กระเทียม (Garlic)
กระเทียมเป็นพืชที่ถูกใช้เป็นยาใน “การแพทย์ทางเลือก” มาราวๆ 3,000 ปี ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อารยธรรม จีน อียิปต์ บาบิโลนและโรมัน เนื่องจากมีการค้นพบว่าการกินกระเทียมสดสามารถรักษาโรคต่างๆได้หลายชนิดมาก จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบว่ากระเทียมมีสารสำคัญมากมายหลายชนิดที่สามารถบำรุงร่างกายได้และเด่นในเรื่องการ “บำรุงหัวใจ” และเด่นในเรื่องของการ “ลดความดันโลหิต” นั่นเอง
แต่เดียวก่อนไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถกินกระเทียมได้ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดที่ผิดปกติ ใครเข้าข่ายบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้ หรือสงสัยเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับกระเทียม ตามต่อได้แท็ค กระเทียมได้เลย
7 โรคที่ห้ามกินกระเทียม
จริงๆแล้ว โรคที่ห้ามกินกระเทียมนั้นค่อนข้างที่จะมีน้อยมากๆ ส่วนใหญ่จะแค่จำกัดปริมาณการกินเฉยๆ ไม่ได้ห้ามกินไปเลยซะทีเดียว อาจจะต้องลดการทานลง หรือ เว้นช่วงการทานระหว่างที่เป็นอยู่ พอหายซักระยะค่อยกลับมากินก็ได้ (ปริมาณต่อวันอยู่ที่ท้ายบทความ) แต่ก็มีในกรณีที่ มีอาการเลือดไม่แข็งตัว แผลหายยากมาตั้งแต่กำเนิดที่เลี่ยงได้จะดีที่สุดอยู่ด้วย
1.กระเพาะ
คนเป็นกระเพราะไม่ได้ห้ามกินเลยซะทีเดียว แค่ต้องกินกระเทียมให้น้อยลงในช่วงที่เป็น เพราะกระเทียมมีความเป็นกรด อาจทำให้เกิดการแสบร้อนท้อง แผลในกระเพราะอาหาร และกรดไหลย้อน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้กระเพราะอาการหนักกว่าเดิมได้ ถ้าจะกินกระเทียมในช่วงนี้จริงๆให้ก่อนก่อน หรือ หลังอาหาร 30 นาที เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองมากเกินไป และบางงานวิจัยยังบอกอีกว่ากระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมอาจมีส่วนช่วยให้อาการดีขึ้นอีกด้วย
2.ตาแดง
บางคนอาจจะนึกว่า กินกระเทียมเกี่ยวกับตาแดงได้ยังไง (แอดมินเองแหละ) ปกติแล้วถ้าจะระคายเคืองตา ก็น่าจะเป็นการหั่นหอม ที่หั่นทีไรน้ำตาไหลทุกที่สินะ
แต่สำหรับกระทียมไม่เกี่ยวกันกับการหั่น กระเทียมนั้นมีฤทธิ์ร้อนและรสฉุน ซึ่งนั่นอาจเป็นตัวกระตุ้น ทำให้อาการตาแดงที่เป็นอยู่แย่ลง คันและแสบตามากยิ่งขึ้น แถมยังขัดขวางการทำงานของยาหยอดตาอีกต่างหาก ฉนั้นถ้าเป็นไปได้ ช่วงที่เป็นตาแดง งดๆการกินกระเทียมไปก่อน หายแล้วค่อยกลับไปกินอีกครั้งยังไม่สาย
3.ความดันโลหิตต่ำ
กระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่ในคนที่เป็นความดันต่ำอยู่แล้ว การที่จะกินกระเทียมเพิ่มเติมเข้าไปเยอะๆ ก็อาจจะยิ่งทำให้ความดันที่ต่ำอยู่แล้ว ต่ำลงไปอีก ซึ่งอันตรายมากๆ และการที่ความดันต่ำก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นอย่างอื่นร่วมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่ากินไม่ได้เลย สามารถกินได้ แต่เพียงแค่ให้กินในปริมาณที่น้อย และไม่แนะนำให้กินกระเทียมที่เป็นสารสกัด เพราะแบบสารสกัดจะทำให้ร่างกายดูดซึมง่ายกว่าปกติ และนั่นจะยิ่งทำให้อาการหนักกว่าเดิม ถ้าจะกินจริงๆแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน หรือลองโทรมาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของโปรทริว่าก่อนก็ได้ เพราะเราให้คำปรึกษาฟรี โทร 02-123-3866
4.คนที่ต้องทานยาลดการแข็งตัวของเลือด
กระเทียมมีสรรพคุณต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่แล้ว การกินยาและกระเทียมจะทำให้คุณเสี่ยงที่จะเกิดเลือกออกง่ายและหยุดยากกว่าปกติ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเลือดออกในร่างกายอย่าง แผลในกระเพาะอาหาร หรือ เลือดออกในสมอง การกินกระเทียมจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก ควรเลี่ยงไม่กินกระเทียมไปเลยจะดีที่สุด
5. คนที่ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
1 ใน 7 โรคที่ห้ามกินกระเทียมที่ควรระวังที่สุด จะให้บอกว่าโรคก็คงจะไม่ได้ซะทีเดียว แต่การงดกระเทียมทุกประเภทก่อนผ่าตัดนั้นสำคัญ ถ้ามีแผนว่าจะผ่าตัดควรงดการกินกระเทียมไปเลยประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะว่ากระเทียมมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดออกง่ายกว่าปกติ และยังหยุดยากอีกด้วย การกินกระเทียมก่อนรับการผ่าตัดจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดได้ เช่น แผลติดเชื้อ แผลหายช้า เสียเลือดมากเกินไป ความดันต่ำ เป็นต้น
6. ผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร
ข้อนี้จริงๆแล้ว ไม่ได้ห้ามเลยซะทีเดียว แต่ควรกินให้น้อยลงในระหว่างที่ตั้งครรภ์ เพราะว่ากระเทียมส่งผลต่อกลิ่นน้ำนม และ อาจทำเด็กท้องอืดจากกินกินนมที่มีกระเทียมอยู่และอาจทำให้เด็กไม่กินนมเลย เพราะกลิ่นกระเทียมในนม
แต่การกินกระเทียมประมาร 1-2 กลีบ อาจมีส่วนกระตุ้นการผลิตน้ำนม เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของปัญหาทางหลอดเลือดต่างๆได้ด้วย แต่แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด
7. เลือดออกง่าย (Hemophilia)
จริงๆแล้ว คนที่มีภาวะเลือดออกไม่ใช่เฉพาะกระเทียมที่ควรงด แต่รวมถึงสมุนไพรอื่นๆด้วยเช่น แปะก๊วย ขิง โสม เกาลัด ขมิ้นชัน ก็ควรงดด้วยเช่นกัน เพราะสมุนไพรเหล่านี้มีผลต้านการแข็งตัวของเลือด การกินกระเทียมหรือสมุนไพรเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่เลือดจะออกเยอะกว่าเดิมและทำให้ติดเชื้อได้ง่ายๆ
ปริมาณกระเทียมที่แนะนำต่อวัน
โดยทั่วไปแล้วปริมาณกระเทียมที่แนะนำต่อวัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สุขภาพ ยาที่ทานอยู่ และไม่ได้มีปริมาณที่แน่ชัด เพียงแค่มีการศึกษาในปริมาณสูงสุดเท่านี้เฉยๆ และในแต่ละบุคคลก็ดูดซึมกระเทียมต่างกัน
เพื่อสุขภาพทั่วไป
- กระเทียมสด: 4-5 กลีบ หรือ 1 หัวขนาดเล็ก
- ผงกระเทียม: 300 มิลลิกรัม
- สารสกัดกระเทียม: 7.2 กรัม
กระเทียมไม่ได้สะสมในร่างกาย แต่ร่างกายจะเผาผลาญและขับถ่ายออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
กระเทียมประกอบไปด้วยสารประกอบต่างๆ มากมาย สารประกอบเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดหลังจากรับประทาน สารประกอบบางชนิด เช่น อัลลิซิน (Allicin) มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบ และลดไขมัน สารเหล่านี้จะถูกเผาผลาญและขับถ่ายออกจากร่างกายภายใน 24-48 ชั่วโมง
โน๊ต : ถ้าเกิดรู้สึกว่ากินเกินปริมาณที่แนะนำ ให้งดซักวันสองวันแล้วค่อยกลับมาทาน
การทานมากเกินไปอาจทำให้ เลือดออกง่าย กลิ่นตัว กลิ่นปาก และกลิ่นเหงื่อ ภาวะโลหิตจาง
สรุป
จะเห็นได้ว่า 9 โรคที่ห้ามกินกระเทียม นั้นล้วนแต่เกี่ยวกับเลือดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่มีภาวะเลือดออกง่าย ( Hemophilia) ยิ่งต้องหยุดกินไปเลย แต่ในบางสาเหตุอย่าง กระเพาะอาหาร การกินกระเทียมในปริมาณที่พอเหมาะกลับอาจมีส่วนช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน ถ้ากินเยอะเกินไป ก็ทำให้กระเพาะอักเสบหนักกว่าเดิม หรือในคุณแม่ที่ให้นมบุตรอยู่ การกินกระเทียมเยอะเกินไปก็อาจส่งผลให้ลูกท้องอืด แต่ถ้ากินให้พอดีกลับอาจมีส่วนให้สุขภาพดีขึ้นได้
อย่างที่ทีมงานได้บอกเสมอว่า อะไรที่ดี ถ้าเยอะเกินไป ก็ส่งผลเสียได้ อะไรที่ไม่ดี แต่ถ้ากินในปริมาณที่พอเหมาะ ก็ส่งผลดีได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Is eating garlic harmful to the stomach? | Vinmec
- [Effect of onion and garlic phytoncides on suppurative conjunctivitis in children] – PubMed (nih.gov)
- GARLIC: Overview, Uses, Side Effects, Precautions, Interactions, Dosing and Reviews (webmd.com)
- Garlic for Blood Pressure: Beneficial or Bogus? (healthline.com)
- Garlic lowers blood pressure in hypertensive subjects, improves arterial stiffness and gut microbiota: A review and meta-analysis – PMC (nih.gov)
- GARLIC: Overview, Uses, Side Effects, Precautions, Interactions, Dosing and Reviews (webmd.com)
- Not just a vampire repellent: the adverse effects of garlic supplements in surgery – PMC (nih.gov)
- Can You Eat Garlic If You Are Breastfeeding? (verywellfamily.com)
- Garlic – Drugs and Lactation Database (LactMed®) – NCBI Bookshelf (nih.gov)
- Hemophilia | Complementary and Alternative Medicine | St. Luke’s Hospital (stlukes-stl.com)