จ-ศ 08:00 น. -17:00 น.

ความดันสูง เกิดจากอะไร ได้บ้าง 7 สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยง 

ความดันสูง เกิดจากอะไร ได้บ้าง 7 สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยง 

สารบัญเนื้อหา

ความดันโลหิตสูง เป็นเหมือน “ภัยเงียบ” ที่ค่อย ๆ เข้ามาบ่อนทำลายสุขภาพของเราโดยไม่รู้ตัว หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้มีอาการชัดเจน แต่ความจริงแล้ว ความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการให้สังเกตในระยะแรก ทำให้เราละเลยและปล่อยปละจนเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา เช่น หัวใจวายหรือเส้นเลือดในสมองแตก ดังนั้น การรู้เท่าทันสาเหตุและวิธีป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากค่ะ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุที่มักมีโอกาสเสี่ยงในโรคดังกล่าวมากเป็นพิเศษ

ความดันสูง เกิดจากอะไร ได้บ้าง 7 สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยง 

โดยปกติแล้วสำหรับคำถามที่ว่า ความดันสูง เกิดจากอะไรได้บ้าง นั้น ขอตอบได้เลยว่ามีหลากหลายสาเหตุค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้ว ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง รวมถึงวิธีป้องกันเพื่อให้คุณดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมวิธีป้องกัน ลองไปดูกันเลยค่ะ

1. พันธุกรรม

หากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้นตามไปด้วย
เนื่องจากยีนบางตัวภายในร่างกายของเรา อาจมีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ส่งผลให้บางคนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันสูงมากกว่าคนอื่น ๆ นั่นเองค่ะ 

2.ความเครียดในชีวิตประจำวัน

ความเครียดสะสมจากปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เพราะเมื่อเรารู้สึกเครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วและหลอดเลือดหดตัว จึงเพิ่มแรงดันในหลอดเลือด 

3.พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือสูง เช่น อาหารแปรรูป หรืออาหารจานด่วน สามารถเพิ่มปริมาณเกลือในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันโลหิตสูง หากมีคำถามว่า ความดันสูง เกิดจากอะไรได้บ้าง ปัจจัยด้ายพฤติกรรมการรับประทานอาหารถือเป็นสาเหตุต้น ๆ เลยนั่นเองค่ะ ดังนั้น การเลือกทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และโปรตีนที่ดี เช่น ปลา หรือถั่ว จะช่วยลดความเสี่ยงได้

4.การขาดการออกกำลังกาย

เมื่อเราไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของ ความดันสูง เกิดจากอะไรได้บ้าง เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างเต็มที่ การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินเร็ว การปั่นจักรยาน หรือโยคะ ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และลดความดันได้

5.การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดตัวและแข็งกระด้างขึ้น ส่งผลให้แรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถกระตุ้นความดันโลหิตได้เช่นกัน การลดหรือเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ จะช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น 

6.การใช้ยาบางชนิด

ยาบางชนิดอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ โดยมีการศึกษาในปี 2564 มีการสำรวจผู้คนในวัยผู้ใหญ่จากจำนวน 27,599 คน พบว่า 18.5% ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงใช้ยาที่อาจมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น สำหรับยาที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันสูง ได้แก่

  • สเตียรอยด์
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ยาลดความแออัด
  • ยาแก้ปวด
  • ยาคุมกำเนิด

หากคุณมีความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับยาที่ใช้ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณค่ะ

7. นอนหลับไม่เพียงพอ

จากข้อมูลของ CDC แนะนำว่าคนที่อายุมากกว่า 18 ปีควรนอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมงในแต่ละคืน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่หลายคนอาจนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะถ้าหากว่าคุณมีภาวะของความดันโลหิตสูง เนื่องจากเวลาที่เรานอนหลับ ความดันโลหิตจะลดลง ทำให้ร่างกายได้ฟื้นฟู แต่หากว่าถ้าเรานอนไม่พอ หรือมีปัญหาการนอนบ่อย ๆ ร่างกายก็จะไม่ได้พักอย่างที่ควร การนอนหลับที่ไม่พอจึงอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและสุขภาพไม่ดีทำให้ป่วยได้ง่ายอีกด้วยค่ะ 

TIPS: เพิ่มเติม

ความดันโลหิตสูงควรนอนแบบไหน

  • นอนตะแคง: เป็นท่าที่แนะนำให้ผู้มีความดันโลหิตสูงเลือก เพราะช่วยลดแรงกดทับบริเวณหัวใจและหลอดเลือดใหญ่ ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
  • ใช้หมอนหนุนศีรษะและไหล่: การหนุนศีรษะและไหล่ในระดับที่เหมาะสมจะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและลดอาการหายใจขัดข้องขณะนอนหลับ ซึ่งอาจส่งผลต่อความดันโลหิตได้
  • หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ: การนอนคว่ำจะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันและเพิ่มแรงกดทับบริเวณหน้าอก ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบากและความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ความดันสูง 170 อันตรายไหม

ค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มม.ปรอท เมื่อค่าความดันโลหิตสูงเกินกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง ดังนั้นค่า 170 มม.ปรอท จึงสูงกว่าเกณฑ์ปกติมาก ดังนั้น หากคุณมีค่าความดันโลหิต 170 มม.ปรอท ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

สรุป

การที่เราสามารถรู้ได้ว่า ความดันสูง เกิดจากอะไรได้บ้าง และรู้จักการป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นค่ะ นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้สึกสดชื่นและมีพลังมากขึ้นในชีวิตประจำวัน การเลือกใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง แต่ยังเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเราเองอีกด้วย การเริ่มต้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการดูแลสุขภาพในระยะยาวค่ะ

แหล่งที่มา

healthline.com

healthline.com

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