LDL Cholesterol คืออะไร ไขมันตัวร้าย มากไปอันตราย!

LDL Cholesterol คืออะไร ไขมันตัวร้าย มากไปอันตราย!

สารบัญเนื้อหา

คอเลสเตอรอล คืออะไร

คอเลสเตอรอล คือ สารชนิดเดียวกับ ขี้ผึ้งแต่เหมือนไขมัน หรือจะเรียกไขมันเลยก็ไม่ผิด คอเลสเตอรอลจะพบได้ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกาย เพราะ ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลในการสร้าง ฮอร์โมน วิตามินดี และช่วยในการย่อยอาหาร แต่ถ้าเยอะเกินไป คอเลสเตอรอลส่วนเกินจะไปจับกับสารอื่นในหลอดเลือด กลายเป็นคราบจุลินทรีย์ตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตันในที่สุด

LDL Cholesterol คืออะไร

LDL Cholesterol คืออะไร

คอเลสเตอรอลในร่างกายที่ถูกส่งผ่านหลอดเลือดจะถูกส่งผ่านโปรตีน 2 ชนิด เรียกโปรตีน 2 ชนิดนี้ว่าไลโปโปรตีน (Lipoproteins) LDL Cholesterol คือ (ไขมันเลว) และ HDL Cholesterol คือ(ไขมันดี) ซึ่ง LDL Cholesterol คือ ไขมันเลว หรือ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ

เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่พบได้มากที่สุดในหลอดเลือด เมื่อระดับไขมันเลว (LDL) ในเลือด มีปริมาณที่สูงเกินที่ร่างกายต้องการ ไขมันเลว (LDL) จะไปจับตัวกับสารอื่นในหลอดเลือด เริ่มกลายเป็นคราบจุลินทรีย์และเริ่มเกาะตามผนัง หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเริ่มอุดตัน และเริ่มไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ยากขึ้น  (1,2,3,4,5,6)

แต่ถึงแม้จะบอกว่า LDL คือไขมันเลว แต่ร่างกายต้องการไขมันเลวตัวนี้ เพื่อผลิตเซลล์ในร่างกาย ปกป้องเส้นประสาท และฮอร์โมน เพียงแค่ต้องการในปริมาณที่จำกัด (5)

HDL Cholesterol คืออะไร

HDL Cholesterol คืออะไร

High-Density Lipoprotein: HDL หรือ HDL Cholesterol คือ ไขมันหรือไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ซึ่งไขมัน HDL เรียกว่าไขมันดี เพราะว่า ไขมันชนิดนี้ ทำหน้าที่จับ ไขมันเลว (LDL) ที่เกาะตัวตามหลอดเลือด นำกลับไปทำลายที่ตับ แต่ไขมันดี (HDL) ไม่ได้นำไขมันเลว (LDL) ในร่างกายไปกำจัดทั้งหมด เพียงแค่นำไขมันเลว(LDL) 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ที่อยู่ในหลอดเลือดไปกำจัดเท่านั้น ดังนั้นจึงเหลือไขมันเลวที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ จึงเป็นการจำกัดไขมันเลว (LDL) ส่วนเกินที่เกาะตามผนังหลอดเลือดแต่ยังคงเหลือไขมันเลวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้อยู่  (2,4)

LDL Cholesterol อันตรายไหม

LDL Cholesterol อันตรายไหม ?

จากข้อมูลการศึกษาประชากรในสหรัฐเมริกา ตั้งแต่ปี 2015-2018 (9) พบว่า ประชากร 94 ล้านคน ที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้น มีระดับคอเลสเตอรอลรวมสูงกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งเป็นปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงมาก การมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆมากมาย ซึ่งหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 เลยทีเดียว

LDL Cholesterol ค่าปกติอยู่ที่เท่าไหร่ ?

LDL (ไขมันเลว) ระดับคอเลสเตอรอล
ประเภท LDL (ไขมันเลว)

น้อยกว่า 100 มก./ดล.

ปริมาณที่ดี

100-129 มก. / ดล.

ใกล้ดีที่สุดแต่สูงกว่าที่ควร

130-159 มก./ดล.

เกือบสูง

160-189 มก./ดล.

สูง

190 มก./ดล. ขึ้นไป

สูงมาก

(3,6)

LDL Cholesterol ตรวจยังไงได้บ้าง

LDL Cholesterol ตรวจยังไงได้บ้าง

1.ตรวจที่โรงพยาบาลด้วยการตรวจ Lipid Profile

การตรววจไขมันในเลือดควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป การตรวจแบบ Lipid Profile จะวัดปริมาณไขมัน 4 ชนิดด้วยกันได้แก่

  1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
  2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  3. ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL)
  4. ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL)

ซึ่งแพทย์จะทำการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ และนำไปตรวจ เป็นวิธีตรวจที่ชัวร์ที่สุด ซึ่งค่าตรวจจะอยู่ที่ 500 บาทขึ้นไป

2.ตรวจด้วยตัวเอง

วิธีตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดวิธีนี้ จำเป็นต้องเช็คก่อนว่า เครื่องได้มาตรฐานหรือเปล่า ผ่านการรับรองและตรวจสอบว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์หรือไม่ มีใบ Certificate หรือใบประกาศหรือเปล่า เพราะตามเว็บช็อปปิ้งส่วนใหญ่ ไม่ผ่านการตรวจสอบ ไม่มีใบ Certificate เป็นเพียงรูปหลอกๆเพียงเท่านั้น
ส่วนวิธีตรวจก็ง่ายๆเพียงเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วนำแผ่นตรวจที่ตัวเครื่องมาแตะเลือด รอ 2 นาที ก็จะได้ค่าคอเลสเตอรอลในเลือดแล้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,900

LDL Cholesterol สูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

LDL Cholesterol สูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงเช่น ไก่ทอด
  2. น้ำหนัก
  3. ไม่ออกกำลังกาย
  4. สูบบุหรี่
  5. ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  6. อายุและเพศ (ในผู้หญิงหมดประจำเดือนมีแนวโน้มที่ไขมันเลว (ldl จะเพิ่มขึ้น)
  7. กรรมพันธุ์
  8. ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาลดไขมัน
  9. โรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไตเรื้อรัง
  10. เชื้อสาย เช่น คนผิวดำมักมีไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) สูงกว่าคนผิวขาว

 (3,5,6)

LDL Cholesterol วิธีลดทำยังไงได้บ้าง

LDL Cholesterol วิธีลดทำยังไงได้บ้าง

  1. ออกกำลังกาย
  2. ลดน้ำหนัก
  3. เลิกบุหรี่
  4. ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง (ปริมาณที่แนะนำ 1-2 กระป๋องต่อวัน)
  5. เปลี่ยนแปลงการกิน ไปกินไขมันดี (HDL) แทนไขมันเลว (LDL)
  6. ถ้าปริมาณไขมันเลวสูง อาจต้องพึ่งยาลดไขมัน

(1,2,3,5,6)

อาหารลด LDL Cholesterol มีอะไรบ้าง

อาหารลด LDL Cholesterol มีอะไรบ้าง ?

  1. ปลา เช่น ปลาทู , ปลาแซลมอน
  2. เนื้อไม่ติดมัน
  3. ถั่วและเมล็ดพืช
  4. ผักและผลไม้
  5. อะโวคาโด
  6. อาหารที่มีเส้นใยสูง
  7. นม โยเกิร์ต ชีส ไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำ
  8. น้ำมันมะกอก
  9. เวย์โปรตีน
  10. อาหารอื่นๆที่มีไขมันดี (HDL)

 (6,7)

อาหารอะไรเพิ่ม LDL Cholesterol

  1. เค้ก และขนมอบ
  2. น้ำมันปาล์ม
  3. น้ำมันมะพร้าว
  4. กะทิ
  5. ไขมันสัตว์
  6. อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก
  7. เนย
  8. น้ำมันหมู
  9. ชีส
  10. ครีม
  11. ไอศครีม
  12. ข้าวโพดคั่ว

สรุป

LDL Cholesterol คือ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า ไขมันเลว (LDL) ถ้ามีปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายผลิตเซลล์ได้ดีขึ้น ปกป้องเส้นประสาท และปรับฮอร์โมน ในร่างกาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ไขมันเลว (LDL) ไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน จุดเกิดโรคร้ายแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดอย่าง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น เพียงแค่ลดการทานของทอด เพิ่มอาหารที่ดีต่อสุขภาพเข้าไปในอาหารแต่ละมื้อ ก็ทำให้ความเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงก็ลดลงแล้ว แต่ก็ควรไปตรวจเลือดอย่างน้อยๆ 1 ครั้งต่อปี ถ้าอายุเริ่มเกิน 35 ปี เพื่อความปลอดภัย

