กระดูกเสื่อม เกิดจากอะไร
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน บางคนใช้งานร่างกายอย่างหนักมาตลอด ทำให้ข้อต่อต่างๆตามร่างกายถูกทำลายมาเรื่อยๆ รวมถึงอายุที่มากขึ้นทำให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนที่เป็นน้ำหล่อเลี้ยงกระดูกได้น้อยลง และทำให้โครงสร้างกระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลงจนบางทีอาจผิดรูป รวมไปถึงเส้นเอ็นที่เริ่มหย่อนยาน ส่งผลให้กระดูกและข้อต่อต่างๆ ไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้เหมือนเดิม ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนเกิดเสียงดังเวลาขยับตัว
กระดูกเสื่อม ในผู้สูงอายุ ?
ภาวะกระดูกเสื่อม ในผู้สูงอายุคือภาวะที่โครงสร้างของกระดูกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกระดูกข้อต่อต่างๆ เช่นข้อเข่า ข้อเท้า ข้อแขน เป็นต้น แต่โรคกระดูกเสื่อมส่วนใหญ่แล้วนั้นมักจะเสื่อมในกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมาดกขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูก และเนื้อเยื่อที่หุ้มกระดูกอยู่
ทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมลง จนทำให้กระดูกเคลื่อนตัวไปกดทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดหลัง ยิ่งปวดมาก ยิ่งหมายถึงกระดูกเสื่อมมาก และนอกจากการอายุที่มากขึ้นแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีการยกของหนักๆ ทำให้ข้อต่อต่างๆตามร่างกางหรือกระดูกสันหลังทำงานหนักอยู่ประจำ ยิ่งทำให้เกิดกระดูกเสื่อมได้ง่ายขึ้นไปอีก
กระดูกเสื่อม กินอะไรดี
1.ผัก
มีการศึกษาพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระของวิตามินซีในผัก อาจมีส่วนช่วยปกป้องเซลล์กระดูกจากความเสียหายได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้หญิง วัยเด็กไปจนถึง ผู้หญิงที่อายุ 50 ปีขึ้นนไป พบว่า การกินผักบ่อยๆ ทำให้ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนลดลงถึง 20% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่กินผักอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงผักอย่างเช่น ผักโขม และหน่อไม้ เป็นต้น เพราะมีสาร ออกซาเลต ที่ไม่ดีต่อกระดูก
2.ไข่
การกินไข่นั้นดีต่อสุขภาพมาก เพราะในไข่มีโปรตีนคุณภาพสูงอยู่ และยังมีวิตามินดีซึ่งดีต่อกระดูกในการดูดซับแคลเซียมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามไข่แดงมีไขมันเลว (LDL) อยู่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนปกติสามารถกินไข่ได้ประมาณ 7-12 ฟอง ต่อสัปดาห์ ได้ ไม่เป็นอะไร แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องของไขมันในเลือด ไม่แนะนำให้กินไข่แดง อย่างไรก็ตาม การกินเฉพาะไข่ขาว สามารถกินแค่ไหนก็ได้ ตามที่ต้องการ เพราะไข่ขาว ดีต่อสุขภาพ และไม่อันตรายอีกด้วย
3.นม
นมคือแหล่งที่ดีที่สุดของแคลเซียม และนมยังเป็นที่แนะนำที่สุด สำหรับการบำรุงกระดูก ในนม 1 ถ้วย มีแคลเซียมถึง 300 มิลลิกรัม หรือประมาณ 30% ที่ร่างกายต้องการต่อวันเลยทีเดียว และควรเลือกนมที่มาจากพืช เพราะนมจากพืชมีแคลเซียมและวิตามินดีมากกว่านมวัวทั่วๆไป
4.โยเกิร์ต
เนื่องจากโยเกิร์ตทำมาจากนม เลยไม่แปลกที่การกินโยเกิร์ตจะเป็น 1 ใน ตัวเลือกในการบำรุงกระดูก แถมยังมีการศึกษาอีกว่า การกินโยเกิร์ตทำให้มีการสร้างกระดูกมากขึ้นอีกด้วย
5.เห็ด
เห็ดเต็มไปด้วยวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก เพราะวิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า วิตามินดีในเห็ด สามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และการเพิ่มอาหารที่มีวิตามินดีในช่วงเช้านั้น ทำให้สุขภาพกระดูกดีขึ้นอย่างมาก
กระดูกเสื่อม ห้ามกินอะไร
1.คาเฟอีน
