หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องไฟเบอร์ที่สามารถละลายน้ำ หรือ Soluble Fiber คือใยอาหารชนิดหนึ่งที่สามารถละลายได้ในน้ำ กลายเป็นเจลนุ่ม ๆ ที่ช่วยในการทำงานของลำไส้และระบบย่อยอาหาร แถมยังช่วยเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ ด้วยบทบาทสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
7 เรื่องน่ารู้ ไฟเบอร์ละลายน้ำ ตัวช่วยเพื่อสุขภาพลำไส้ที่ดี
แน่นอนว่าหลายคนคงมีคำถาม ไฟเบอร์ละลายน้ำ ทำหน้าที่อะไร และทำไม ถึงจำเป็นต่อการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน? สามารถติดตามในบทความนี้ ลองมาทำความเข้าใจถึงประโยชน์ต่างๆ ของไฟเบอร์ละลายน้ำ กับประโยชน์ที่คุณอาจจะคิดไม่ถึงกันค่ะ ลองไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
1. ช่วยระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำเป็นเส้นใยที่สามารถดูดซับน้ำได้ ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้ ลดการอักเสบ และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (7)
2. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำ มีคุณสมบัติช่วยจับตัวกับกรดน้ำดีที่มีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ เมื่อไฟเบอร์ดักจับไขมันและคอเลสเตอรอลส่วนเกินเหล่านี้ มันจะถูกขับออกจากร่างกายไปพร้อมกับกากอาหาร ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง การลดคอเลสเตอรอลในเลือด (1) ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ และเสริมสุขภาพหลอดเลือดให้ทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้นค่ะ
3. ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำ จะเปลี่ยนเป็นเจลนุ่ม ๆ ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเจลนี้จะทำหน้าที่ชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ระดับน้ำตาลไม่พุ่งสูงในทันที การรับประทานไฟเบอร์ละลายน้ำจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาล โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้ค่ะ (5)(8)
4. สนับสนุนการเจริญเติบโตของแบคทีเรียดีในลำไส้
เป็นอาหารที่ดีสำหรับแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ หรือโพรไบโอติก (Probiotics) เมื่อแบคทีเรียที่ดีเจริญเติบโตได้ดี สุขภาพลำไส้ก็จะดีตามไปด้วย ซึ่งช่วยให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดโรคลำไส้และการอักเสบของลำไส้ได้อีกด้วยค่ะ (9)
5. ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
การบริโภค ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากไฟเบอร์ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่อาจเกาะตามผนังหลอดเลือด ลดโอกาสเกิดคราบไขมันที่ก่อตัวในหลอดเลือดได้ เมื่อระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี หัวใจก็ทำงานเบาลง ลดความเสี่ยงจากภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด (6)
6. ช่วยลดอาการท้องผูก
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง การบริโภคไฟเบอร์ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในกากอาหาร ทำให้อุจจาระนุ่มและง่ายต่อการขับถ่าย โดยไฟเบอร์ชนิดนี้จะดูดซับน้ำเข้าไปในลำไส้ ลดการสะสมของของเสียในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ให้ทำงานอย่างสมดุลมากขึ้น เป็นวิธีการแก้ท้องผูกที่ปลอดภัย (10)
7. ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร
สามารถปรับสมดุลระบบย่อยอาหารโดยการลดอาการอักเสบของลำไส้ ดูดซับสารพิษและสิ่งปนเปื้อนในลำไส้ ทำให้ลำไส้มีสุขภาพดี และช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ สม่ำเสมอ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) (11)และผู้ที่มีปัญหาการขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ
ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำ กับ ไม่ละลายน้ำ ต่างกันอย่างไร
ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำต่างกันที่คุณสมบัติและประโยชน์ต่อร่างกาย ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ส่วนไฟเบอร์ไม่ละลายน้ำ ช่วยในการขับถ่ายและเพิ่มปริมาณกากในลำไส้ ทั้งสองชนิดมีความสำคัญต่อสุขภาพ ควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีและลดความเสี่ยงโรคต่างๆ (2)
ไฟเบอร์กับโพรไบโอติกแตกต่างกันอย่างไร
ไฟเบอร์ และโพรไบโอติกต่างเป็นตัวช่วยบำรุงสุขภาพลำไส้ แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน ไฟเบอร์เป็นเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ทำให้อุจจาระนิ่ม ส่วนโพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ทั้งสองหากใช้ร่วมกันจะช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลมากขึ้นค่ะ
การขาดไฟเบอร์ ละลายน้ำ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?
การขาดไฟเบอร์ิ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายประการ อาทิ ปัญหาการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ริดสีดวง
ทวาร เนื่องจากไฟเบอร์ชนิดนี้ช่วยเพิ่มปริมาณและความนุ่มของอุจจาระ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล ทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจอีกด้วย การขาดไฟเบอร์ยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วนและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ในอนาคตนั่นเอง (4)
ถ้าได้รับไฟเบอร์ ละลายน้ำมากเกินไป จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย
การได้รับไฟเบอร์ ละลายน้ำในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายยังไม่คุ้นเคย อาจทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง หรือท้องเสียได้ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการรับประทานไฟเบอร์มากเกินไป ควรเพิ่มปริมาณไฟเบอร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป และดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดทั้งวัน (3)
แหล่งอ้างอิง
1.ประโยชน์ต่อสุขภาพของใยอาหารมีหลากหลาย| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH
2.ประเภทของไฟเบอร์: ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้และไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ
3.คุณกินไฟเบอร์มากเกินไปหรือเปล่า? นี่คือสัญญาณและอาการ
4.6 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกินไฟเบอร์ไม่เพียงพอ ตามคำแนะนำของนักโภชนาการ
7.ความแตกต่างระหว่างเส้นใยที่ละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำคืออะไร?
10.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก
11.เพิ่มปริมาณใยอาหารที่ละลายน้ำได้เพื่อจัดการกับ IBS ได้ดีขึ้น