ในยุคที่ทุกคนต่างรีบเร่ง การ กินข้าวเร็ว จึงกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมการกินที่เร่งรีบนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้อ้วนง่ายขึ้น หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาได้ อยากทราบว่าการจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง ตามมาหาคำตอบกันค่ะ
7 ผลเสียของการ กินข้าวเร็ว ที่คุณอาจไม่เคยรู้
จากการศึกษาพบว่า คนที่ กินข้าวเร็ว มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนมากกว่าคนที่กินข้าวช้า เนื่องจากสมองของเราใช้เวลาในการส่งสัญญาณความอิ่มไปยังสมองช้ากว่า ทำให้กินอาหารเกินความจำเป็น นอกจากนี้อาหารที่เคี้ยวไม่ละเอียด ยังส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมายที่เราไม่ควรมองข้าม ในบทความนี้เราจะพาไปดู 8 ผลเสียของการ กินเร็วเกินไปกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ลองไปดูกันเลย
1. ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไป
การกินอาหารอย่างรวดเร็วเกินไปนั้น อาหารชิ้นใหญ่ถูกส่งผ่านเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดกระบวนการย่อยที่ไม่สมบูรณ์และยืดเยื้อ ส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องได้นั่นเอง (1)
2. เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน
เมื่อเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กระเพาะอาหารจะได้รับอาหารจำนวนมากในคราวเดียว ซึ่งส่งผลให้กระเพาะผลิตกรดมากเกินไป และเพิ่มโอกาสในการเกิดกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นภาวะที่กรดจากกระเพาะย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนกลางอกและไม่สบายท้องได้
3. น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การกินเร็วทำให้สมองไม่ทันรับรู้สัญญาณอิ่มจากกระเพาะอาหาร ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาที การกินเร็วจึงทำให้เรากินเยอะกว่าที่ร่างกายต้องการ และเมื่อทำเช่นนี้บ่อย ๆ จะทำให้แคลอรีสะสมในร่างกายมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว (1)
4. เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคเบาหวาน
จากการวิจัยพบว่าผู้ที่กินเร็วมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากขึ้น เนื่องจากการกินเร็วมักจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว การเพิ่มหรือลดของระดับน้ำตาลในลักษณะนี้ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของโรคเบาหวาน (2)
5. ส่งผลต่อความดันโลหิต
การกินเร็วเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูง เพราะการกินเร็วทำให้ร่างกายต้องจัดการกับอาหารในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้หัวใจและระบบหมุนเวียนเลือดทำงานหนักขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรังได้ในระยะยาว
6. ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดีเท่าที่ควร
การกินเร็วทำให้อาหารผ่านระบบย่อยอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ เอนไซม์ต่าง ๆ จึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้สารอาหารหลายชนิดถูกขับออกจากร่างกายไปโดยไม่ได้รับการดูดซึม ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน หรือแม้แต่วิตามินและแร่ธาตุ ในระยะยาวอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้
7. เสี่ยงต่อการสำลักและการอุดตันของหลอดอาหาร
การกลืนอาหารเร็วโดยไม่เคี้ยวให้ละเอียดอาจทำให้เกิดการสำลัก และหากอาหารขนาดใหญ่ผ่านหลอดอาหารอาจเกิดการอุดตัน ทำให้เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
กินข้าวเร็ว ปวดท้อง ทำอย่างไร
การกินอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้เราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเพียงพอ นำมาซึ่งการทำให้ตัวระบบย่อยอาหารของเราทำงานหนักขึ้นและอาจเกิดอาการปวดท้องได้ เนื่องจากอาหารก้อนใหญ่ที่ยังย่อยไม่ละเอียดจะไประคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ แนะนำปรับพฤติกรรมการกินให้ลดการกินเร็ว กินช้าๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากอาการปวดท้องยังคงมีอยู่นาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
กินข้าวเสร็จต้องนั่งกี่นาที
โดยทั่วไปแล้ว การนั่งพักประมาณ 15-20 นาที หลังจากรับประทานอาหาร จะช่วยให้ร่างกายได้ปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการย่อยอาหาร แต่หากมีเวลาว่างมากขึ้น การนั่งพักนานขึ้นเล็กน้อยก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือกรดไหลย้อนได้ อย่างไรก็ตาม การนั่งนานเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเช่นกัน ควรลุกขึ้นมาขยับร่างกายเบาๆ หรือเดินเล่นบ้าง เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารให้ดียิ่งขึ้นนะคะ
วิธีกินข้าวให้ช้าลง
เคี้ยวอาหารอย่างช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียด วางช้อนส้อมลงระหว่างเคี้ยว ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีในการกินอาหาร ไม่ควรกินไปทำงานหรือดูทีวีไป การกินอาหารกับเพื่อนจะช่วยให้กินช้าลงได้ ฝึกทำจนเคยชินเป็นนิสัย พฤติกรรมการกินเร็วจะหมดไปในที่สุด (3)อาหารที่ถูกเคี้ยวละเอียดแล้วจะย่อยง่าย ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ ลดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ แถมยังทำให้อิ่มเร็ว ทำให้อาจจะกลายเป้นหนึง่ในวิธีการลดน้ำหนักอย่างง่าย ๆ ได้ด้วยนะคะ
แหล่งอ้างอิง
1.การกินอาหารเร็วเกินไปไม่ดีต่อสุขภาพหรือเปล่า?