ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ สูง เวียนหัว ทำไมถึงอันตรายมาก
ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ สูง เวียนหัว สาเหตุจากไขมันส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาหารที่คุณกิน ไขมันพวกนี้จะอยู่ในรูปของไขมัน หรือแคลอรี่พิเศษ ที่ไม่ได้ใช้ในทันทีที่กินเข้าไป แต่จะถูกแปลงเป็นไตรกลีเซอไรด์ และถูกนำไปที่เซลล์ไขมัน ที่เก็บไว้ และเมื่อร่างกายไม่สามารถใช้ ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ได้ทัน และระดับของไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงจนเกินไป จะเกิดคราบจุลินทรีย์ตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างปกติ
จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจตามมาอย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น ซึ่งหากเลือดไปเลี่ยงส่วนต่างๆไม่ดีพอ ส่งผลให้หัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกิดการเวียนศรีษะในที่สุด ซึ่งหากรู้ตัวว่ากินไขมันเยอะ แล้วเริ่มมีการเวียนหัว ให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด และเลี่ยงที่จะกินไขมันเลว เลือกกินไขมันดีแทน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับไขมัวเลว ไขมันดี
ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย ที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้หล่อเลี้ยงร่างกายในแต่ละวัน หากวันไหนร่างกายใช้พลังงานน้อย ร่างกายก็จะนำไตรกลีเซอไรด์ไปเก็บไว้ตามกล้ามเนื้อเพื่อเป็นพลังงานสำรอง บางส่วนก็ถูกนำไปเก็บสะสมไว้ที่ตับ ฟังดูเผิน ๆ อาจจะไม่มีอะไรมาก แต่ทว่าไขมันชนิดนี้กลับสามารถได้รับจากการทานอาหารประเภท ไขมันสัตว์ แป้ง แอลกอฮอล์ ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมที่ชอบกินของพวกนี้เป็นประจำแล้ว แน่นอนว่าเราจะได้รับไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่เกินความต้องการของร่างกาย ไขมันก็จะถูกนำไปเก็บสะสมมากขึ้น ๆ จนเกิดเป็นภาวะ ไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglycerides) ยิ่งมีค่าไขมันสะสมสูงก็ยิ่งเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน ความดันสูง ตามมา ไตรกลีเซอไรด์มักร่วมมือกับ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) ทำให้เกิดเป็นโรคที่อันตรายมากยิ่งขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ซึ่งสามารถนำไปสู่เหตุการเสียชีวิตได้
ไตรกลีเซอไรด์ ต่างจาก คอเลสเตอรอล อย่างไร?
แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นไขมันเหมือนกัน แต่ไตรกลีเซอไรด์จะทำให้อ้วน กลับกันคอเลสเตอรอลนั้นไม่ได้ทำให้อ้วนเสมอไป อีกทั้งคอเลสเตรอลยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการผลิตเซลล์ บำรุงระบบประสาท ปรับสมดุลฮอร์โมนส์อีกด้วย คอเลสเตอรอลยังสามารถแบ่งออกเป็นไขมันชนิดดีและไม่ดีอีกด้วย ดังนั้นถ้าทานแต่อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันดี สุขภาพก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ สูง ดูอย่างไร?
ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงนั้นเป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการเด่นชัด แต่ว่าอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวมาก ๆ
ดังนั้นหากใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยง การตรวจเช็คค่าไขมันของตัวเองสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถป้องกันตัวเองจากโรคร้ายต่าง ๆ ที่รอวันเกิดขึ้นได้ สถาบันสุขภาพได้ระบุว่าการตรวจเช็คค่าไขมันสะสมนั้นต้องดูค่่่าไขมันทั้ง 3 ตัวรวมกัน ไขมันเลว LDL, ไขมันดี HDL, ไตรกลีเซอไรด์ ถ้าหากไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ ก็จะทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง เพื่อความแม่นยำในการอ่านผล ผู้เข้ารับการตรวจควรงดรับประทานอาหาร 8 – 12 ชั่วโมง โดยค่าไตรกลีเซอไรด์ที่ไม่ควรเกินคือ 150 มิลลิกรัม ต่อ เดซิลิตร (mg/dL) อีกทั้งเรายังสามารถแบ่งระดับของภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงได้ตามนี้
- อันตราย: 150 – 199 mg/dL
- ค่อนข้างอันตราย: 200 – 499 mg/dL
- อันตรายมาก: มากกว่า 500 mg/dL
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ไตรกลีเซอไรด์สูง
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- พันธุกรรม (คนในครอบครัวมีประวัติภาะวไขมันสูง)
- โรคเกี่ยวกับตับ หรือ ไต
- วัยทอง
- โรคอ้วน
- สูบบุหรี่
- โรคต่อมไทรอยด์
- เบาหวาน ชนิดที่ 1 และ 2
น้ำมันสกัดเย็น 5 ชนิด Protriva Five oil
ไฟว์ ออยล์ น้ำมันรวมอโวคาโด้สกัดเย็น โดดเด่นด้วยน้ำมันอะโวคาโดเกรดนำเข้า จากประเทศเยอรมันนี รวมไปถึงน้ำมันคุณภาพดีต่างๆ อีก 4 ชนิด รวมกันจนกลายเป็นความลงตัวของน้ำมันเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง ไฟว์ ออยล์ ทางเลือกที่ดีของผู้ป่วยคอเลสเตอรลสูง เส้นเลือดในสมองและหัวใจตีบ
ต้องตรวจค่า ไตรกลีเซอไรด์ บ่อยแค่ไหน?
ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ค่าไขมันก็เป็นเรื่องอันตรายและต้องระวังมากขึ้นตามไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญบอกย้ำเตือนอยู่เสมอว่าให้ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงหมั่นตรวจวัดค่าไขมันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ในกลุ่มวัยรุ่นก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรชะล่าใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากพฤติกรรมการกินของคนในปัจจุบันนั้นมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้เชี่ยวชาญจึงมักแนะนำให้ตรวจทุก ๆ 4 – 6 ปี ยิ่งถ้าหากมีภาวะเบาหวานน้ำตาลสูง หรือคนที่บ้านมีประวัติภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ อาจจะต้องตรวจถี่ขึ้นเป็นทุก 3 – 4 ปี สำหรับผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 – 55 ปี และผู้หญิงอายุ 55 – 65 ปี ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ตรวจทุกปีจะเป็นการดีที่สุด
โรคแทรกซ้อนจากภาวะ ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ สูง
เมื่อมีไขมันในร่างกายสูง และไม่มีการกำจัดออกที่ดี ไขมันจะนำไปถูกเก็บไว้ตามมวลกล้ามเนื้อ และที่ตับ ซึ่งหากมีการนำไปเก็บไว้มาก ๆ จะเกิดเป็นภาวะไขมันพอกตับได้ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับอักเสบ(Pancreatitis) ได้ ซึ่งโรคนี้ถ้าไม่บรรเทาดูแลก็สามารถเสี่ยงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ภาวะไขมันสูงสะสมยังส่งผลกระทบระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหัวใจ รวมไปถึงโรคอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น
- โรคหลอดเลือดคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery Disease)
- โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (Coronary Artery Disease and Heart Attack)
- ภาวะระบบเผาผลาญผิดปกติ (Metabolic Syndome)
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Artery Disease : PAD)
เลี่ยงภาวะ ไตรกลีเซอไรด์สูง อย่างไรดี
แน่นอนว่าโรคนี้สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมก็ต้องแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคที่ดีและถูกต้องจะช่วยให้ระดับไขมันสะสมในเลือดลดลงได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- บริภาคอาหารที่ไขมัน น้ำตาล น้ำมันน้อย หลีกเลี่ยงของทอด และเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทผัก ผลไม้ควบคุมปริมาณน้ำตาล
- สะสมในกระแสเลือด
- งดบริโภคเครื่องดื่
- แอลกอฮอล์
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ 8 – 10 ชั่วโมง
- ลดน้ำหนัก ควบคุมให้เหมาะสมกับดัชนีมวลกาย
- จัดการกับปัญหาความเครียด
- ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่
ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงนั้นเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ง่าย อันเนื่องมาจากพฤติกรรมประจำตัวของเราเอง หากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเอาใจใส่ที่ดีก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด หรือหาตัวช่วยเป็นน้ำมันอโวคาโดรวม ไฟว์ออยล์ จากโปรทริว่า ดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากนะคะ