เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร หลายคนอาจคุ้นเคยกับ “โพรไบโอติก” ที่เป็นจุลินทรีย์ดีในลำไส้ที่ช่วยเสริมสุขภาพ แต่ไม่ใช่แค่โพรไบโอติกเท่านั้นที่มีความสำคัญ “พรีไบโอติก” (Prebiotic) ก็มีบทบาทที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งพรีไบโอติกทำหน้าที่เสมือนอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รู้หรือไม่ prebiotic มีอะไรบ้าง เคล็บลับสุขภาพดีที่ต้องรู้
หลายคนอาจจะรู้จักโพรไบโอติกกันไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่า prebiotic มีอะไรบ้าง ในบทความนี้ เราจะพามารู้จักเจ้าตัวพรีไบโอติสารอาหารที่ช่วยบำรุงแบคทีเรียดีในลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองมาดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้างที่น่าสนใจ
พรีไบโอติก คือ เส้นใยอาหารหรือส่วนประกอบอาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้โดยตรง แต่เมื่อผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ จะถูกจุลินทรีย์โพรไบโอติกนำไปใช้เป็นอาหาร ส่งผลให้โพรไบโอติกเจริญเติบโตได้ดีและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับลำไส้ พรีไบโอติกยังช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่ดี ลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย ซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น
พรีไบโอติกพบในอาหารอะไรบ้าง?
1.กระเทียม
ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิด บิฟิโดแบคทีเรีย (1) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในลำไส้ ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวมและรักษาการติดเชื้อในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปรุงการย่อยอาหารและบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องผูก และผื่นผิวหนังอักเสบนอกจากนี้ กระเทียม ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้อีกด้วย
2.หอมหัวใหญ่
ถ้าถามว่า prebiotic มีอะไรบ้าง หอมหัวใหญ่ถือเป็นคำตอบที่สำคัญเลยค่ะ เพราะเป็นหนึ่งในอาหารที่มีอินูลินและฟรุกแทนสูง ฟรุกแทนเป็นใยอาหารที่จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ใช้เป็นแหล่งอาหาร ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดี
3.กล้วย
กล้วยมีใยอาหารที่ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีในลำไส้ โดยเฉพาะกล้วยห่ามซึ่งมีพรีไบโอติกมากกว่ากล้วยสุก ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ จากงานวิจัยพบว่า (3) กล้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านทานอัลฟาอะไมเลสและทริปซิน ความสามารถในการกระตุ้นการเติบโตของแล็กโทบาซิลลัส และยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค ดังนั้น กล้วยจึงเป็นแหล่งพรีไบโอติกที่ดีมาก ๆ ค่ะ
4.กีวี่
กีวีเป็นผลไม้ที่มีสีสันสดใส อุดมไปด้วยโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นสารเคมีจากพืชที่มีฤทธิ์พรีไบโอติก ส่งผลดีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ อีกทั้งยังมีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสรและสารต้านการอักเสบ เรียกได้ว่าจิ๋วแต่แจ๋วสุด ๆ เป็นผลไม้ที่ช่วยเพิ่มปริมาณพรีไบโอติกในร่างกายได้เป็นอย่างดี
5.แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารเพคติน ซึ่งเป็นพรีไบโอติกชนิดหนึ่งที่ช่วยเสริมจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เพคตินยังช่วยลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย แอปเปิ้ลจึงเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติที่ดีในการเสริมสร้างระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารประกอบที่มีประโยชน์มากมาย (ไฟเบอร์ โพลีฟีนอล และอื่นๆ) การบริโภคแอปเปิ้ลเป็นประจำจึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก (7)
6.ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตมีเบต้า-กลูแคนและใยอาหารละลายน้ำที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ (2) แถมยังสามารถช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย
7.มันฝรั่ง
จากการศึกษาวิจัยพบว่าการรับประทานมันฝรั่ง ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการท้องร่วงและท้องผูกได้อีกด้วย (5)
พรีไบโอติก กินตอนไหน
โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานพรีไบโอติกพร้อมกับอาหารมื้อหลัก หรือหลังอาหารมื้อหลักประมาณ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมพรีไบโอติกได้ดีขึ้น เนื่องจากมีอาหารอื่นๆ ช่วยในการเคลื่อนย้ายพรีไบโอติกไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ค่ะ แต่หากการรับประทานพรีไบโอติกในขณะท้องว่างอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้
พรีไบโอติก ช่วยอะไร
พรีไบโอติกคืออาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้ ช่วยให้แบคทีเรียเหล่านี้เจริญเติบโตและทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพหลายด้าน เช่น ช่วยปรับปรุงระบบขับถ่าย ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น (8) และยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
ยาคูลท์มีโพรไบโอติกไหม
ยาคูลท์มีโพรไบโอติกค่ะ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการท้องผูก ท้องเสีย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นค่ะ โดยจุลินทรีย์หลักในยาคูลท์คือ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ ชิโรต้า (Lactobacillus casei strain Shirota)
พรีไบโอติกกับไฟเบอร์ ต่างกันอย่างไร?
ไฟเบอร์: เป็นเส้นใยอาหารทั่วไป ช่วยในการขับถ่าย
พรีไบโอติก: เป็นชนิดของไฟเบอร์ที่เป็นอาหารของแบคทีเรียดี ช่วยปรับสมดุลในลำไส้
แหล่งอ้างอิง
3.การศึกษาคุณสมบัติพรีไบโอติกของกล้วยสายพันธุ์ที่เลือกในประเทศไทย| ห้องสมุดการแพทย์แห่งชาติ NIH