กระดูกพรุน
กระดูกพรุน คือการที่กระดูกสูญเสียมวลและความหนาแน่น ทำให้เปราะบางลง หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆคือถูกใช้งานมานานและสึกกร่อนตามกาลเวลานั่นแหละ เมื่อเวลาผ่านไปตามอายุ ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน กระดูกก็จะยิ่งอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ เพิ่มความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
จากข้อมูของ CDC (ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค) ล่าสุด 4 พฤศจิกายน 2022 พบว่า ประชากรในสหรัฐ เพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นกระดูกพรุนที่โคนขาและกระดูกสันหลัง 4.2% และผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป 18.8%
กระดูกเสื่อม ห้ามกินอะไร บ้าง ?
ส่วนใหญ่กระดูกเสื่อม ห้ามกินอะไรนั้น ไม่เชิงกับว่าห้ามกินไปเลยซะทีเดียว แต่เพียงแค่ให้กินในปริมาณที่น้อยลง หรือ นานๆกินทีก็ได้ แต่นานๆทีก็ไม่ควรกินทีละเยอะๆเหมือนเดิมนะ กินแต่น้อยก็พอ การกินอาหาร ไม่ว่าอาหารนั้นจะไม่ดีต่อร่างกาย หรือ ดีต่อร่างกายแค่ไหน แต่การกินมากเกินไป ไม่เคยดีต่อร่างกายเหมือนๆกัน
1.แอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆนั้นไม่ดีต่อสุขภาพในหลายๆด้านอย่างมากโดยเฉพาะสุขภาพกระดูก (แต่ในทางกลับกันมีการศึกษาขนาดเล็กที่พบว่าการดื่มเบียร์ 1-2 แก้วต่อวันนั้นดีต่อสุขภาพ) การดื่มแอลกอฮอล์ประมาณมากๆเป็นเวลานานๆส่งผลต่อมวลกระดูก ทำให้การสร้างกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง หักง่ายขึ้นกว่าปกติ โดยมีการศึกษาในผู้หญิง 19-30 ปี ถูกตีพิมพ์ในปี 2015 โดย BMJ Open ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นเวลานาน พบว่าความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เหล้า
- ไวน์
- เบียร์
- ค็อกเทล
2.อาหารโซเดียมสูง
โซเดียม หรือเข้าใจง่ายๆคือ ความเค็ม ที่คนไทยติด และอาหารแต่ละมื้อต้องเค็มๆ ถึงจะอร่อย แต่ความอร่อยนั้นมักจะทำให้คนไทยกินโซเดียมกันเกินปริมาณที่แนะนำต่อวันถึง 2 เท่า ซึ่งโซเดียมนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายถ้ากินในปริมาณที่แนะนำต่อวัน (ประมาณ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน) แต่ถ้ากินเกินปริมาณที่แนะนำต่อวันเป็นประจำ จะส่งผลเสียต่อร่างกายในหลายๆด้าน รวมถึงสุขภาพกระดูกด้วย
มีการศึกษาในปี 2016 จากชายจีนที่ชอบกินเค็มเป็นประจำพบว่า ผู้ชายเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นกระดูกเสื่อมมากกว่าปกติ และ มีการศึกษาในปี 2008-2011 ที่พบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินเค็มเป็นประจำก็ทำให้มวลกระดูกลดลงเช่นกัน
อาหารที่มีโซเดียมสูง
- ผักดอง
- ผลไม้ดอง
- ปลาเค็ม
- หมึกดอง
- แหนม
- ทูน่ากระป๋ง
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- ขนมขบเคี้ยว
- อื่นๆที่มีรสเค็ม
3.ขนมหวาน
น้ำตาลไม่ได้ทำให้กระดูกเสื่อมโดยตรง แต่การที่ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินต้องการ ส่งผลเสียในหลายๆด้าน รวมถึงกระดูกอีกด้วย เพราะน้ำตาลมีส่วนเพิ่มระดับความอักเสบในร่างกาย รวมถึงการอักเสบที่จะเกิดกับกระดูกอีกด้วย นอกจากนี้การกินน้ำตาลปริมาณมากๆเป็นเวลานานๆอาจมีส่วนรบกวนการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกได้รับแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรจะได้แม้จะมีการกินอาหารที่มีแคลเซียมอยู่ก็ตามที และการกินน้ำตาลหรือของหวานเกินที่ร่างกายต้องการเป็นประจำยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และน้ำหนักตัวที่มากขึ้นก็ส่งผลโดยตรงกับกระดูกอีกด้วย
อาหารที่มีน้ำตาลสูง
- ขนมหม้อแกง
- ขนมตระกูลทอง (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง)
- ไอศกรีม
- เค้ก
- ขนมปัง
- ชานม
- กาแฟเย็น
- น้ำผลไม้
- อื่นๆที่มีรสหวาน
4.คาเฟอีน
ข้อนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะบางงานวิจัยก็บอกว่าคาเฟอีนดีต่อกระดูก บางงานวิจัยก็บอกว่าไม่ดีต่อกระดูก
งานวิจัยบางส่วนได้พบว่า ในสัตว์ทดลองที่มีการให้คาเฟอีน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก และ มีการศึกษาเพิ่มเติมในหนูที่ทั้งครรภ์อยู่ พบว่า การเจริญเติบโตของกระดูกของทารกในครรภ์หนูมีการเจริญเติบโตช้าและ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คาเฟอีนอาจะมีส่วนรบกวนกระบวนการสร้างกระดูกอ่อนใหม่ และยังมีผลต่อการเผาผลาญแคลเซียมอีกด้วย แต่งานวิจัยก็ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าคาเฟอีนจะรบกวนการเผาผลาญในร่างและและการกำจัดแคลเซียมหรือไม่ ปริมาณที่แนะนำของคาเฟอีนต่อวันคือ 400 มก. คือปริมาณที่สูงสุดที่ร่างกายรับไหวต่อวัน การกินบางอย่างในปริมาณที่พอเหมาะอย่างชาเขียว อาจมีประโยชน์ต่อกระดูก แต่ถ้ากินมากเกินไปและได้รับคาเฟอีนมากกว่า 400 มก. เป็นกระจำอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้
อาหารที่มีคาเฟอีน (ค่าประมาณ)
- กาแฟ (95 มก./ 6 ออนซ์)
- ชาบางชนิด (เช่นยาแก้ไมเกรน)
- ช็อกโกแลต (1 ออนซ์ /20 มก.)
