แสบร้อนกลางอกไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อนที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก โรคนี้เกิดจากอะไร? มีอาการอย่างไร? และจะป้องกันได้อย่างไร? มาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ
ต้องรู้! อาการกรดไหลย้อน เป็นยังไง พร้อม 5 วิธีป้องกัน
โรคที่ชาวออฟฟิศส่วนใหญ่รู้สึกแสบร้อนกลางอก แต่หลายคนที่ยังไม่รู้แน่ชัด คือ อาการกรดไหลย้อน เป็นยังไง กันแน่ เพราะบางคนก็มีอาการแตกต่างกันไป กรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) เป็นภาวะที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารอยู่บ้างโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีปริมาณกรดที่ย้อนมากขึ้นหรือย้อนบ่อยกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรค หรือหลอดอาหารมีความไวต่อกรดมากขึ้นแม้ว่าจะมีปริมาณกรดขึ้นไปไม่ต่างจากปกติมากก็ตาม วันนี้เราจะพาไปดูสาเหตุและวิธีป้องกันอาการดังกล่าวกันค่ะ
1.ความอ่อนแอของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร
กล้ามเนื้อ LES มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันกรดไหลย้อน แต่เมื่อเกิดความอ่อนแอ ไม่ว่าจะจากอายุที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการกินอาหาร หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อ อาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทำงานผิดปกติ
2.พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม
การกินอาหารมื้อใหญ่จนแน่นท้อง ทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวและเพิ่มความดันในช่องท้อง จนผลักดันกรดย้อนกลับขึ้นมา การกินเร็วเกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก็ส่งผลเช่นเดียวกัน (1)
3.รับประทานอาหารที่กระตุ้นอาการกรดไหลย้อน
- ของทอดและอาหารมัน: อาหารมันย่อยยาก ทำให้กระเพาะอาหารต้องผลิตกรดออกมามากขึ้น
- กาแฟและเครื่องดื่มคาเฟอีน: คาเฟอีนทำให้กล้ามเนื้อ LES คลายตัว
- อาหารรสจัดหรือเปรี้ยว: เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำมะนาว หรือซอสมะเขือเทศ
4.ภาวะที่เพิ่มความดันในช่องท้อง
โรคอ้วน การตั้งครรภ์ หรือการใส่เสื้อผ้ารัดแน่น ทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น กดดันกระเพาะอาหารจนกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ง่าย
ความเครียดและสุขภาพจิต
ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อทำให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานผิดปกติ และกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ
อาการของกรดไหลย้อน
แสบร้อนกลางอก
ความรู้สึกแสบร้อนหรือร้อนวูบวาบบริเวณหน้าอก เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร อาการนี้มักแย่ลงหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่หรือขณะนอนราบ
เรอเปรี้ยว
รสเปรี้ยวหรือขมในปากเกิดจากกรดที่ย้อนขึ้นมาถึงลำคอ บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนมีน้ำย่อยหรืออาหารไหลย้อนขึ้นมา (2)
อาการกลืนลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ
เกิดจากการระคายเคืองหรือการอักเสบของหลอดอาหาร อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรติดในลำคอ (1)
เจ็บคอ ไอเรื้อรังและเสียงแหบ
เมื่อกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณกล่องเสียงและลำคอ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เสียงแหบ หรืออาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า (1)
แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอก
อาการนี้อาจเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ แต่หากสัมพันธ์กับมื้ออาหารหรือการนอนราบ ควรพิจารณาว่าอาจเกิดจากกรดไหลย้อน
มีกลิ่นปากเรื้อรัง
เกิดจากการสะสมของกรดและน้ำย่อยในลำคอและปาก (2)
5 วิธีป้องกันกรดไหลย้อน
1. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นกรดไหลย้อน: เช่น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (กาแฟ ชา น้ำอัดลม) ช็อกโกแลต และอาหารที่มีกรดสูง (ส้ม มะเขือเทศ)
ลดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่: เพราะทั้งสองอย่างนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) อ่อนแอลง ส่งผลให้กรดไหลย้อนง่ายขึ้น
กินมื้อเล็กและบ่อยครั้ง: แทนการกินมื้อใหญ่เพียงไม่กี่มื้อ เพื่อลดแรงดันในกระเพาะอาหาร
เคี้ยวอาหารช้า ๆ: การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดช่วยลดภาระของกระเพาะอาหาร และลดโอกาสเกิดกรดไหลย้อน
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเสียของการกินเร็วได้ที่ : 7 ผลเสียของการ กินข้าวเร็ว ที่คุณอาจไม่เคยรู้