คอเลสเตอรอล คืออะไร

คอเลสเตอรอล คือ สารชนิดเดียวกับ ขี้ผึ้งแต่เหมือนไขมัน หรือจะเรียกไขมันเลยก็ไม่ผิด คอเลสเตอรอลจะพบได้ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกาย เพราะ ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลในการสร้าง ฮอร์โมน วิตามินดี และช่วยในการย่อยอาหาร แต่ถ้าเยอะเกินไป คอเลสเตอรอลส่วนเกินจะไปจับกับสารอื่นในหลอดเลือด กลายเป็นคราบจุลินทรีย์ตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตันในที่สุด

LDL Cholesterol คืออะไร

LDL Cholesterol คืออะไร

คอเลสเตอรอลในร่างกายที่ถูกส่งผ่านหลอดเลือดจะถูกส่งผ่านโปรตีน 2 ชนิด เรียกโปรตีน 2 ชนิดนี้ว่าไลโปโปรตีน (Lipoproteins) LDL Cholesterol คือ (ไขมันเลว) และ HDL Cholesterol คือ(ไขมันดี) ซึ่ง LDL Cholesterol คือ ไขมันเลว หรือ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ

เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่พบได้มากที่สุดในหลอดเลือด เมื่อระดับไขมันเลว (LDL) ในเลือด มีปริมาณที่สูงเกินที่ร่างกายต้องการ ไขมันเลว (LDL) จะไปจับตัวกับสารอื่นในหลอดเลือด เริ่มกลายเป็นคราบจุลินทรีย์และเริ่มเกาะตามผนัง หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเริ่มอุดตัน และเริ่มไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้ยากขึ้น  (1,2,3,4,5,6)

แต่ถึงแม้จะบอกว่า LDL คือไขมันเลว แต่ร่างกายต้องการไขมันเลวตัวนี้ เพื่อผลิตเซลล์ในร่างกาย ปกป้องเส้นประสาท และฮอร์โมน เพียงแค่ต้องการในปริมาณที่จำกัด (5)

HDL Cholesterol คืออะไร

HDL Cholesterol คืออะไร

High-Density Lipoprotein: HDL หรือ HDL Cholesterol คือ ไขมันหรือไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ซึ่งไขมัน HDL เรียกว่าไขมันดี เพราะว่า ไขมันชนิดนี้ ทำหน้าที่จับ ไขมันเลว (LDL) ที่เกาะตัวตามหลอดเลือด นำกลับไปทำลายที่ตับ แต่ไขมันดี (HDL) ไม่ได้นำไขมันเลว (LDL) ในร่างกายไปกำจัดทั้งหมด เพียงแค่นำไขมันเลว(LDL) 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ที่อยู่ในหลอดเลือดไปกำจัดเท่านั้น ดังนั้นจึงเหลือไขมันเลวที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ จึงเป็นการจำกัดไขมันเลว (LDL) ส่วนเกินที่เกาะตามผนังหลอดเลือดแต่ยังคงเหลือไขมันเลวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้อยู่  (2,4)

LDL Cholesterol อันตรายไหม

LDL Cholesterol อันตรายไหม ?

จากข้อมูลการศึกษาประชากรในสหรัฐเมริกา ตั้งแต่ปี 2015-2018 (9) พบว่า ประชากร 94 ล้านคน ที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้น มีระดับคอเลสเตอรอลรวมสูงกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งเป็นปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงมาก การมีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆมากมาย ซึ่งหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 เลยทีเดียว

LDL Cholesterol ค่าปกติอยู่ที่เท่าไหร่ ?

LDL (ไขมันเลว) ระดับคอเลสเตอรอล
ประเภท LDL (ไขมันเลว)

น้อยกว่า 100 มก./ดล.

ปริมาณที่ดี

100-129 มก. / ดล.

ใกล้ดีที่สุดแต่สูงกว่าที่ควร

130-159 มก./ดล.

เกือบสูง

160-189 มก./ดล.