- เครื่องดื่มชูกำลัง (1ขวด/150 มก.)
- ชาเขียว (1 ถ้วย/25 มก.)
5.น้ำอัดลม
น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้รู้สึกชื่นได้ดี โดยเฉพาะช่วงเมษานี้ที่อากาศค่อนข้างร้อนมากๆ การกินน้ำอัดลมช่วงนี้เป็นอะไรที่สดชื่นมากๆสำหรับหลายๆคนแต่ก็มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมโซดาอยู่ เพราะหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาว่าโซดาส่งผลต่อฟันและกระดูก เพราผลมาจากฟอสเฟตในน้ำอัดลม ที่เป็นตัวรบกวนการดูดซึมแคลเซียม
แต่ความจริงแล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดจริงๆ ว่าการกินฟอสเฟตปริมาณมากๆจะส่งผลต่อความหนาแน่นของกระดูกจริงๆ Harvard Medical School ได้กล่าวไว้
และยังมีการศึกษาในผู้หญิงและผู้ชายอายุระหว่าง 49-69 ปี จำนวน 2,500 คนเกี่ยวกับการดื่มน้ำอัดลม ผลปรากฏว่า คนที่ดื่มน้ำอัดลมที่ไม่ใช่โคลาไม่เกี่ยวกับ BMD (Bone Mineral Density) ความหนาแน่นของมวลกระดูก แต่ในผู้หญิงที่ดื่มน้ำอัดลมประเภทโคล่า มีส่วนทำให้ BMD ต่ำลง ยิ่งผู้หญิงเหล่านี้ดื่มน้ำอัดลมประเภทโคล่าเท่าไหร่ ค่า BMD ก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น จากการทดลองนี้ ผู้หญิงเหล่านี้ที่ดื่มน้ำอัดลมประเภทโคล่าไม่ได้มีการดื่มนมน้อยลงแต่อย่างใด แต่ปรากฏว่า มีปริมาณแคลเซียมต่ำลงกว่าที่ควร
แต่ก็ยังมีงานวิจัยอื่นๆอย่างการดื่มน้ำอัดลมประเภทผสมคาเฟอีน ที่พบว่า มวลกระดูกสะโพกลดลง
เรื่องโซดา น้ำอัดลม ตามจริงแล้ว ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ และ ยังเป็นที่ถงเถียงกันอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ ซึ่งเป็นอะไรที่ยากจะสรุปได้ แต่เบื้องต้นถ้าใครชอบโซดา แล้วกลัวมีผลต่อฟัน ให้ลองใช้หลอด เพื่อลดโอกาสที่โซดาหรือน้ำอัดลมจะโดนฟัน ก็อาจช่วยเลี่ยงได้
6.เนื้อแดง
เนื้อแดงมีกรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายย่อยสลายแล้วสามารถทำลายกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อฟันและข้อต่อได้ แถมยังมีสารประกอบอย่าง แอนโทไซยานินที่สูง ซึ่งสารนี้จะเป็นตัวกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงอาการเสื่อมของกระดูกอีกด้วย
สรุป
มีหลายวิธีที่จะช่วยให้อาการกระดูกเสื่อมดีขึ้น และอาหารก็มีบทบาทสำคัญอีกด้วย การจำกัดปริมาณรู้ว่ากระดูกเสื่อม ห้ามกินอะไรบทความนี้ สามารถช่วยลดการอักเสบและอาจบรรเทาอาการกระดูกเสื่อมได้ในระดับนึง เพราะอาหารที่กล่าวมาล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกเสื่อมลงทั้งนั้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Association between alcohol consumption and Korean young women’s bone health: a cross sectional study from the 2008 to 2011 Korea National Health and Nutrition Examination Survey – PubMed (nih.gov)
- Salty food preference is associated with osteoporosis among Chinese men – PubMed (nih.gov)
- High dietary sodium intake is associated with low bone mass in postmenopausal women: Korea National Health and Nutrition Examination Survey, 2008-2011 – PubMed (nih.gov)
- The effects of caffeine on bone mineral density and fracture risk – PubMed (nih.gov)
- Effects of caffeine on bone and the calcium economy – PubMed (nih.gov)
- By the way, doctor: Does carbonated water harm bones? – Harvard Health
- Sodas and Colas are associated with an increase in fractures – PMC (nih.gov)