ในเครื่องดื่มที่มีคาเเฟอีนตามท้องตลาด เช่น กาแฟ น้ำอัดลม อาจมีส่วนทำให้กระดูกเสื่อมลงไวขึ้นได้ เนื่องจากคาเฟอีนอาจมีส่วนลดการดูดซึมของแคลเซียมทำให้กระดูกได้รับแคลเซียมไม่มากพอ
2.ผักโขม และ อาหารที่มี ออกซาเลต (oxalate)
ออกซาเลต (oxalate) หรือ กรดออกซาลิก เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญๆ ซึ่งหากได้รับ ออกซาเลต (oxalate) ในปริมาณมากๆ ทุกวัน อาจทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ ผักที่มี ออกซาเลต (oxalate) ได้แก่ ผักโขม หน่อไม้ ผักกาด คะน้า เป็นต้น
3.ถั่ว
ถั่วเป็นของกินเล่นที่ทำให้อิ่มง่าย อิ่มนาน และไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย แต่ถึงเวลาว่าถั่วจะมีดีหลายอย่าง และเป็นแหล่งของสารอาหารอย่าง แคลเซียม แมนีเซียม และ ใยอาหาร แต่ในทางกลับกัน ถั่วยังมีสารที่เรียกว่า ไฟเตต (phytate) สูงด้วยเช่นกัน ซึ่ง ไฟเตต (phytate) รบกวนการดูดซับแคลเซียมของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลง แต่ข่าวดีคือ ไฟเตต (phytate) ในถั่ว สามารถทำให้ลดลงได้ง่ายๆ ด้วยการแช่ถั่ว ในน้ำเปล่า แต่อาจจะต้องแช่หลายชั่วโมงหน่อย
4.เนื้อสัตว์ และอาหารที่มีโปรตีนสูง
จะบอกว่าห้ามเลยก็ไม่ได้ เพราะว่าโปรตีนนั้นดีต่อสุขภาพ ถ้าได้รับในปริมาณที่ ไม่มากเกินไป และ ไม่น้อยเกินไป ผู้สูงอายุหลายคน ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งการได้รับโปรตีนที่ไม่เพียงพอนั้นเป็นอันตรายต่อกระดูกโดยตรง แต่การกินโปรตีนที่เยอะเกินไปในแต่ละมื้ออาหารนั้น ทำใหห้ร่างกายเกิดการสูญเสียแคลเซียม ข่าวดีคืออ ถ้าคิดว่าตัวเองกินเนื้อเยยอะเกินไป สามารถกิน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมได้
5.อาหารรสเค็ม
รู้หรือไม่ว่าการได้รับโซเดียมในเกลือเป็นปริมาณมากๆ ทำให้ร่างกายคุณสูญเสียแคลเซียมที่จำเป็นต่อกระดูกได้ ฉนั้น การงดอาหารกระป๋องที่เติมเกลือ หรือ เลี่ยงอาหารรสเค็มต่างๆได้ จะดีต่อสุขภาพกระดูกอย่างมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่สามารถกินรสเค็มได้เลย การจะกินอาหารที่มีรสเค็ม ควรดูฉลากก่อนว่ามีโซเดียมเท่าไหร่ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวันคือ 2,300 มก. ต่อวัน
กระดูกเสื่อม ป้องกันยังไงได้บ้าง
- ออกกำลังกาย
- กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
- กินอาหารเสริมที่มีวิตามินดี
- เลิกบุหรี่
- ลดดื่มแอลกอฮอล์
- เลี่ยงการยกของหนักๆ
กระดูกเสื่อม สาเหตุเกิดจากอะไร
- อายุที่มากขึ้น
- การกินยาสเตียรอยด์เกิน 3 เดือน
- ยาบางชนิด
- ฮอร์โมน
- กรรมพันธุ์
- ไม่ออกกำลังกาย
- น้ำหนัก
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่
กระดูกเสื่อม อาการ เป็นยังไง ?
- ปวดกระดูก
- ปวดเอว
- ปวดหลัง
- ชาตามเส้นประสาท
- แขน ขา ชา
- เหน็บ
- เคลื่อนไหวได้ช้าลง
- หลังตึง
- ก้ม เงย ลำบาก
- ปวดหัว (กรณีเป็นที่คอ)
- กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่อยู่
สรุป
กระดูกเสื่อม ไม่จำเป็นต้องเป็นกระดูกเสื่อม ในผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น เพราะถ้ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีการส่งผลต่อกระดูกและข้อต่อ ก็ทำให้ กระดูกเสื่อมได้เร็วขึ้น รวมไปถึงพฤติกรรมการกินที่ผิดวิธี ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซับแคลเซียมได้เต็มที่ ถึงแม้ว่าจะกินแคลเซียมไปเยอะก็ตาม ฉนั้น ควรเลือกกินอาหารให้ถูกถ้ารู้สึกปวดหลัง หรือ เวลาขยับมีเสียงก็อปแป๊บ หรือมองหาอาหารเสริมทางเลือกอย่าง Black Seeds ที่เป็นน้ำมันงาดำสกัดเย็น ที่ช่วยในเรื่องข้อเข่า ข้อต่ออักเสบต่างๆ นอกจากงาดำจะช่วยบำรุงข้อต่อแล้ว งาดำยังมีแคลเซียมและซิงค์ (ธาตุสังกะสี) ที่ให้แคลเซียมสูงกว่านมวัวถึง 6 เท่า จึงมั่นใจได้ว่าน้ำมันงาดำสกัดเย็น จะช่วยบำรุงทั้งกระดูกและข้อเข่าได้