โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร ไม่ถึงตาย แต่เหมือนพิการตลอดชีวิต
รู้หรือไม่ว่าโรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร อาการไม่ถึงตาย แต่เหมือนพิการตลอดชีวิตอาการปวดเข่า ปวดข้อ มีเสียงก้อบแก้บเวลาเดิน จนบางครั้งถึงกับเคลื่อนไหวไม่ได้ เป็นอาการที่มักจะแสดงออกมาเมื่อผู้ป่วยมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพุ่งสูงถึงร้อยละ 50 เมื่ออายุเกิน 60 ปี หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดีอาการนั้นจะหนักขึ้นเรื่อยๆจนทำให้คุณใช้ชีวิตลำบากขึ้น บางรายถึงกับเดินไม่ได้หลายวัน แม้โรคนี้เป็นแล้วจะไม่ได้อันตรายถึงชีวิตแต่หากไม่ดูแลรักษาผู้ป่วยอาจจะต้องทุกข์ทนทรมานกับอาการเหล่านี้ไปจนตลอดชีวิตเลยทีเดียว จึงทำให้โรคไขข้อเสื่อมกลายมาเป็นเป็นสาเหตุอันดับ 4 ของโรคนับตามจำนวนปีที่มีชีวิตอยู่กับความพิการ หรือโรค YLDs (Years of healthy life lost due to disability)
ความผิดปกติของข้อเข่าที่เราไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
สถิติข้อเข่าเสื่อม
องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ใน พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคนเป็น 570 ล้านคน โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดยระบุว่าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคข้อและเข่าเสื่อม 1,700 และ 2,693 คนต่อประชากร 100,000 คนเลยทีเดียว
สถานการณ์ในไทยก็ค่อนข้างวิกฤตไม่แพ้กันจากผลสำรวจพบว่าสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในคนไทย พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยโรคนี้ มากกว่า 6 ล้านคนโดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า เนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบ ตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย อีกทั้งประเทศของเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นธรรมดาที่ตัวเลขยอดผู้ป่วยจะสูงขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าคือผู้ป่วยเกือบทั้งหมดนั้นขาดความรู้ความเข้าใจในตัวโรคไขข้อเสื่อมเป็นอย่างมากจึงไม่รู้ว่าควรป้องกันอย่างไร รับมืออย่างไร ถ้าเป็นแล้วควรหาหมอไหม บทความนี้จึงอยากพาทุกๆคนไปรู้จักกับโรคข้อเข่าเสื่อมไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
ข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
โรคไขข้อเสื่อมคือภาวะที่กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อหัวเข่าเกิดถูกทำลายลงอย่างช้าๆเนื่องจากพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดแรงกดทับรวมไปถึงร่างกายผลิตน้ำหล่อเลี้ยงกระดูกที่ชื่อว่า คอลลาเจน ได้น้อยลง จนโครงสร้างเกิดการเปลี่ยนแปลง กระดูกสึกกร่อนและผิดรูป กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นหย่อนยาน ส่งผลให้ข้อเข่าไม่สามารถรองรับน้ำหนักตัวได้เหมือนเดิม จนเกิดการอักเสบเรื้อรังขึ้น จึงเป็นที่มาของอาการเจ็บปวดเวลาเดิน มีเสียงก๊อบแก๊บ ลงน้ำหนักเท้าไม่ได้นั่นเอง สถิติยังพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายสูงมากถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม
-
อายุ
- การสำรวจพบว่าผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีอาการของข้อเข่าเสื่อมาปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะผู้หญิง อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆหากขาดการดูแล ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีอาการของข้อเข่าเสื่อมสูงถึงร้อยละ 40 เลยทีเดียว เป็นการเสื่อมแบบไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิฐานว่าอาจเกิดจากการใช้งานหนักอย่างไม่รู้ตัวมาเป็นเวลานาน
-
เพศ
- เพศหญิงจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อมได้สูงกว่าเพศชาย 3 เท่า คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไร้ท่อของร่างกาย
-
น้ำหนักตัว
- การที่น้ำตัวสูงเกินค่ามาตรฐานไปมากนั้นจะส่งผลกับกระดูกข้อเข่าโดยตรง เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงกดทับที่ข้อเข่า 1.0-1.5 กิโลกรัม นอกจากภาวะคอเลสเตอรอลสูงยังส่งผลกระทบกับการผลิตเซลล์กระดูกอ่อนและมวลกระดูกต่างๆ ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก
-
การใช้งานข้อเข่า
- ในชีวิตประจำวันเรามักมีพฤติกรรมทำร้ายเข่าที่ไม่รู้ตัวและหลีกเลี่ยงได้ยากอยู่เสมอ เช่น ท่านั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า ท่านั่งขัดสมาธิ เพราะเป็นการสร้างแรงกดทับที่ข้อเข่าได้ รวมไปถึงการขึ้นลงบ่อยๆและลงน้ำหนักขาไม่ดี
-
กรรมพันธ์ุ
- ข้อเข่าเสื่อมอาจถูกส่งต่อผ่านกรรมพันธุ์ได้ เช่น การที่กระดูกไม่พัฒนาเต็มที่ การบกพร่องเซลล์ที่สร้างดูกอ่อน การขาดฮอโมนส์ที่ช่วยสร้างคอลลาเจน
-
พฤติกรรมเนือยนิ่ง
- หรือการขาดการออกกำลังกาย การนั่งเฉยๆและไม่บรรหารข้อเข่าเท่าที่ควรก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่งได้
อาการของข้อเข่าเสื่อม
ในระยะแรกจะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น ขึ้นลงบันไดแล้วรู้สึกเสียวแปร๊บ ไม่สามารถลงน้ำหนักเท้าได้เต็มที่เหมือนเดิม ข้อเข่าฝืดเคือง นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบลำบาก เมื่อขยับจะรู้สึกได้ถึงการเสียดสีของกระดูก มีเสียงก้อบแก้บเวลาเดิน
หากอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ถึงอาการเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ลงน้ำหนักเท้าไม่ได้ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อจะรู้สึกเจ็บทันที มีอาการอักเสบและบวม กล้ามเนื้ออาจลีบ ข้อเข่าโก่ง และบิดเบี้ยวผิดรูป
การตรวจข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นจะถูกวินิจฉัยจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ อาการ แพทย์จะซักถามอาการที่พบบ่อยเพื่อประเมินระยะอาการและความรุนแรงของโรค ต่อมาคือ อายุ หากช่วงอายุสัมพันธ์กับอาการเจ็บข้อเข่าก็ถือว่าเข้าเค้าโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว จากนั้นแพทย์อาจจะพิจารณาวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีรังสีวิทยาและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ แพทย์จะตรวจหาตำแหน่งกดเจ็บ ตรวจดูการอักเสบ อาการบวม อุ่นในข้อ ตรวจดูว่ามีการบวมน้ำในข้อว่ามีหรือไม่ ซึ่งจะบ่งบอกว่ามีการอักเสบในเข่า, ขยับเข่าดูเสียงในข้อ, ตรวจดูมุมเข่าตอนยืนลงน้ำหนัก, ตรวจดูมุมการเคลื่อนไหวข้อเข่าตอนเหยียด งอ ว่าติดขัดหรือไม่
ในส่วนการตรวจด้วยวิธีรังสีวิทยานั้น แพทย์จะทำการจรวจเอกซเรย์ข้อเข่าธรรมดา โดยจะเอกซเรย์ออกมาใน 2 ภาพ คือ หน้าตรงของข้อเข่า และด้านข้าง ทั้งท่านั่งและท่ายืน หรืออาจเอ๊กซเรย์ในท่างอเข้าเพิ่มเติมก็จะทำให้ได้ข้อมูลละเอียดมากขึ้น ในส่วนของการทำ CT สแกนหรือตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้า MRI นั้นจะใช้ตรวจก็ต่อเมื่อแพทย์สงสัยว่าอจจะมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆเพิ่มเติมอีก เช่น หาความผิดปกติของหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เนื้องอกในเข่า เอ็นผิวหนังอักเสบ และโรคกระดูกผิวขาดเลือด
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นมีอยู่หลายวิธี อยู่กับว่าผู้ป่วยอาการหนักไหน หรือโรคไขข้อเสื่อมอยู่ในระยะไหนแล้ว โดยมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นต่างกัน เช่น ฟื้นฟูการทำงานของข้อเข่า ลดอาการปวก ชะลออาการของโรค บำรุงลดความเสี่ยง รวมไปถึงการป้องกันข้อเข่าจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดมาได้ หากผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าอาการไม่รุนแรงหนัก แพทย์จะทำการรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยการให้ความรู้ในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อม แนะนำการกายบริหารข้อเข่า การใช้อุปกรณ์ในการเคลื่อนที่ เช่น ไม้เท้า การเสริมส้นรองเท้า ผ้ารัดหัวเข่า เพื่อเป็นการลดการกดทับของข้อเข่า อาจมีการใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้ความร้อน ฝังเข็ม และเลเซอร์ หากการรักษาไม่เห็นผลอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาโดยใช้ยา การใช้ยาจะเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย อาจมีการใช้ยยาในหลากหลายกลุ่ม ได้แก่