สูง

190 มก./ดล. ขึ้นไป

สูงมาก

(3,6)

LDL Cholesterol ตรวจยังไงได้บ้าง

LDL Cholesterol ตรวจยังไงได้บ้าง

1.ตรวจที่โรงพยาบาลด้วยการตรวจ Lipid Profile

การตรววจไขมันในเลือดควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป การตรวจแบบ Lipid Profile จะวัดปริมาณไขมัน 4 ชนิดด้วยกันได้แก่

  1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
  2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
  3. ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL)
  4. ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL)

ซึ่งแพทย์จะทำการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ และนำไปตรวจ เป็นวิธีตรวจที่ชัวร์ที่สุด ซึ่งค่าตรวจจะอยู่ที่ 500 บาทขึ้นไป

2.ตรวจด้วยตัวเอง

วิธีตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดวิธีนี้ จำเป็นต้องเช็คก่อนว่า เครื่องได้มาตรฐานหรือเปล่า ผ่านการรับรองและตรวจสอบว่าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์หรือไม่ มีใบ Certificate หรือใบประกาศหรือเปล่า เพราะตามเว็บช็อปปิ้งส่วนใหญ่ ไม่ผ่านการตรวจสอบ ไม่มีใบ Certificate เป็นเพียงรูปหลอกๆเพียงเท่านั้น
ส่วนวิธีตรวจก็ง่ายๆเพียงเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วนำแผ่นตรวจที่ตัวเครื่องมาแตะเลือด รอ 2 นาที ก็จะได้ค่าคอเลสเตอรอลในเลือดแล้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,900

LDL Cholesterol สูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

LDL Cholesterol สูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงเช่น ไก่ทอด
  2. น้ำหนัก
  3. ไม่ออกกำลังกาย
  4. สูบบุหรี่
  5. ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  6. อายุและเพศ (ในผู้หญิงหมดประจำเดือนมีแนวโน้มที่ไขมันเลว (ldl จะเพิ่มขึ้น)
  7. กรรมพันธุ์
  8. ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาลดไขมัน
  9. โรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไตเรื้อรัง
  10. เชื้อสาย เช่น คนผิวดำมักมีไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) สูงกว่าคนผิวขาว

 (3,5,6)

LDL Cholesterol วิธีลดทำยังไงได้บ้าง

LDL Cholesterol วิธีลดทำยังไงได้บ้าง

  1. ออกกำลังกาย
  2. ลดน้ำหนัก
  3. เลิกบุหรี่
  4. ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง (ปริมาณที่แนะนำ 1-2 กระป๋องต่อวัน)
  5. เปลี่ยนแปลงการกิน ไปกินไขมันดี (HDL) แทนไขมันเลว (LDL)
  6. ถ้าปริมาณไขมันเลวสูง อาจต้องพึ่งยาลดไขมัน

(1,2,3,5,6)

อาหารลด LDL Cholesterol มีอะไรบ้าง

อาหารลด LDL Cholesterol มีอะไรบ้าง ?

  1. ปลา เช่น ปลาทู , ปลาแซลมอน
  2. เนื้อไม่ติดมัน
  3. ถั่วและเมล็ดพืช
  4. ผักและผลไม้
  5. อะโวคาโด
  6. อาหารที่มีเส้นใยสูง
  7. นม โยเกิร์ต ชีส ไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำ
  8. น้ำมันมะกอก
  9. เวย์โปรตีน
  10. อาหารอื่นๆที่มีไขมันดี (HDL)

 (6,7)

อาหารอะไรเพิ่ม LDL Cholesterol

  1. เค้ก และขนมอบ
  2. น้ำมันปาล์ม
  3. น้ำมันมะพร้าว
  4. กะทิ
  5. ไขมันสัตว์
  6. อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก
  7. เนย
  8. น้ำมันหมู
  9. ชีส
  10. ครีม
  11. ไอศครีม
  12. ข้าวโพดคั่ว

สรุป

LDL Cholesterol คือ ไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า ไขมันเลว (LDL) ถ้ามีปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายผลิตเซลล์ได้ดีขึ้น ปกป้องเส้นประสาท และปรับฮอร์โมน ในร่างกาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ไขมันเลว (LDL) ไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน จุดเกิดโรคร้ายแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดอย่าง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น เพียงแค่ลดการทานของทอด เพิ่มอาหารที่ดีต่อสุขภาพเข้าไปในอาหารแต่ละมื้อ ก็ทำให้ความเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงก็ลดลงแล้ว แต่ก็ควรไปตรวจเลือดอย่างน้อยๆ 1 ครั้งต่อปี ถ้าอายุเริ่มเกิน 35 ปี เพื่อความปลอดภัย

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความใกล้เคียง

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