในโปรไบโอติกปรับตัวเข้ากับระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย หรือ ปวดท้อง ได้ในบางราย หากมีอาการผิดปกติหลังรับประทานโปรไบโอติก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมค่ะ

 

โพรไบโอติก กินก่อนนอนได้ไหม

ทำได้ค่ะ การทานก่อนนอนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นในตอนเช้า แต่บางคนอาจมีอาการอื่นๆ แทน เช่น ท้องอืด หรือปวดท้อง ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว การทานโปรไบโอติกในตอนท้องว่าง เช่น ก่อนอาหารเช้า หรือ ก่อนนอน จะช่วยให้โปรไบโอติกเข้าสู่ลำไส้ได้ดีขึ้น

 

โรคอะไร ไม่ควรกินโพรไบโอติก

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งและกำลังได้รับเคมีบำบัด ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ที่กำลังใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณสูง หากคุณมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจทานโปรไบโอติกเสมอค่ะ เพื่อความปลอดภัย

 

โพรไบโอติกส์มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้อย่างไร

จากการวิจัยพบว่า โปรไบโอติกอาจมีผลต่อความอยากอาหารและการใช้พลังงานผ่านการผลิตกรดไขมันสายสั้น เช่น อะซิเตต โพรพิโอนาเต และบูไทเรต นอกจากนี้ โปรไบโอติกบางชนิดอาจช่วยลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร ลดการอักเสบ และเพิ่มการขับไขมันออกทางอุจจาระ ซึ่งหมายความว่า ร่างกายจะดูดซึมแคลอรี่จากอาหารที่เรารับประทานได้น้อยลง โดยเฉพาะแบคทีเรียจากกลุ่มแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) (8)

 

แหล่งอ้างอิง

1.Benefits and side effects of probiotics

2.พรีไบโอติกและโปรไบโอติกสามารถปรับปรุงผลลัพธ์การรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารได้หรือไม่ | ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

3.ประสิทธิภาพของโปรไบโอติกในโรคลำไส้แปรปรวน | ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

4.ผลกระทบของโปรไบโอติกและพรีไบโอติกต่อระบบภูมิคุ้มกัน| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

5.health.com

6.ผลของโปรไบโอติกต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

7.โปรไบโอติกส์สามารถรักษาอาการปากเหม็นได้หรือไม่?

8.โปรไบโอติกส์สำหรับการรักษาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในมนุษย์| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

9.ผลของโปรไบโอติกต่อการควบคุมภูมิคุ้มกัน สิว และการแก่ก่อนวัยจากแสงแดด| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

Skip to content คลิกเพื่อฟังข้อความที่ไฮไลท์!