โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร 7 อย่าง เบื้องหลังสุขภาพดี

โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร 7 อย่าง เบื้องหลังสุขภาพที่ดีที่มักถูกมองข้าม

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย จัดเป็น “แบคทีเรียดี” ที่พบได้ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด เช่น โยเกิร์ต กิมจิ หรือในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมื่อเรารับประทานเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสม จะไปอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม

 

โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร 7 อย่าง เบื้องหลังสุขภาพที่ดีที่มักถูกมองข้าม

“โพรไบโอติก” เป็นคำที่เราคุ้นกันมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งที่หลายคนยังสงสัยก็คือ โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร ได้บ้างกันแน่? หลายคนอาจรู้ว่าเกี่ยวกับลำไส้หรือระบบย่อยอาหาร แต่ในความเป็นจริง โพรไบโอติกมีบทบาทลึกซึ้งกว่านั้นมาก ในบทความนี้เราจะพาไปดูประโยชน์ที่น่าสนใจของโพรไบโอติกกัน จะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลยค่ะ

 

1. ช่วยฟื้นฟูตับ 

แบคทีเรียในลำไส้มีความสำคัญต่อสุขภาพตับ โดยเฉพาะในโรคตับไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) ที่พบในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีงานวิจัยทางคลินิกพบว่า โพรไบโอติกเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยฟื้นฟูสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ และพบว่าสามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยวหรือร่วมกับวิธีอื่นๆ เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคตับไขมัน ซึ่งพบว่าสามารถ ทำให้สุขภาพตับของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังดีขึ้นได้ค่ะ  (1)

 

2. ช่วยลดการอักเสบในโรคหัวใจ

การศึกษาพบว่า โพรไบโอติก ช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะในภาวะหัวใจล้มเหลว ด้วยการเพิ่มการทำงานของเซลล์ทีควบคุม (Tregs) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการอักเสบในร่างกาย  โพรไบโอติก ยังช่วยลดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจในภาวะขาดเลือดและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เป็นประโยชน์ สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ Bifidobacterium animalis subsp. lactis 420 และ Lactobacillus rhamnosus GR-1 (1)

 

3. ส่งเสริมการนอนหลับ

ลำไส้และสมองสื่อสารกันผ่าน “แกนลำไส้-สมอง” ซึ่งเชื่อมระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจุลินทรีย์ในลำไส้มีส่วนสำคัญในการสื่อสารนี้ โดยสร้างสารตั้งต้นที่เปลี่ยนเป็นสารสื่อประสาทซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และการรับรู้ของเรา มีการศึกษาพบว่า การทานโพรไบโอติกช่วยให้นอนหลับดีขึ้นทั้งในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง และนักศึกษาแพทย์ที่เครียด ที่น่าสนใจคือ โพรไบโอติกยังช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับในคนที่มีสุขภาพดีได้เช่นกัน (2)

 

4. บรรเทาอาการภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้กำลังเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่พบผู้ป่วยมากถึง 40% ของประชากร โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์สามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ เช่น แลคโตบาซิลลัส F19 ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ระยะเริ่มต้น ขณะที่ B. breve M-16V ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้สูงที่สุด นอกจากนี้ L. rhamnosus GG ช่วยลดอาการหอบหืด ลดการอักเสบในปอด และลดการสร้างสารที่กระตุ้นการแพ้ โดยโพรไบโอติกทำงานโดยปรับสมดุลเซลล์ภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้นั่นเองค่ะ (1)

 

5. ฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยหรือผ่าตัด

โพรไบโอติกมีประโยชน์หลายด้านสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด โดยช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในกระแสเลือด ส่งเสริมการหายของแผล และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังช่วยลดโอกาสเกิดการติดเชื้อทั่วไป ในบางกรณียังช่วยป้องกันอาการท้องเสียที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างการรักษาอีกด้วย (3)

 

6. ช่วยควบคุมโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์

มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นบทบาทสำคัญของจุลินทรีย์ในลำไส้ ต่อการพัฒนาโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ พบว่าการทำงานของลำไส้ที่เปลี่ยนแปลงไปมักเกิดขึ้นก่อนที่จะปรากฏอาการทางระบบประสาท จุลินทรีย์ในลำไส้ที่เสียสมดุลอาจนำไปสู่การอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรค ดังนั้นการดูแลสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้อาจเป็นแนวทางใหม่ในการป้องกันและรักษาโรคทางระบบประสาท (1)

 

7. ช่วยลดกลิ่นปาก

กลิ่นปากนับเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเกิดจากโมเลกุลระเหยที่ผลิตโดยแบคทีเรียบางชนิดในช่องปาก โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่ย่อยสลายโปรตีนและสร้างสารประกอบซัลเฟอร์ระเหยอันเป็นสาเหตุของกลิ่นไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโพรไบโอติกบางสายพันธุ์ เช่น Weissella cibaria ในการช่วยจัดการปัญหานี้ โดยโปรไบโอติกดังกล่าวสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่สร้างกลิ่นและลดการผลิตสารประกอบซัลเฟอร์ที่มีกลิ่นลงได้ การใช้โปรไบโอติกจึงอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาปัญหากลิ่นปากค่ะ  (1)

 

โพรไบโอติก กินทุกวันได้ไหม

แนะนำให้ทานทุกวันเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดค่ะ เพราะการทานอย่างต่อเนื่องทุกวันจึงช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียดีๆ ในระบบทางเดินอาหารของเราได้อย่างสม่ำเสมอค่ะ (4)

 

โพรไบโอติก อยู่ในอาหารอะไร

เราสามารถเสริมโพรไบโอติก ได้จากอาหารหมักดองหลากหลายชนิดค่ะ เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ คอมบูชา ซาวเคราต์ ผักดอง มิโสะ เทมเป้ กิมจิ ขนมปังซาวโดว์ และชีสบางประเภท (5) ซึ่งนอกจากเราจะทราบกันแล้วว่า โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร กันแล้ว อีกตัวที่จำเป็นต่อลำไส้ไม่แพ้กันก็คือไฟเบอร์ แต่บางครั้งการทานอาหารเพื่อให้ได้ทั้งโพรไบโอติกและไฟเบอร์ให้เพียงพอในแต่ละวันก็อาจจะยากหน่อย โชคดีที่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณภาพดี ให้เลือกหลากหลาย ก็เป็นอีกทางเลือกที่สะดวกมากๆ ในการช่วยเสริมสุขภาพลำไส้ของเราให้แข็งแรงค่ะ

 

สรุป

ดังนั้นคำถามที่ว่า  โพรไบโอติก ช่วยอะไร คำตอบอาจจะไม่ได้อยู่แค่ในระบบย่อยอาหารอย่างที่เราคิดอีกต่อไป มันคือผู้ช่วยตัวเล็ก ๆ ที่ดูแลสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมกัน ตั้งแต่ฮอร์โมน สมาธิ จนถึงกระดูก และบางทีสุขภาพดีอาจไม่ได้เริ่มจากอะไรซับซ้อน แค่เริ่มดูแลสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้ในลำไส้ให้ดีก็อาจทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงได้แล้วค่ะ

 

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: Probiotic

 

แหล่งอ้างอิง

1.The Anti-Inflammatory and Curative Exponent of Probiotics: A Comprehensive and Authentic Ingredient for the Sustained Functioning of Major Human Organs

2.Effects of Probiotics on Cognitive Reactivity, Mood, and Sleep Quality

3.Why Give My Surgical Patients Probiotics

4.Probiotics

5.How to get more probiotics

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความอื่นๆ