เลี่ยงการกินอาหารก่อนนอน: ควรกินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
2. ปรับท่าทางและกิจวัตรประจำวัน
หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร: หลังมื้ออาหาร ควรนั่งหรือลุกเดินเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
ใช้หมอนหนุนศีรษะและลำตัวให้สูงขึ้นขณะนอน: ท่านอนศีรษะต่ำอาจทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้ ควรหนุนศีรษะสูงขึ้นประมาณ 6-8 นิ้ว
หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือเข็มขัดแน่น ๆ: เพราะแรงดันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้องอาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน: น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานจะเพิ่มแรงดันในช่องท้อง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อกรดไหลย้อน
3. ปรับสภาพจิตใจและลดความเครียด
ฝึกผ่อนคลายจิตใจ: ความเครียดอาจกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน ควรหากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การเล่นโยคะ หรือการออกกำลังกายเบา ๆ
พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติและเพิ่มโอกาสเกิดกรดไหลย้อน
4. ดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหาร
ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ: น้ำช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
เลือกอาหารที่ช่วยลดกรด: เช่น ข้าวโอ๊ต ขิง ผักใบเขียว และกล้วย ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะ
เลี่ยงยาและสารที่กระตุ้นกรดไหลย้อน: เช่น ยาต้านอักเสบชนิด NSAIDs หรือยาลดความดันบางชนิด หากจำเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาแพทย์
5. เข้ารับคำแนะนำจากแพทย์
หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนบ่อยครั้งหรือรุนแรง ควรเข้ารับการวินิจฉัยและคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาลดกรด ยาปรับการบีบตัวของหลอดอาหาร หรือการตรวจเพิ่มเติมในกรณีที่มีความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน
กรดไหลย้อนตอนกลางคืนทํายังไง
อาการ ของ กรด ไหล ย้อน เป็น อย่างไร ในตอนกลางคืนสร้างความรำคาญใจไม่น้อย ลองหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน ประมาณ 2-3 ชั่วโมง และยกหัวเตียงสูงขึ้นเล็กน้อย อาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกได้ค่ะ
นอนข้างไหนช่วยย่อย
การนอนตะแคงซ้ายจะช่วยแยกอาหารและกรดออกจากกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ซึ่งหมายความว่ากรดจะไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหารน้อยลง การนอนตะแคงซ้ายอาจช่วยลดความเสี่ยงของอาการแสบร้อนกลางอกและอาการไม่สบายทางเดินอาหาร นอกจากนี้การนอนตะแคงซ้ายเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของไต และช่วยลดแรงกดจากมดลูกที่โตขึ้น (3)
ดื่มอะไรลดกรดไหลย้อน
ชาขิง เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีค่ะ ขิงช่วยลดอาการของปัญหาทางเดินอาหารหลายอย่าง เช่น กรดไหลย้อน ท้องอืด และอาการอาหารไม่ย่อย ขิงช่วยลดแรงดันที่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างและช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น หรือถ้าง่ายที่สุด คือ การดื่มน้ำเปล่าช่วยในการย่อยอาหารและ ลดความถี่ของกรดไหลย้อนหลังมื้ออาหาร การจิบน้ำเล็กน้อยตลอดทั้งวันอาจช่วยล้างกรดในหลอดอาหารและรักษาอาการไอเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับกรดไหลย้อนได้อีกด้วยค่ะ (4)
กรดไหลย้อน อาการ เริ่ม ต้น
กรด ไหล ย้อน มักเริ่มต้นด้วยอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ที่ค่อยๆ ลามขึ้นมาถึงหน้าอก หลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสจัดหรืออาหารมัน อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น เรอบ่อยๆ มีรสเปรี้ยวหรือขมในปาก กลืนลำบาก คอแหบแห้ง หรือไอเรื้อรัง หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ เช่น หลอดอาหารอักเสบ หรือแผลในหลอดอาหาร ดังนั้น เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องค่ะ
สรุป
ดังนั้นสำหรับคำถามที่ว่า อ อาการกรดไหลย้อน เป็นยังไง ร้ายแรงหรือไม่ ขอตอบว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย มีความร้ายแรงหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากจะนำพาโรคอื่น ๆ ตามมาได้ค่ะ ซึ่งการป้องกันและดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ดังนั้น หากพบอาการที่บ่งบอกถึงภาวะดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาวนะคะ
แหล่งอ้างอิง
3.ท่านอนแบบไหนที่เหมาะกับการย่อยอาหารที่สุด?
4.เมื่อเป็นกรดไหลย้อน ควรดื่มอะไรดี?