- ยาพาราเซตามอล เพื่ออาการปวดข้อเข่า
- ยาต้านการอักเสบ เพื่อลดอาการอักเสบ แสบบริเวณหัวเข่า
- ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต ชะลอการเสื่อม ลดปวดแสบ ซ่อมแวมพื้นผิวข้อต่อ เป็นยาที่เหมาะผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มต้น
- การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยลดความฝืดเคืองของข้อเข่า สลับขัยบได้ไหลลื่นมากขึ้น การอาการเสียวแปร๊บและปวดของหัวเข่า
- การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ จะใช้ในกรณีที่อาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรงและรักษาด้วยกรณีอื่นไม่ได้ผลแล้ว
ทั้งการกินยาและรักษาด้วยตัวเองนั้น ไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ ไม่หายขาดอาจกลับมาเป็นอีก และไม่สามารถการันตีผลข้างเคียงได้เลย ซึ่งหากต้องการให้หายขาดอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ฝันร้ายที่ใครก็ไม่อยากโดน
หากภาวะเสื่อมและอักเสบหนักมากขึ้น จนไม่สามารถขยับได้จนกลายเป็นความพิการกลายๆแล้วนั้น ยาและวิธีกายภาพบำบัดจะใช้ไม่ได้ ผลคือหมอจะวินิจฉัยให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการผ่าตัดเพื่อแทนที่ข้อเข่าที่เสื่อมจนสึกเกินรักษาแล้วด้วยข้อเข่าเทียมทีมาจากวัสดุเทียมต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าการผ่าตัดเป็นสิ่งที่น่ากลัว เจ็บตัว และเสียเงินหลักแสนบาทต่อข้อเข่า 1 ข้างเลยทีเดียว อีกทั้งยังเกิดการเสื่อมได้หากผู้ป่วยยังคงใช้งานข้อเข่าอย่างหนักเหมือนเดิม
ดังนั้นดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมแต่เนิ่นๆ พบแพทย์ตั้งแต่อาการยังน้อยนั้นย่อมดีกว่ามาเสียเงินเสียเวลาหาหมอ กินยา ผ่าตัดนะคะ
พฤติกรรมเหล่านี้ควรเลี่ยงด่วน
สถิติในปัจจุบันพบว่าไม่ใด้มีเพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ แต่ผู้คนในวัยทำงานก็มีภาวะอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน สาเหตุนั้นมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำร้ายข้อเข่าโดยไม่รู้ตัวดังนี้ค่ะ
ท่านั่งที่ทำร้ายกระดูกข้อเข่า
- เช่น นัดพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นท่านั่งที่จะสร้างแรงกดทับที่หัวเข่ามาก ยิ่งทำบ่อยข้อเข่าก็ยิ่งถูกทำลายมากขึ้น
พฤติกรรมเนือยนิ่ง
- เช่น การนั่งทำงาน ดูทีวี อ่านหนังสือ ในท่าเดิมนานๆและไม่ลุกไปไหน ทำให้มวลกระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแอลง มีโอกาสเกิดการฝืดเคืองที่ข้อต่อมากกว่าคนที่มีการยืดเส้นยืดสายเป็นประจำ
น้ำหนักตัว
- ยิ่งเรามีน้ำหนักตัวมากขึ้นก็จะสร้างแรงกดทับที่ข้อเข่ามากขึ้นตามไปด้วย หากมีพฤติกรรมเนือยนิ่งและนั่งผิดท่าร่วมด้วย จะเป็นตัวเร่งให้กระดูกข้อเข่าเสื่อมมากยิ่งขึ้นค่ะ
พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมทั่วไปที่ถือว่าหลีกเลี่ยงยากมากๆที่จะไม่เผลอทำร้ายข้อเข่าของตัวเอง ดังนั้นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ข้อเข่าไม่ถูกทำลายลงได้คือการเพิ่มคอลลาเจนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ เพราะคอลลาเจนเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าที่จะช่วยรับมือกับแรงกดทับได้ เป็นเสมือนกาวที่ยึดข้อเข่ากับกระดูกไว้ด้วยกัน ยิ่งมีเยอะความเสี่ยงที่ข้อเข่าจะเสื่อมก็ยิ่งน้อยลงค่ะ อย่างไรก็ตามคุณผู้อ่านอาจกำลังคุ้นเคยว่าคอลลาเจนช่วยเรื่องผิวพรรณสวยใสลดริ้วรอย แต่ในความจริงแล้วคอลลาเจนมีหลายประเภทและแต่ละตัวก็มีจุดเด่นต่างกัน